เขียนโดยยอห์น 5:1-47
เชิงอรรถ
ข้อมูลสำหรับศึกษา
เทศกาลปัสกา: พระเยซูเริ่มทำงานประกาศหลังจากท่านรับบัพติศมาในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 29 ดังนั้น ในข้อนี้จึงต้องพูดถึงเทศกาลปัสกาที่พระเยซูฉลองหลังจากนั้นไม่นานซึ่งเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 30 (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ลก 3:1 และภาคผนวก ก7) การเปรียบเทียบบันทึกในหนังสือข่าวดีทั้ง 4 เล่มทำให้รู้ว่าช่วงที่พระเยซูทำงานรับใช้บนโลก ท่านได้ฉลองปัสกา 4 ครั้ง และทำให้ได้ข้อสรุปว่างานรับใช้ของท่านกินเวลา 3 ปีครึ่ง หนังสือข่าวดี 3 เล่มคือ มัทธิว มาระโก และลูกา พูดถึงเทศกาลปัสกาแค่ครั้งเดียวคือครั้งสุดท้ายที่พระเยซูฉลองก่อนจะเสียชีวิต แต่ยอห์นพูดถึงเทศกาลปัสกา 4 ครั้ง โดย 3 ครั้งเขาใช้คำว่าปัสกา (ยน 2:13; 6:4; 11:55) และอีกครั้งหนึ่งซึ่งอยู่ใน ยน 5:1 เขาใช้คำว่า “เทศกาลของชาวยิว” ตัวอย่างนี้ทำให้เห็นว่าการเปรียบเทียบบันทึกในหนังสือข่าวดีทั้ง 4 เล่มช่วยให้เราเห็นภาพชีวิตของพระเยซูได้ครบถ้วนมากขึ้น—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 5:1; 6:4; 11:55
เทศกาลของชาวยิว: ถึงแม้ยอห์นไม่ได้บอกว่าเทศกาลนี้คือเทศกาลอะไร แต่มีเหตุผลที่ดีหลายอย่างที่จะเชื่อว่าเทศกาลนี้น่าจะเป็นเทศกาลปัสกาปี ค.ศ. 31 ปกติแล้วยอห์นจะบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เรียงตามลำดับเวลา ในท้องเรื่องแสดงให้เห็นว่ามีการฉลองเทศกาลนี้ไม่นานหลังจากที่พระเยซูบอกว่า “อีก 4 เดือนจะถึงฤดูเกี่ยวข้าว” (ยน 4:35) ฤดูเกี่ยวข้าวโดยเฉพาะข้าวบาร์เลย์เป็นช่วงเดียวกับเทศกาลปัสกา (วันที่ 14 เดือนนิสาน) ดังนั้น ดูเหมือนพระเยซูพูดประโยคนี้ประมาณ 4 เดือนก่อนหน้านั้น ก็คือช่วงเดือนคิสเลฟ (พฤศจิกายน/ธันวาคม) จริง ๆ แล้วในช่วงเดือนคิสเลฟถึงเดือนนิสานยังมีเทศกาลอีก 2 อย่างที่ฉลองกัน คือเทศกาลฉลองการอุทิศวิหารและเทศกาลปูริม แต่กฎหมายของพระเจ้าไม่ได้กำหนดให้ชาวอิสราเอลต้องไปที่กรุงเยรูซาเล็มเพื่อฉลองเทศกาล 2 อย่างนี้ ดังนั้น คำว่า “เทศกาลของชาวยิว” ในข้อนี้จึงน่าจะหมายถึงเทศกาลปัสกาซึ่งเป็นเทศกาลที่พระเยซูต้องไปเข้าร่วมที่กรุงเยรูซาเล็ม (ฉธบ 16:16) จริงที่ยอห์นบันทึกอีกแค่ไม่กี่เหตุการณ์ก่อนที่จะพูดถึงเทศกาลปัสกา (ยน 6:4) แต่เมื่อดูภาคผนวก ก7 ก็จะเห็นว่ายอห์นพูดถึงการรับใช้ช่วงแรก ๆ ของพระเยซูไม่มาก และเขาไม่ได้พูดถึงหลายเหตุการณ์ที่ผู้เขียนหนังสือข่าวดีอีก 3 คนได้พูดถึงแล้ว ที่จริง เรื่องราวของพระเยซูในหนังสือข่าวดีอีก 3 เล่มก็สนับสนุนข้อสรุปที่ว่า เทศกาลปัสกาประจำปีที่ยอห์นพูดถึงในข้อนี้เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์ที่บันทึกใน ยน 2:13 และ ยน 6:4—ดูภาคผนวก ก7 และข้อมูลสำหรับศึกษาที่ยน 2:13
