ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

ประเพณีโบราณในเม็กซิโกยุคปัจจุบัน

ประเพณีโบราณในเม็กซิโกยุคปัจจุบัน

ประเพณี​โบราณ​ใน​เม็กซิโก​ยุค​ปัจจุบัน

โดย​ผู้​เขียน​ตื่นเถิด! ใน​เม็กซิโก

ใน​เม็กซิโก​ยุค​ปัจจุบัน ประเพณี​ทาง​ศาสนา​และ​ความ​เชื่อ​ใน​สมัย​โบราณ​ยัง​อยู่​เคียง​คู่​กับ​การ​ใช้​โทรศัพท์​มือ​ถือ​และ​อินเทอร์เน็ต. ตลอด​หลาย​ศตวรรษ​ที่​ผ่าน​มา ประเพณี​บาง​อย่าง​ของ​ชาว​อินเดียน​แดง​ถูก​นำ​ไป​ผสมผสาน​กับ​ศาสนา​โรมัน​คาทอลิก. ที่​จริง​ประเพณี​เหล่า​นั้น​บาง​ประเพณี​ยัง​คง​เป็น​ลักษณะ​เด่น​ใน​การ​นมัสการ​ของ​ชาว​คาทอลิก​ใน​เม็กซิโก.

ตัว​อย่าง​เช่น ทุก ๆ ปี ผู้​คน​มาก​มาย​ใน​เม็กซิโก​จะ​ไป​ที่​สุสาน​ใน​วัน​ที่ 2 เดือน​พฤศจิกายน เพื่อ​ทำ​พิธี​ใน​วัน​ของ​วิญญาณ​ทั้ง​ปวง หรือ​ที่​เรียก​กัน​ด้วย​ว่า​วัน​ของ​ผู้​ล่วง​ลับ. มี​การ​นำ​ดอกไม้, อาหาร, และ​เครื่อง​ดื่ม​ที่​มี​แอลกอฮอล์​ไป​วาง​ไว้​ให้​ผู้​เป็น​ที่​รัก​ซึ่ง​ล่วง​ลับ​ไป​แล้ว. บาง​คน​ถึง​กับ​จัด​หา​วง​ดนตรี​ไป​บรรเลง​เพลง​ซึ่ง​ผู้​เป็น​ที่​รัก​ของ​ตน​เคย​ชอบ​ฟัง. นอก​จาก​นี้ ชาว​คาทอลิก​หลาย​คน​ยัง​สร้าง​แท่น​บูชา​ไว้​ใน​บ้าน​ของ​ตน​และ​อาจ​วาง​ภาพ​ถ่าย​ของ​ผู้​เป็น​ที่​รัก​ซึ่ง​ล่วง​ลับ​ไป​แล้ว​ไว้​บน​นั้น.

สารานุกรม​เล่ม​หนึ่ง (Enciclopedia de México) กล่าว​ว่า ธรรมเนียม​ปฏิบัติ​บาง​อย่าง​ที่​เกี่ยว​กับ​การ​ฉลอง​วัน​ของ​ผู้​ล่วง​ลับ​นี้​ดู​เหมือน “จะ​ยัง​คง​มี​ส่วน​ต่าง ๆ ของ​พิธี​ซึ่ง​ชาว​อินเดียน​แดง​จัด​ขึ้น​ใน​เดือน​โอชปานิซตลี และ​เดือน​เตโอตเลโก ซึ่ง​ใน​ระหว่าง​นั้น จะ​มี​การ​นำ​ดอก​เกมปาซูชิล และ​ขนมปัง​ตา​มา​เล​ซึ่ง​ทำ​จาก​แป้ง​ข้าว​โพด​มา​เซ่น​ไหว้​มาเนส [วิญญาณ​คน​ตาย] ใน​ช่วง​ที่​การ​เก็บ​เกี่ยว​พืช​ผล​เพิ่ง​เสร็จ​สิ้น​ลง ซึ่ง​ก็​ตรง​กับ​ช่วง​ปลาย​เดือน​ตุลาคม​ถึง​ต้น​เดือน​พฤศจิกายน.” ดัง​ที่​สารานุกรม​เล่ม​นั้น​กล่าว ประเพณี​บาง​อย่าง​สะท้อน​ให้​เห็น​ถึง​เทศกาล​คล้าย ๆ กัน​ที่​เคย​จัด​ขึ้น​ใน​ช่วง​ก่อน​ยุค​ที่​พวก​สเปน​จะ​เข้า​ยึด​ครอง​ประเทศ​นี้ ซึ่ง​รวม​ถึง​การ​ฉลอง​ที่​มี​ลักษณะ​คล้าย​กับ​เทศกาล​คาร์นิวาล.

