เขียนโดยลูกา 20:1-47
ข้อมูลสำหรับศึกษา
ปุโรหิตใหญ่: คำกรีกนี้เมื่ออยู่ในรูปเอกพจน์จะแปลว่า “มหาปุโรหิต” และหมายถึงหัวหน้าตัวแทนของประชาชนเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้า แต่ในข้อนี้คำกรีกนี้อยู่ในรูปพหูพจน์ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนสำคัญในคณะปุโรหิต รวมทั้งอดีตมหาปุโรหิต และอาจรวมถึงหัวหน้าของกลุ่มปุโรหิต 24 กลุ่มด้วย
ปุโรหิตใหญ่: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:4
ครูสอนศาสนา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:4
ผู้นำ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:21
ครูสอนศาสนา: ตอนแรกคำนี้หมายถึงผู้คัดลอกพระคัมภีร์ แต่ในสมัยพระเยซู คำนี้หมายถึงคนที่เชี่ยวชาญและสอนเรื่องกฎหมายของโมเสส
ผู้นำ: แปลตรงตัวว่า “คนสูงอายุ” คำกรีก เพร็สบูเทะรอส ที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิลมักจะหมายถึงคนที่มีตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบในชุมชนหรือในชาติ ถึงแม้คำนี้บางครั้งหมายถึงคนที่อายุมากกว่าหรือคนสูงอายุ (เช่นที่ ลก 15:25; กจ 2:17) แต่ก็มีความหมายในแง่อื่นด้วย ในข้อนี้คำว่า “ผู้นำ” หมายถึงพวกผู้นำชาวยิวซึ่งคัมภีร์ไบเบิลมักพูดถึงพวกเขาพร้อมกับพวกปุโรหิตใหญ่และครูสอนศาสนา สมาชิกศาลแซนเฮดรินก็ประกอบด้วยคนจาก 3 กลุ่มนี้—มธ 21:23; 26:3, 47, 57; 27:1, 41; 28:12; ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ผู้นำ”
ตัวอย่างเปรียบเทียบ: คำกรีก พาราบอเล มีความหมายตรงตัวว่า “การวางไว้ข้าง ๆ (ด้วยกัน)” อาจเป็นเรื่องราวที่ให้คติสอนใจ สุภาษิต หรือตัวอย่างเปรียบเทียบก็ได้ พระเยซูมักอธิบายสิ่งหนึ่งโดย ‘วางสิ่งนั้นไว้ข้าง ๆ’ หรือเปรียบเทียบสิ่งนั้นกับอีกสิ่งหนึ่งที่คล้าย ๆ กัน (มก 4:30) ตัวอย่างเปรียบเทียบของพระเยซูจะสั้นและมักเป็นเรื่องสมมุติซึ่งช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าและหลักศีลธรรมที่ถูกต้อง
ให้คนมาเช่า: นี่เป็นเรื่องที่ชาวอิสราเอลทำกันเป็นปกติในสมัยศตวรรษแรก ในท้องเรื่องนี้เจ้าของสวนลงทุนเตรียมงานไว้เยอะแล้ว จึงยิ่งมีเหตุผลที่เขาจะคาดหมายส่วนแบ่งหรือผลตอบแทนจากคนเช่า
ตัวอย่างเปรียบเทียบ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 13:3
ให้คนมาเช่า: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 21:33