ภาษาฮีบรู: ในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก ผู้เขียนพระคัมภีร์ใช้คำว่า “ฮีบรู” เพื่อหมายถึงภาษาที่ชาวยิวพูดกัน (ยน 19:13, 17, 20; กจ 21:40; 22:2; วว 9:11; 16:16) และเป็นภาษาที่พระเยซูพูดกับเซาโลที่มาจากเมืองทาร์ซัสหลังจากท่านฟื้นขึ้นจากตายและกลับไปสวรรค์แล้ว (กจ 26:14, 15) และที่ กจ 6:1 ก็พูดถึงสาวก 2 กลุ่มคือ “สาวกที่พูดภาษาฮีบรู” และ “สาวกที่พูดภาษากรีก” ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญด้านพระคัมภีร์บางคนบอกว่าข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ควรใช้คำว่า “ภาษาอาราเมอิก” ไม่ใช่ “ภาษาฮีบรู” แต่มีเหตุผลที่ดีที่จะเชื่อว่าการใช้คำว่า “ภาษาฮีบรู” ถูกต้องกว่า ครั้งหนึ่งลูกาบอกว่าเปาโลพูดกับชาวกรุงเยรูซาเล็ม “เป็นภาษาฮีบรู” เพราะตอนนั้นเปาโลกำลังพูดกับคนที่ศึกษากฎหมายของโมเสสที่เขียนเป็นภาษาฮีบรู นอกจากนั้น เมื่อสำรวจชิ้นส่วนและเอกสารในม้วนหนังสือทะเลตายทั้งส่วนที่เป็นพระคัมภีร์และไม่ใช่พระคัมภีร์ที่เขียนในภาษาฮีบรูก็พบว่า เอกสารเหล่านั้นส่วนใหญ่เขียนในภาษาฮีบรู แสดงว่าภาษาฮีบรูเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น เอกสารเหล่านั้นบางส่วนก็เขียนในภาษาอาราเมอิกด้วย แสดงว่าในตอนนั้นมีการใช้ทั้งภาษาฮีบรูและอาราเมอิก ดังนั้น ถ้าผู้เขียนพระคัมภีร์ใช้คำว่า “ภาษาฮีบรู” เขาก็ไม่น่าจะหมายถึงภาษาอาราเมอิกหรือภาษาซีเรีย (กจ 21:40; 22:2; เทียบกับ กจ 26:14) พระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูที่ 2พก 18:26 ก็พูดถึงทั้ง “ภาษาอาราเมอิก” และ “ภาษาของชาวยิว” ซึ่งโยเซฟุสนักประวัติศาสตร์ชาวยิวในศตวรรษแรกคิดว่าข้อคัมภีร์นี้พูดถึง 2 ภาษาที่แตกต่างกัน คือภาษาอาราเมอิกและภาษาฮีบรู (Jewish Antiquities, X, 8 [i, 2]) จริงอยู่ที่บางคำในภาษาอาราเมอิกและฮีบรูมีความคล้ายคลึงกันและมีบางคำในภาษาฮีบรูเอามาจากภาษาอาราเมอิก แต่ดูเหมือนไม่มีเหตุผลที่ผู้เขียนพระคัมภีร์ภาคภาษากรีกจะใช้คำว่าภาษาฮีบรูเพื่อหมายถึงภาษาอาราเมอิก