การ​นมัสการ​ทาง​ศาสนา

วัน​ที่ 12 เดือน​ธันวาคม​เป็น​วัน​หยุด​ของ​ชาว​คาทอลิก​ใน​เม็กซิโก. ใน​วัน​นั้น นัก​แสวง​บุญ​หลาย​พัน​คน​จาก​รัฐ​อื่น ๆ มา​รวม​ตัว​กัน​ที่​โบสถ์​แม่​พระ​กัวดาลูป ซึ่ง​ตั้ง​อยู่​บน​เชิง​เขา​เตเปยัก​ใน​นคร​เม็กซิโก​ซิตี. หลาย​คน​เดิน​เท้า​มา​เป็น​เวลา​หลาย​วัน โดย​สวด​มนต์ ​แด่​แม่​พระ​ตลอด​ทาง. เมื่อ​มา​ถึง พวก​เขา​จะ​คลาน​เข่า​เข้า​ไป​ใน​โบสถ์​ตาม​ธรรมเนียม​ปฏิบัติ (ภาพ​บน) และ​ถวาย​ดอก​กุหลาบ​แก่​แม่​พระ.

รูป​แม่​พระ​กัวดาลูป​มี​ให้​เห็น​ด้วย​ใน​เวลา​นี้​ทั้ง​ตาม​บ้าน​และ​อพาร์ตเมนต์ รวม​ทั้ง​ตาม​สถานี​รถ​โดยสาร และ​ตาม​ที่​สาธารณะ​อื่น ๆ. แม่​พระ​กัวดาลูป​ได้​รับ​ฉายา​ว่า “พระ​มารดา​พระเจ้า” และ “เทพ​ธิดา​น้อย​ผู้​มี​ผิว​คล้ำ​แห่ง​เตเปยัก.” ตั้ง​แต่​ศตวรรษ​ที่ 16 ผู้​เลื่อมใส​ศรัทธา​มัก​เชื่อ​กัน​ว่า​พระ​นาง​เป็น​ผู้​ที่​ทำ​การ​รักษา​โรค​และ​การ​อัศจรรย์​อื่น ๆ.

ต้นตอ​ของ​ความ​เชื่อ​ศรัทธา

การ​นมัสการ​แม่​พระ รวม​ทั้ง​สิ่ง​อื่น ๆ ที่​เกี่ยว​ข้อง​กับ​วัน​หยุด​นี้ เคย​มี​มา​ตั้ง​แต่​สมัย​ที่​มี​การ​นมัสการ​พระ​แม่​เจ้า​กีอัวกัวเติล​ของ​ชน​เผ่า​แอซเทก ซึ่ง​เรียก​กัน​อีก​ชื่อ​ว่า​โตนันต์ซิน แปล​ว่า “พระ​มารดา​น้อย​ของ​เรา.” หนังสือ​เม็กซิโก​ตลอด​หลาย​ศตวรรษ (ภาษา​เม็กซิโก) กล่าว​ว่า ชาว​แอซเทก​ใน​ยุค​แรก ๆ ได้​นำ​พระ​แม่​เจ้า​องค์​นี้ รวม​ทั้ง​อีตซีโลโปชตลี บุตร​ของ​พระ​นาง ไป​ยัง​เมือง​เตโนชตีตลัน​ซึ่ง​เคย​เป็น​เมือง​หลวง​ของ​จักรวรรดิ​แอซเทก ปัจจุบัน​คือ​เม็กซิโก​ซิตี.

วิหาร​พระ​แม่​เจ้า​กีอัวกัวเติล​ซึ่ง​ตั้ง​อยู่​บน​เชิง​เขา​เตเปยัก​นี้​ถูก​ชาว​สเปน​ทำลาย. ตาม​ที่​เล่า​สืบ​กัน​มา ไม่​ถึง 40 ปี​หลัง​จาก​ที่​โคลัมบัส​มา​ขึ้น​ฝั่ง​ที่​อเมริกา แม่​พระ​กัวดาลูป​ได้​ปรากฏ​แก่​ชาว​พื้นเมือง​อินเดียน​แดง​คน​หนึ่ง​ชื่อ​ฮวน ดิเอโก​ที่​เชิง​เขา​นี้. เชื่อ​กัน​ว่า​แม่​พระ​ได้​ขอ​ให้​สร้าง​สถาน​ศักดิ์สิทธิ์​เพื่อ​พระ​นาง​ไว้​ที่​นั่น.

พระ​แม่​เจ้า​กีอัวกัวเติล​ได้​รับ​การ​เทิดทูน​บูชา​อย่าง​สูง​ยิ่ง​จาก​ชาว​แอซเทก. กล่าว​กัน​ว่า พระ​นาง​ปล่อย​ผม​ยาว​และ​สวม​ชุด​ขาว​ทั้ง​ชุด. วิหาร​ของ​พระ​นาง​มี​ประตู​ทาง​เข้า​ต่ำ​ถึง​ขนาด​ที่​คน​ที่​จะ​เข้า​ไป​ข้าง​ใน​วิหาร​ต้อง​คลาน​เข่า​เข้า​ไป​เท่า​นั้น. เมื่อ​เข้า​ไป​แล้ว ผู้​ที่​มา​นมัสการ​จะ​เห็น​รูป​ปั้น​อยู่​ล้อม​รอบ​รูป​ของ​พระ​นาง ทำ​ให้​พระ​นาง​ดู​ราว​กับ​เป็น “พระ​แม่​เจ้า . . . ของ​พระ​เหล่า​นั้น.”