เป็นเวลานาน: ลูกาเป็นคนเดียวที่เพิ่มรายละเอียดนี้ในตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องคนเช่าสวนองุ่น—เทียบกับบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 21:33 และ มก 12:1
หินหัวมุมหลัก: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 21:42
หินหัวมุมหลัก: หรือ “หินที่สำคัญที่สุด” คำฮีบรูที่ใช้ใน สด 118:22 และคำกรีกที่ใช้ในข้อนี้มีความหมายตามตัวอักษรว่า “หัวมุม” ถึงแม้มีความเข้าใจที่แตกต่างกันหลายอย่าง แต่ดูเหมือนคำนี้หมายถึงหินก้อนบนสุดที่อยู่หัวมุมของอาคารตรงจุดที่กำแพง 2 ด้านมาบรรจบกัน เป็นหินก้อนสำคัญที่เชื่อมกำแพง 2 ด้านเข้าด้วยกัน พระเยซูยกคำพยากรณ์ข้อนี้มาใช้กับตัวท่านที่เป็น “หินหัวมุมหลัก” เหมือนกับหินก้อนบนสุดของอาคารที่เห็นได้ชัดเจน พระเยซูคริสต์ก็เป็นผู้นำที่โดดเด่นของประชาคมคริสเตียนผู้ถูกเจิมซึ่งเป็นเหมือนวิหารของพระเจ้า
ซีซาร์: หรือ “จักรพรรดิ” จักรพรรดิโรมันที่ปกครองช่วงที่พระเยซูทำงานรับใช้บนโลกคือทิเบริอัส แต่คำว่า “ซีซาร์” ไม่ได้หมายถึงจักรพรรดิที่ปกครองเท่านั้น คำนี้ยังหมายถึงรัฐบาลโรมันและตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งซึ่งเปาโลเรียกว่า “คนที่มีอำนาจปกครอง” และเปโตรเรียกว่า “กษัตริย์” และ “ผู้ว่าราชการ” ที่กษัตริย์ส่งมา—รม 13:1-7; 1ปต 2:13-17; ทต 3:1; ดูส่วนอธิบายศัพท์
ซีซาร์: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 22:17
รูป . . . และชื่อ: ด้านหน้าของเหรียญเดนาริอันสมัยนั้นมีรูปจักรพรรดิโรมันทิเบริอัสสวมมงกุฎใบลอเรลซึ่งปกครองตั้งแต่ปี ค.ศ. 14 ถึง 37 และมีคำจารึกภาษาละตินว่า “ซีซาร์ทิเบริอัส ออกัสตัส โอรสแห่งเทพออกัสตัส”—ดูภาคผนวก ข14
เดนาริอัน: เหรียญเงินของโรมันมีรูปซีซาร์อยู่ด้านหนึ่ง เหรียญนี้ใช้จ่าย “ภาษี” ที่รัฐบาลโรมันเรียกเก็บจากชาวยิว (มธ 22:17, 19; ลก 20:22) คนงานในไร่นาสมัยพระเยซูจะได้รับค่าจ้าง 1 เดนาริอันสำหรับการทำงาน 1 วันที่ยาว 12 ชั่วโมง และในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกมักจะใช้เดนาริอันเป็นหลักในการคำนวนค่าเงินอื่น ๆ (มธ 20:2; มก 6:37; 14:5; วว 6:6) มีการใช้เหรียญทองแดงและเหรียญเงินหลายชนิดในอิสราเอล รวมทั้งเหรียญเงินที่ทำจากเมืองไทระซึ่งใช้จ่ายภาษีบำรุงวิหาร แต่เมื่อจ่ายภาษีต่าง ๆ ให้รัฐบาลโรมัน ดูเหมือนว่าผู้คนจะใช้เหรียญเงินเดนาริอันที่มีรูปซีซาร์—ดูส่วนอธิบายศัพท์ และภาคผนวก ข14