เบธซาธา: ชื่อภาษาฮีบรูที่แปลว่า “บ้านแห่งมะกอก” สำเนาพระคัมภีร์บางฉบับเรียกสระนี้ว่า “เบเธสดา” ซึ่งอาจแปลว่า “บ้านแห่งความเมตตา” ส่วนสำเนาพระคัมภีร์อื่น ๆ เรียกสระนี้ว่า “เบธไซดา” ที่แปลว่า “บ้านของคนล่าสัตว์ [หรือชาวประมง]” แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนในทุกวันนี้สนับสนุนชื่อเบธซาธา
มีคนมากมายที่ป่วย . . . มานอน: ผู้คนทั่วไปเชื่อกันว่าถ้าใครลงไปในสระตอนที่น้ำกระเพื่อมก็จะหายจากโรค (ยน 5:7) เลยมีคนป่วยมากมายมาอยู่ที่สระนั้น แต่คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอกว่าทูตสวรรค์ของพระเจ้ามาทำการอัศจรรย์ที่สระเบธซาธา (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 5:4) แทนที่จะเป็นอย่างนั้น คัมภีร์ไบเบิลบอกว่าพระเยซูทำการอัศจรรย์ที่สระนั้น และน่าสังเกตว่าผู้ชายคนนั้นไม่ได้ลงไปในสระ แต่เขาก็หายจากโรคทันที
ในตอนท้ายของข้อ 3 ไปจนถึงข้อ 4 สำเนาพระคัมภีร์บางฉบับมีข้อความทั้งหมดนี้หรือบางส่วนที่บอกว่า “คอยน้ำกระเพื่อม 4 ด้วยมีทูตสวรรค์องค์หนึ่งของพระเจ้า [หรือ “ของพระยะโฮวา”] ลงมากวนน้ำเป็นครั้งคราว และเมื่อน้ำกระเพื่อมแล้วผู้ใดลงไปในน้ำก่อนก็จะหายจากโรคใด ๆ ที่เขาเป็นอยู่นั้น” แต่ข้อความนี้ไม่มีในสำเนาพระคัมภีร์ที่เก่าแก่และน่าเชื่อถือที่สุดและดูเหมือนไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของข้อความต้นฉบับของหนังสือยอห์น (ดูภาคผนวก ก3) ฉบับแปลบางฉบับที่แปลพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเป็นภาษาฮีบรูใช้คำว่า “ทูตสวรรค์องค์หนึ่งของพระยะโฮวา” แทนคำว่า “ทูตสวรรค์องค์หนึ่งของพระเจ้า”
ในตอนท้ายของข้อ 3 ไปจนถึงข้อ 4 สำเนาพระคัมภีร์บางฉบับมีข้อความทั้งหมดนี้หรือบางส่วนที่บอกว่า “คอยน้ำกระเพื่อม 4 ด้วยมีทูตสวรรค์องค์หนึ่งของพระเจ้า [หรือ “ของพระยะโฮวา”] ลงมากวนน้ำเป็นครั้งคราว และเมื่อน้ำกระเพื่อมแล้วผู้ใดลงไปในน้ำก่อนก็จะหายจากโรคใด ๆ ที่เขาเป็นอยู่นั้น” แต่ข้อความนี้ไม่มีในสำเนาพระคัมภีร์ที่เก่าแก่และน่าเชื่อถือที่สุดและดูเหมือนไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของข้อความต้นฉบับของหนังสือยอห์น (ดูภาคผนวก ก3) ฉบับแปลบางฉบับที่แปลพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเป็นภาษาฮีบรูใช้คำว่า “ทูตสวรรค์องค์หนึ่งของพระยะโฮวา” แทนคำว่า “ทูตสวรรค์องค์หนึ่งของพระเจ้า”
เสื่อ: หรือ “ที่นอน” ในดินแดนสมัยคัมภีร์ไบเบิล ที่นอนมักจะเป็นแค่เสื่อผืนหนึ่งซึ่งทำจากฟางหรือต้นกก บางทีก็เย็บซ้อนกันหลายชั้นหรือมีการบุให้นุ่มขึ้นและเมื่อไม่ใช้ก็สามารถม้วนเก็บได้ ในท้องเรื่องนี้ดูเหมือนว่าคำกรีก คราบ์บาทอส หมายถึงที่นอนของคนยากจน ในบันทึกที่ มก 2:4-12 มีการใช้คำกรีกเดียวกันเพื่อหมายถึง “เปล” ที่ใช้หามคนเป็นอัมพาต
