ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

ค้นพบความลับของหูขนาดจิ๋ว

ค้นพบความลับของหูขนาดจิ๋ว

ค้น​พบ​ความ​ลับ​ของ​หู​ขนาด​จิ๋ว

วารสาร​ไซเยนซ์ นิวส์ กล่าว​ว่า “ใน​ช่วง​สิบ​ปี​ที่​ผ่าน​มา นัก​ชีววิทยา​ได้​ค้น​พบ​กลไก​ใหม่​ที่​สัตว์​ใช้​ใน​การ​ตรวจ​จับ​เสียง. การ​ค้น​พบ​นี้​เป็น​ผล​มา​จาก​การ​สังเกต​ว่า​แมลงวัน​ปรสิต​ชนิด​หนึ่ง​แอบ​ตาม​จิ้งหรีด​ไป​โดย​อาศัย​เสียง แม้​ว่า​หัว​ของ​แมลงวัน​นั้น​จะ​เล็ก​เกิน​กว่า​ที่​กลไก​การ​ตรวจ​จับ​เสียง​ชนิด​ใด ๆ ซึ่ง​เคย​รู้​จัก​กัน​มา​จะ​ทำ​งาน​ได้.” ตาม​ปกติ​แล้ว กลไก​แบบ​นี้​ต้อง​อาศัย​ระยะ​ห่าง​พอ​สม​ควร​ระหว่าง​แก้ว​หู​สอง​ข้าง.

ตาม​การ​ศึกษา​ราย​หนึ่ง​เมื่อ​ไม่​นาน​มา​นี้ โดย​มหาวิทยาลัย​คอร์เนลล์ สหรัฐ​อเมริกา “แมลงวัน​ตัว​เมีย​ชนิด Ormia ochracea ระบุ​ทิศ​ทาง​ของ​เสียง​ได้​ละเอียด​ถึง 2 องศา ซึ่ง​แม่นยำ​พอ ๆ กับ​นก​เค้าแมว” แม้​ว่า​แก้ว​หู​ที่​เชื่อม​ต่อ​กัน​สอง​ข้าง​จะ​มี​ระยะ​ห่าง​จาก​กัน​เพียง​ประมาณ​หนึ่ง​มิลลิเมตร! เชื่อ​กัน​ว่า​ที่​แมลงวัน​ชนิด​นี้​มี​ความ​แม่นยำ​ใน​การ​รับ​เสียง​เท่า​กับ​นก​เค้าแมว​เป็น​เพราะ​อุปกรณ์​การ​ฟัง​เสียง​ที่​ได้​รับ​การ​ออก​แบบ​อย่าง​ชาญ​ฉลาด.

แก้ว​หู​ทั้ง​สอง​ข้าง​ของ​แมลง​ชนิด​นี้​เชื่อม​ต่อ​กัน​ด้วย​โครง​สร้าง​ที่​ทำ​ให้​แกว่ง​ไป​มา​เป็น​ชิ้น​เดียว คล้าย​กับ​ม้า​กระดก​ที่​สนาม​เด็ก​เล่น. เมื่อ​เสียง​จิ้งหรีด​ไป​ถึง​แมลงวัน แรง​สั่น​สะเทือน​ใน​แก้ว​หู​ข้าง​ที่​ใกล้​กว่า​จะ​ถูก​ถ่ายทอด​เกือบ​ใน​ทันที​ไป​ยัง​แก้ว​หู​อีก​ข้าง​หนึ่ง ซึ่ง​ทำ​ให้​แก้ว​หู​ข้าง​นี้​ตอบ​สนอง​น้อย​ลง​ต่อ​คลื่น​เสียง​เดียว​กัน​นั้น. ด้วย​เหตุ​นี้ เยื่อ​แก้ว​หู​ข้าง​ที่​อยู่​ใกล้​จิ้งหรีด​จึง​สั่น​สะเทือน​มาก​กว่า. นี่​ทำ​ให้​แมลงวัน​รู้​ตำแหน่ง​และ​บิน​ตรง​ไป​ยัง​เป้าหมาย​ได้.

การ​ค้น​พบ​นี้​สามารถ​นำ​ไป​ใช้​ประโยชน์​อะไร​ได้? นัก​วิจัย​เชื่อ​ว่า​การ​ค้น​พบ​นี้​อาจ​ช่วย​พวก​เขา​ให้​ปรับ​ปรุง​รูป​แบบ​สิ่ง​ของ​ต่าง ๆ อย่าง​เช่น ไมโครโฟน​และ​เครื่อง​ช่วย​ฟัง. รายงาน​นี้​กล่าว​ว่า เพื่อ​เป็น​ตัว​อย่าง อุปกรณ์​ชนิด​หลัง​อาจ​ได้​รับ​การ​ออก​แบบ​ให้ “รับ​เสียง​ที่​อยู่​ด้าน​หน้า​ผู้​ฟัง​เป็น​อันดับ​แรก.” ถูก​แล้ว สิ่ง​ทรง​สร้าง​ที่​น่า​ทึ่ง​ของ​พระ​ยะโฮวา​แสดง​ถึง​พระ​สติ​ปัญญา​อัน​ยิ่ง​ใหญ่​สัก​เพียง​ไร!—โยบ 42:2.

[ที่​มา​ของ​ภาพ​หน้า 31]

R. Hoy/Cornell University

Top two photos: R. Wyttenbach/ Cornell University