รูป . . . และชื่อ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 22:20
ให้กับ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 22:21
อะไรที่เป็นของซีซาร์ก็ให้กับซีซาร์: คำตอบของพระเยซูในข้อนี้และในบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 22:21 และ มก 12:17 เป็นครั้งเดียวที่มีการบันทึกว่าพระเยซูพูดถึงจักรพรรดิโรมัน สำนวนที่ว่า “อะไรที่เป็นของซีซาร์” หมายถึงเงินที่จ่ายสำหรับบริการต่าง ๆ ที่ได้รับจากรัฐ และยังรวมถึงการให้เกียรติและยอมอยู่ใต้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเหมาะสม—รม 13:1-7
อะไรที่เป็นของพระเจ้าก็ให้กับพระเจ้า: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 22:21
อะไรที่เป็นของพระเจ้าก็ให้กับพระเจ้า: นี่รวมถึงการนมัสการพระเจ้าสุดหัวใจ รักพระองค์สุดชีวิต และเชื่อฟังอย่างครบถ้วนด้วยความภักดี—มธ 4:10; 22:37, 38; กจ 5:29; รม 14:8
ให้กับ: แปลตรงตัวว่า “คืนให้กับ” ซีซาร์เป็นคนทำเหรียญขึ้นมาเขาจึงมีสิทธิ์เรียกคืนเหรียญเหล่านี้บางส่วน แต่ซีซาร์ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้ใครคนหนึ่งอุทิศชีวิตของเขาให้ซีซาร์ พระเจ้าเป็นผู้ให้มนุษย์มี “ชีวิต ลมหายใจ และทุกสิ่งทุกอย่าง” (กจ 17:25) ดังนั้น เขาต้อง “คืน” ชีวิตให้กับพระเจ้าและอุทิศชีวิตให้พระองค์เท่านั้น เพราะพระองค์ผู้เดียวมีสิทธิ์เรียกร้องการนมัสการจากเรา
สะดูสี: นี่เป็นครั้งเดียวที่มีการพูดถึงพวกสะดูสีในหนังสือข่าวดีของลูกา (ดูส่วนอธิบายศัพท์) ชื่อสะดูสี (คำกรีก ซาดดู่ไคออส) อาจเกี่ยวข้องกับศาโดก (มักสะกดว่า ซาดโดก ในฉบับเซปตัวจินต์) ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นมหาปุโรหิตในสมัยโซโลมอน และดูเหมือนว่าลูกหลานของเขาทำหน้าที่ปุโรหิตต่อมาอีกหลายศตวรรษ—1พก 2:35
การฟื้นขึ้นจากตาย: คำกรีก อานาสทาซิส แปลตรงตัวว่า “ทำให้ลุกขึ้น, ยืนขึ้น” มีการใช้คำนี้ประมาณ 40 ครั้งในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเพื่อพูดถึงการปลุกคนตายให้ฟื้น (มธ 22:23, 31; ลก 20:33; กจ 4:2; 24:15; 1คร 15:12, 13) ในฉบับเซปตัวจินต์ ที่ อสย 26:19 ซึ่งมีข้อความว่า “คนของพวกเจ้าที่ตายแล้วจะมีชีวิตอีก” มีการใช้คำกริยา อานาสทาซิส เพื่อแปลคำกริยาฮีบรู “มีชีวิต”—ดูส่วนอธิบายศัพท์
แต่งงานกับเธอ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 12:21