พวกยิว: ในหนังสือข่าวดีของยอห์น คำนี้ถ่ายทอดความหมายได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับท้องเรื่อง คำนี้อาจหมายถึงคนยิวทั่วไป หมายถึงคนที่อยู่ในยูเดีย หรือคนที่อยู่ใกล้หรืออยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม นอกจากนั้น คำนี้ยังหมายถึงคนยิวที่ยึดติดกับธรรมเนียมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของโมเสสและเป็นศัตรูกับพระเยซู ในท้องเรื่องนี้ “พวกยิว” อาจหมายถึงพวกผู้นำศาสนาชาวยิว แต่ก็อาจมีความหมายที่กว้างกว่าได้ คือรวมถึงคนยิวที่ยึดติดกับธรรมเนียมต่าง ๆ ของมนุษย์
อย่าทำบาปอีก: คำพูดนี้ของพระเยซูไม่ได้หมายความว่าผู้ชายคนนี้ป่วยเพราะเขาทำบาปบางอย่าง แต่ที่ผู้ชายคนนี้ป่วยมานาน 38 ปีเป็นเพราะเขาได้รับบาปมาจากมนุษย์คู่แรก (ยน 5:5-9; เทียบกับ ยน 9:1-3) ตอนนี้เขาได้รับความเมตตาและได้รับการรักษาจนหายป่วยแล้ว พระเยซูจึงบอกให้เขาใช้ชีวิตอย่างที่สมควรจะได้รับความรอดและอย่าจงใจทำบาปเพื่อจะไม่เจอเรื่องเลวร้ายกว่าความเจ็บป่วยที่เขาเคยเจอ ซึ่งก็คือการถูกทำลายตลอดไป—ฮบ 10:26, 27
หาเรื่อง: แปลตรงตัวว่า “ข่มเหง” รูปแบบคำกริยากรีกที่ใช้ในข้อนี้แสดงให้เห็นว่าพวกยิวซึ่งอาจหมายถึงผู้นำศาสนาชาวยิวหรือคนยิวที่ยึดติดกับธรรมเนียมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของโมเสสได้เริ่มหาเรื่องหรือข่มเหงพระเยซูแล้วและยังทำอย่างนั้นอยู่
ทำตัวเสมอกับพระเจ้า: ถึงแม้เป็นเรื่องเหมาะสมที่พระเยซูจะเรียกพระเจ้าว่าพ่อ แต่ท่านก็ไม่เคยบอกว่าตัวท่านเท่าเทียมกับพระเจ้า (ยน 5:17) แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกยิวกล่าวหาว่าการที่พระเยซูเรียกพระเจ้าว่าพ่อเป็นการพยายามทำตัวเสมอพระเจ้า พวกยิวเคยกล่าวหาพระเยซูผิด ๆ ว่าละเมิดกฎวันสะบาโต ตอนนี้พวกเขาก็กล่าวหาพระเยซูผิด ๆ ในเรื่องนี้ด้วย คำพูดของพระเยซูในข้อ 19 ถึง 24 ที่บอกว่าท่านไม่ทำอะไรตามใจตัวเองแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าท่านไม่ได้ทำตัวเสมอกับพระเจ้า—ยน 14:28
ทำอะไรตามใจตัวเอง: หรือ “ทำเอง” คือทำโดยไม่ต้องพึ่งใคร แปลตรงตัวว่า “มาจากตัวเอง” เนื่องจากพระเยซูเป็นตัวแทนคนสำคัญของพระเจ้า ท่านจึงฟังพระยะโฮวาเสมอและพูดตามที่พระองค์สั่งเท่านั้น