เทศกาล​ฉลอง​พระ​แม่​เจ้า​กีอัวกัวเติล​มี​ทั้ง​การ​บูชายัญ​มนุษย์, การ​เต้น​รำ, และ​ขบวน​แห่​ของ​นัก​รบ​ซึ่ง​มี​การ​ประดับ​ประดา “ด้วย​ดอก​กุหลาบ​ทั้ง​ที่​มือ, รอบ​คอ, และ​บน​ศีรษะ​ของ​พวก​เขา.” ของ​กำนัล​เหล่า​นี้​จะ​ถูก​นำ​ไป​วาง​ไว้​บน​ยอด​วิหาร​เพื่อ​ถวาย​แด่​อีตซีโลโปชตลี​บุตร​ของ​พระ​นาง. ชาว​อินเดียน​แดง​บาง​คน รวม​ทั้ง​หลาย​คน​ที่​มา​จาก​กัวเตมาลา จะ​เดิน​เท้า​มา​เป็น​ระยะ​ทาง​พัน​กว่า​กิโลเมตร​เพื่อ​ฉลอง​เทศกาล​ของ​พระ​แม่​เจ้า​กีอัวกัวเติล.

ต้นตอ​สำคัญ​ไหม?

การ​นมัสการ​รูป​แม่​พระ​กัวดาลูป​ของ​ชาว​คาทอลิก​เห็น​ได้​ชัด​ว่า​มี​ต้นตอ​มา​จาก​พิธีกรรม​ของ​คน​ที่​ไม่​ได้​นมัสการ​พระเจ้า​องค์​เที่ยง​แท้​ของ​คัมภีร์​ไบเบิล. (บทเพลง​สรรเสริญ 83:18) เรา​ควร​ถือ​ว่า​นี่​เป็น​เรื่อง​สำคัญ​สำหรับ​เรา​ไหม? ต้นตอ​ของ​การ​นมัสการ​แบบ​ใด​แบบ​หนึ่ง​นั้น​สำคัญ​จริง ๆ ไหม?

อัครสาวก​เปาโล​ให้​คำ​แนะ​นำ​ที่​ฉลาด​สุขุม​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้ โดย​กล่าว​ว่า “อย่า​เข้า​เทียม​แอก​กับ​คน​ที่​ไม่​เชื่อ. . . . พระ​คริสต์​กับ​เบลิอัล​เข้า​กัน​ได้​อย่าง​ไร? คน​ที่​เชื่อ​มี​ส่วน​กับ​คน​ที่​ไม่​เชื่อ​ได้​อย่าง​ไร?” เปาโล​ยัง​กล่าว​อีก​ด้วย​ว่า “จง​ตรวจ​ดู​ทุก​สิ่ง​ให้​แน่​ใจ สิ่ง​ที่​ดี​นั้น​จง​ยึด​ไว้​ให้​มั่น.”— 2 โครินท์ 6:14, 15; 1 เทสซาโลนิเก 5:21.

คำ​กระตุ้น​เตือน​เช่น​นั้น​ยัง​เหมาะ​กับ​สมัย​ปัจจุบัน​นี้​ด้วย. เรา​ควร​คิด​อย่าง​จริงจัง​เกี่ยว​กับ​การ​นมัสการ​พระเจ้า​และ​ถาม​ตัว​เอง​ว่า ‘การ​นมัสการ​แบบ​ที่​ฉัน​ทำ​อยู่​นี้​ยึด​อยู่​กับ​คำ​สอน​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล พระ​คำ​ของ​พระเจ้า​จริง ๆ ไหม? หรือ​ว่า​การ​นมัสการ​ของ​ฉัน​มี​แง่​ใด​ไหม​ที่​มี​ต้นตอ​มา​จาก​การ​นมัสการ​ของ​คน​ซึ่ง​นมัสการ​พระ​เท็จ?’ คน​ที่​ปรารถนา​จะ​เป็น​ที่​พอ​พระทัย​พระ​ยะโฮวา พระเจ้า​องค์​เที่ยง​แท้ จะ​หา​คำ​ตอบ​สำหรับ​คำ​ถาม​ดัง​กล่าว​ด้วย​ความ​สุขุม​รอบคอบ.

[ภาพ​หน้า 23]

นัก​แสวง​บุญ​มา​ถึง​ที่​โบสถ์​แม่​พระ​แห่ง​กัวดาลูป

[ภาพ​หน้า 23]

นัก​ดนตรี​มา​บรรเลง​เพลง​ที่​สุสาน​ใน​วัน​ที่ 2 พฤศจิกายน