คนที่สองจึงรับเธอมาเป็นภรรยา: ตามธรรมเนียมของชาวฮีบรูโบราณ ถ้าผู้ชายคนหนึ่งตายโดยไม่มีลูก มีการคาดหมายว่าพี่ชายหรือน้องชายของผู้ตายจะต้องรับภรรยาม่ายของเขามาเป็นภรรยาเพื่อจะมีลูกไว้สืบสกุลให้ผู้ที่ตายไป (ปฐก 38:8) ต่อมามีการรวมธรรมเนียมนี้ไว้ในกฎหมายของโมเสส (ฉธบ 25:5, 6) คำพูดของพวกสะดูสีในข้อนี้แสดงว่าการรับภรรยาม่ายของพี่ชายหรือน้องชายมาเป็นภรรยายังเป็นธรรมเนียมที่ทำกันในสมัยพระเยซู กฎหมายของโมเสสยอมให้ญาติปฏิเสธการแต่งงานแบบนี้ได้ แต่ถ้าผู้ชายคนไหนไม่ทำหน้าที่ของเขาเพื่อ “ให้พี่น้องของตัวเองมีลูกไว้สืบสกุล” เขาก็ทำให้ตัวเองอับอาย—ฉธบ 25:7-10; นรธ 4:7, 8
คน: หรือ “ลูก” แปลตรงตัวว่า “ลูกชาย” ในท้องเรื่องนี้คำกรีกที่แปลว่า “ลูกชาย” มีความหมายกว้างและไม่ได้หมายถึงลูกที่เป็นผู้ชายเท่านั้น แต่หมายถึงคนทั้งผู้ชายและผู้หญิง ที่สรุปได้อย่างนี้เพราะในข้อนี้ยังใช้คำกรีกที่แปลว่าแต่งงานกันซึ่งเป็นคำที่ใช้กับผู้หญิงด้วย ดังนั้น คำว่า “คนในยุคนี้” เป็นสำนวนหมายถึงคนที่มีทัศนคติและรูปแบบชีวิตเหมือนคนทั่วไปในปัจจุบัน
ยุคนี้: คำกรีก ไอโอน ซึ่งมีความหมายหลักว่า “ยุค” อาจหมายถึงสภาพการณ์หรือลักษณะเด่นของโลกหรือบางส่วนของโลกในช่วงเวลาหนึ่งหรือสมัยหนึ่ง ซึ่งในท้องเรื่องนี้หมายถึงโลกในสมัยปัจจุบัน—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 12:32; มก 10:30 และส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ยุค, โลกนี้”
ตอนนี้หรือในอนาคต: หรือ “ในยุคนี้หรือยุคหน้า” คำกรีก ไอโอน ที่มักจะแปลว่า “ยุค” อาจหมายถึงสภาพการณ์หรือลักษณะเด่นของโลกหรือบางส่วนของโลกในช่วงเวลาหนึ่งหรือสมัยหนึ่ง พระเยซูกำลังบอกว่าคนที่ลบหลู่ดูหมิ่นพลังบริสุทธิ์จะไม่ได้รับการอภัยทั้งในตอนนี้ที่ซาตานปกครอง (2คร 4:4; อฟ 2:2; ทต 2:12) และในอนาคตที่พระเจ้าปกครอง ซึ่งเป็นสมัยที่ทุกคนจะมี “ชีวิตตลอดไป” ตามคำสัญญาของพระองค์ (ลก 18:29, 30)—ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ยุค, โลกนี้”
ยุคหน้า: หรือ “ยุคที่กำลังจะมาถึง” คำกรีก ไอโอน ที่มักจะแปลว่า “ยุค” อาจหมายถึงสภาพการณ์หรือลักษณะเด่นของโลกหรือบางส่วนของโลกในช่วงเวลาหนึ่งหรือสมัยหนึ่ง ในข้อนี้พระเยซูกำลังพูดถึงช่วงเวลาในอนาคตที่พระเจ้าปกครองซึ่งตอนนั้นทุกคนจะมีชีวิตตลอดไปตามคำสัญญาของพระองค์—ลก 18:29, 30; ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ยุค, โลกนี้”