พระองค์รักลูกของพระองค์มาก: ในข้อนี้พระเยซูพูดถึงสายสัมพันธ์ที่อบอุ่น เป็นเพื่อน และเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างท่านกับพระเจ้าผู้เป็นพ่อตั้งแต่ตอนที่พระองค์ทั้งสองเริ่มสร้างสิ่งต่าง ๆ (สภษ 8:30) ตอนที่ยอห์นบันทึกคำพูดนี้ของพระเยซู เขาใช้คำกริยากรีก ฟิเละโอ (“รักอย่างอบอุ่น”) คำกริยานี้มักใช้เพื่อพูดถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากระหว่างเพื่อนสนิท ตัวอย่างเช่น มีการใช้คำนี้พูดถึงความสนิทสนมระหว่างพระเยซูกับลาซารัส (ยน 11:3, 36) และยังใช้คำนี้เพื่อพูดถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างพ่อแม่ลูก (มธ 10:37) นอกจากนั้น ยังมีการใช้คำกริยา ฟิเละโอ เพื่อแสดงถึงความรู้สึกอบอุ่นและใกล้ชิดมากที่พระยะโฮวามีต่อคนที่ติดตามพระเยซู และความรู้สึกสนิทสนมที่สาวกมีต่อพระเยซูด้วย—ยน 16:27
ได้ชีวิต . . . ถูกตัดสินลงโทษ: ในข้อนี้และที่ ยน 5:24 ใช้คำว่า “ตัดสินลงโทษ” เพื่อหมายถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ “ชีวิต” และ “ชีวิตตลอดไป” คำนี้จึงหมายถึงการตัดสินลงโทษให้ตาย (2ปต 2:9; 3:7; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 5:24) คำกรีก คริซิส ที่แปลว่า “ตัดสินลงโทษ” ในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกส่วนใหญ่หมายถึงการพิพากษาลงโทษ และอย่างที่เห็นในท้องเรื่องนี้กับข้อคัมภีร์อื่น ๆ การตัดสินลงโทษที่พระเยซูพูดถึงไม่ได้อาศัยสิ่งที่คนเราทำก่อนตาย แต่อาศัยสิ่งที่เขาทำหลังจากฟื้นขึ้นมาแล้ว ที่ รม 6:7 บอกว่า “คนที่ตายแล้วก็พ้นโทษจากบาปของเขา” ดังนั้น ทุกคนที่ฟื้นขึ้นจากตายต้องแสดงให้เห็นว่าเขาเชื่อฟัง เขาถึงจะได้ “ชีวิต” ตลอดไปเป็นรางวัล แต่ถ้าไม่เชื่อฟัง เขาก็จะถูก “ตัดสินลงโทษ” ให้ตาย
ให้คนตายฝังคนตาย: จากข้อมูลสำหรับศึกษา ลก 9:59 เรารู้ว่าพ่อของผู้ชายที่คุยกับพระเยซูอาจกำลังป่วยหรือแก่แล้ว แต่ยังไม่ตาย ดังนั้น จริง ๆ แล้วพระเยซูกำลังบอกว่า ‘ให้คนที่ตายทางความเชื่อฝังกันเองเถอะ’ ซึ่งนั่นหมายความว่า ชายคนนี้ไม่จำเป็นต้องรอให้พ่อตายก่อนแล้วค่อยตัดสินใจติดตามพระเยซู เพราะเขายังมีญาติ ๆ ที่ช่วยดูแลพ่อของเขาได้ ถ้าผู้ชายคนนี้ติดตามพระเยซู เขาก็จะอยู่ในทางที่จะได้ชีวิตตลอดไป ไม่ใช่อยู่กับคนเหล่านั้นที่ตายทางความเชื่อในสายตาพระเจ้า คำตอบของพระเยซูแสดงให้เห็นว่า เพื่อเราจะไม่ตายทางความเชื่อ เราต้องทำให้เรื่องรัฐบาลของพระเจ้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตและประกาศเรื่องนี้ออกไป