ยุคหน้า: คำกรีก ไอโอน ซึ่งมีความหมายหลักว่า “ยุค” อาจหมายถึงสภาพการณ์หรือลักษณะเด่นของโลกหรือบางส่วนของโลกในช่วงเวลาหนึ่งหรือสมัยหนึ่ง ในข้อนี้กำลังพูดถึงช่วงเวลาในอนาคตที่พระเจ้าปกครองซึ่งตอนนั้นจะมีการปลุกให้ฟื้นขึ้นจากตาย—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 12:32; มก 10:30 และส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ยุค, โลกนี้”
ยุคหน้า: หรือ “ยุคที่กำลังจะมาถึง” คำกรีก ไอโอน ที่มักจะแปลว่า “ยุค” อาจหมายถึงสภาพการณ์หรือลักษณะเด่นของโลกหรือบางส่วนของโลกในช่วงเวลาหนึ่งหรือสมัยหนึ่ง ในข้อนี้พระเยซูกำลังพูดถึงช่วงเวลาในอนาคตที่พระเจ้าปกครองซึ่งตอนนั้นทุกคนจะมีชีวิตตลอดไปตามคำสัญญาของพระองค์—ลก 18:29, 30; ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ยุค, โลกนี้”
ตอนนี้หรือในอนาคต: หรือ “ในยุคนี้หรือยุคหน้า” คำกรีก ไอโอน ที่มักจะแปลว่า “ยุค” อาจหมายถึงสภาพการณ์หรือลักษณะเด่นของโลกหรือบางส่วนของโลกในช่วงเวลาหนึ่งหรือสมัยหนึ่ง พระเยซูกำลังบอกว่าคนที่ลบหลู่ดูหมิ่นพลังบริสุทธิ์จะไม่ได้รับการอภัยทั้งในตอนนี้ที่ซาตานปกครอง (2คร 4:4; อฟ 2:2; ทต 2:12) และในอนาคตที่พระเจ้าปกครอง ซึ่งเป็นสมัยที่ทุกคนจะมี “ชีวิตตลอดไป” ตามคำสัญญาของพระองค์ (ลก 18:29, 30)—ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ยุค, โลกนี้”
ลูก: แปลตรงตัวว่า “ลูกชาย” คำกรีกที่แปลว่า “ลูกชาย” มี 2 ครั้งในข้อนี้ ในบางท้องเรื่องมีการใช้คำนี้ในความหมายกว้างและไม่ได้หมายถึงลูกที่เป็นผู้ชายเท่านั้น—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ลก 20:34
คน: หรือ “ลูก” แปลตรงตัวว่า “ลูกชาย” ในท้องเรื่องนี้คำกรีกที่แปลว่า “ลูกชาย” มีความหมายกว้างและไม่ได้หมายถึงลูกที่เป็นผู้ชายเท่านั้น แต่หมายถึงคนทั้งผู้ชายและผู้หญิง ที่สรุปได้อย่างนี้เพราะในข้อนี้ยังใช้คำกรีกที่แปลว่าแต่งงานกันซึ่งเป็นคำที่ใช้กับผู้หญิงด้วย ดังนั้น คำว่า “คนในยุคนี้” เป็นสำนวนหมายถึงคนที่มีทัศนคติและรูปแบบชีวิตเหมือนคนทั่วไปในปัจจุบัน
แม้แต่โมเสสก็ยังเขียนไว้: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 12:26
ตอนนั้นเขาเรียกพระยะโฮวาว่า ‘พระเจ้าของอับราฮัม’: หรือ “ตอนนั้นเขาพูดว่า ‘พระยะโฮวาพระเจ้าของอับราฮัม’” ในข้อนี้พระเยซูกำลังอธิบายว่าโมเสสเคยพูดถึงพระยะโฮวาว่ายังเป็นพระเจ้าของบรรพบุรุษที่ตายไปนานแล้ว ข้อความนั้นมาจาก อพย 3:6 ซึ่งในข้อก่อนหน้านั้น (อพย 3:4, 5) แสดงให้เห็นว่า “พระยะโฮวา” เป็นผู้พูด และที่ อพย 3:6 พระยะโฮวาบอกโมเสสว่า “เราเป็นพระเจ้าของบรรพบุรุษของเจ้า คือพระเจ้าของอับราฮัม พระเจ้าของอิสอัค และพระเจ้าของยาโคบ” ตอนนั้น อับราฮัมตายไปแล้ว 329 ปี อิสอัคตายไปแล้ว 224 ปี และยาโคบก็ตายไปแล้ว 197 ปี ถึงอย่างนั้น พระยะโฮวาก็ไม่ได้บอกว่า ‘เราเคยเป็น พระเจ้าของพวกเขา’ แต่บอกว่า ‘เราเป็น พระเจ้าของพวกเขา’ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ฉบับแปลโลกใหม่ ใช้ชื่อพระยะโฮวาในข้อนี้
ในหนังสือของโมเสส: พวกสะดูสียอมรับว่าเฉพาะหนังสือที่โมเสสเขียนเท่านั้นที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า พวกเขาไม่ยอมรับคำสอนของพระเยซูเรื่องการฟื้นขึ้นจากตายเพราะอาจคิดว่าคำสอนนั้นไม่ได้มีพื้นฐานมาจากเพนทาทุกซึ่งเป็นหนังสือที่โมเสสเขียน ที่จริง พระเยซูสามารถยกข้อคัมภีร์หลายข้อเพื่อพิสูจน์ว่าคนตายจะฟื้นขึ้นมาได้ เช่น อสย 26:19, ดนล 12:13 และ ฮชย 13:14 แต่เพราะพระเยซูรู้ว่าพวกสะดูสียอมรับข้อเขียนของโมเสส ท่านจึงยกคำพูดที่พระยะโฮวาพูดกับโมเสสมาพิสูจน์เรื่องนี้—อพย 3:2, 6
เพราะพระองค์มองว่าพวกเขาทุกคนมีชีวิตอยู่: คัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็นว่าคนที่มีชีวิตอยู่แต่ไม่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้าก็เท่ากับตายแล้วในสายตาของพระองค์ (อฟ 2:1; 1ทธ 5:6) ในทำนองเดียวกัน สำหรับผู้รับใช้ที่พระเจ้ายอมรับ แม้พวกเขาจะตายไป แต่พวกเขาก็ยังมีชีวิตอยู่ในสายตาของพระยะโฮวา เพราะพระองค์จะปลุกพวกเขาให้ฟื้นขึ้นจากตายตามที่พระองค์ต้องการแน่นอน—รม 4:16, 17
พระยะโฮวา: ข้อความนี้ยกมาจาก สด 110:1 ซึ่งในต้นฉบับภาษาฮีบรูมีชื่อของพระเจ้าเขียนด้วยอักษรฮีบรู 4 ตัว (ตรงกับเสียงอักษรไทย ยฮวฮ)
ที่สาธารณะ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 23:7
นั่งแถวหน้าสุด: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 23:6
นั่งแถวหน้าสุด: หรือ “นั่งในที่นั่งที่ดีที่สุด” ดูเหมือนว่าหัวหน้าที่ประชุมของชาวยิวและแขกคนสำคัญจะนั่งใกล้กับม้วนหนังสือพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นที่ที่ทุกคนมองเห็น ที่นั่งที่มีเกียรติแบบนี้อาจเป็นที่เฉพาะสำหรับคนสำคัญเหล่านี้
ที่สาธารณะ: หรือ “ตลาด” คำกรีก อากอรา ในข้อนี้หมายถึงลานที่ใช้เป็นศูนย์กลางการซื้อขาย และเป็นที่ชุมนุมของชาวเมืองในประเทศแถบตะวันออกกลางสมัยโบราณ และในดินแดนที่กรีกและโรมปกครอง
วีดีโอและรูปภาพ

แบบจำลองในวีดีโอนี้ทำขึ้นโดยอาศัยข้อมูลส่วนหนึ่งจากซากปรักหักพังของที่ประชุมชาวยิวในศตวรรษแรกในเมืองกัมลา ซึ่งอยู่ห่างจากทะเลสาบกาลิลีไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 10 กม. ไม่มีที่ประชุมชาวยิวจากศตวรรษแรกที่ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้ จึงไม่รู้แน่ชัดว่าที่ประชุมชาวยิวมีลักษณะอย่างไรจริง ๆ แบบจำลองนี้มีการใส่รายละเอียดที่น่าจะมีอยู่ในที่ประชุมหลายแห่งในสมัยนั้น
1. แถวหน้าสุดหรือที่นั่งที่ดีที่สุดในที่ประชุมอาจอยู่ใกล้หรืออยู่บนเวทีของผู้บรรยาย
2. เวทีที่ครูขึ้นไปอ่านกฎหมายของโมเสส ที่ตั้งเวทีในที่ประชุมแต่ละแห่งอาจแตกต่างกัน
3. ที่นั่งข้างผนังจะเป็นของคนสำคัญในชุมชน ส่วนคนอื่น ๆ อาจปูเสื่อนั่งบนพื้น ดูเหมือนที่ประชุมในกัมลามีที่นั่ง 4 แถว
4. หีบเก็บม้วนหนังสือศักดิ์สิทธิ์อาจอยู่ที่ผนังด้านหลัง
การจัดที่นั่งในที่ประชุมแบบนี้เตือนให้คนที่มาประชุมไม่ลืมว่าแต่ละคนมีฐานะตำแหน่งอย่างไรในสังคม ใครเป็นใหญ่กว่าใคร ซึ่งเป็นเรื่องที่สาวกของพระเยซูชอบเถียงกันบ่อย ๆ—มธ 18:1-4; 20:20, 21; มก 9:33, 34; ลก 9:46-48

ในศตวรรษแรก ปกติแล้วผู้คนจะนั่งเอนตัวที่โต๊ะเพื่อกินอาหาร แต่ละคนจะเอาศอกซ้ายยันหมอนอิงไว้และกินอาหารโดยใช้มือขวา ตามธรรมเนียมของกรีกและโรมันห้องอาหารโดยทั่วไปจะมีเก้าอี้ยาว 3 ตัวตั้งอยู่รอบโต๊ะอาหารเตี้ย ๆ ชาวโรมันเรียกห้องอาหารแบบนี้ว่า ไตรคลิเนียม (คำละตินที่มาจากคำกรีกซึ่งมีความหมายว่า “ห้องที่มีเก้าอี้ยาว 3 ตัว”) แม้ตามปกติแล้วการตั้งเก้าอี้แบบนี้จะนั่งได้ 9 คน โดยนั่งตัวละ 3 คน แต่เพื่อจะรับรองคนได้มากขึ้นก็อาจใช้เก้าอี้ที่ยาวขึ้นได้ เชื่อกันว่าที่นั่งแต่ละที่ในห้องอาหารบ่งบอกถึงฐานะหรือเกียรติของคนคนนั้น เก้าอี้ยาวตัวหนึ่งสำหรับคนที่มีเกียรติน้อยที่สุด (ก) อีกตัวหนึ่งอยู่ตรงกลาง (ข) และอีกตัวไว้สำหรับคนที่มีเกียรติมากที่สุด (ค) ตำแหน่งที่นั่งบนเก้าอี้ยาวแต่ละตัวก็มีความสำคัญแตกต่างกันด้วย คนที่นั่งข้างซ้ายจะมีเกียรติมากกว่าคนที่นั่งข้างขวาของเขา แต่ถ้างานเลี้ยงนั้นเป็นงานเลี้ยงแบบเป็นทางการ เจ้าภาพมักจะนั่งอยู่ตรงที่นั่งแรก (หมายเลข 1) บนเก้าอี้ยาวที่มีเกียรติน้อยที่สุด ส่วนแขกที่สำคัญที่สุด (หมายเลข 2) จะได้นั่งติดกับเจ้าภาพบนเก้าอี้ยาวที่อยู่ตรงกลาง ถึงแม้เราไม่รู้แน่ชัดว่าชาวยิวเอาธรรมเนียมนี้ไปใช้มากขนาดไหน แต่ดูเหมือนว่าพระเยซูใช้ธรรมเนียมนี้เพื่อสอนสาวกเรื่องความถ่อม