คนตาย: พระเยซูบอกว่าเวลาที่คนตายจะ “ได้ยินเสียงลูกของพระเจ้า” เริ่มต้นแล้ว ดังนั้น คนตายในที่นี้ต้องหมายถึงมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่แต่ถูกตัดสินให้ตายเพราะได้รับบาปตกทอดมาจากอาดัม (รม 5:12) ในมุมมองของพระเจ้า มนุษย์ทุกคนไม่มีสิทธิ์จะได้ชีวิตเพราะ “ค่าจ้าง” ที่บาปจ่ายคือความตาย (รม 6:23) การได้ยินและใส่ใจคำสอนของพระเยซูจะทำให้ผู้คน “ผ่านพ้นความตายไปสู่ชีวิต” (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 5:24) ในคัมภีร์ไบเบิลมักใช้คำว่า “ได้ยิน” และ “ฟัง” เพื่อหมายถึง “ใส่ใจ” หรือ “เชื่อฟัง”
ตัดสินลงโทษ: คำกรีก คริซิส ที่แปลว่า “ตัดสินลงโทษ” ในข้อนี้อาจมีหลายความหมายขึ้นอยู่กับท้องเรื่อง ตัวอย่างเช่น คำนี้อาจหมายถึงการพิพากษา (ยน 5:22) ความยุติธรรม (มธ 23:23; ลก 11:42) หรือศาล (มธ 5:21) คำนี้ยังหมายถึงการพิพากษาที่ส่งผลทั้งในด้านดีและไม่ดี แต่พระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกมักใช้คำนี้เพื่อหมายถึงการพิพากษาลงโทษ ในข้อนี้คำว่า “ตัดสินลงโทษ” ใช้คู่กับคำว่าความตายและตรงกันข้ามกับคำว่าชีวิตและชีวิตตลอดไป ดังนั้น คำที่ใช้ในข้อนี้จึงหมายถึงการตัดสินลงโทษให้ตาย—2ปต 2:9; 3:7; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 5:29
ผ่านพ้นความตายไปสู่ชีวิต: ดูเหมือนว่าพระเยซูกำลังพูดถึงคนที่เคยตายด้านความเชื่อ แต่เมื่อเขาได้ยินคำสอนของท่าน เขาก็มีความเชื่อและเลิกใช้ชีวิตแบบผิด ๆ (อฟ 2:1, 2, 4-6) พวกเขาได้ “ผ่านพ้นความตายไปสู่ชีวิต” ในความหมายที่ว่าการตัดสินลงโทษถึงตายที่พวกเขาเคยได้รับถูกยกเลิกแล้ว และพวกเขาได้รับความหวังที่จะมีชีวิตตลอดไปเพราะมีความเชื่อในพระเจ้า ดูเหมือนว่าพระเยซูก็ใช้คำว่าตายในความหมายเดียวกันนี้ตอนที่ท่านพูดกับคนยิวที่ขอตัวไปฝังศพพ่อว่า “ให้คนตายฝังคนตายเถอะ”—ลก 9:60; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ลก 9:60; ยน 5:25
คนตาย: พระเยซูบอกว่าเวลาที่คนตายจะ “ได้ยินเสียงลูกของพระเจ้า” เริ่มต้นแล้ว ดังนั้น คนตายในที่นี้ต้องหมายถึงมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่แต่ถูกตัดสินให้ตายเพราะได้รับบาปตกทอดมาจากอาดัม (รม 5:12) ในมุมมองของพระเจ้า มนุษย์ทุกคนไม่มีสิทธิ์จะได้ชีวิตเพราะ “ค่าจ้าง” ที่บาปจ่ายคือความตาย (รม 6:23) การได้ยินและใส่ใจคำสอนของพระเยซูจะทำให้ผู้คน “ผ่านพ้นความตายไปสู่ชีวิต” (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 5:24) ในคัมภีร์ไบเบิลมักใช้คำว่า “ได้ยิน” และ “ฟัง” เพื่อหมายถึง “ใส่ใจ” หรือ “เชื่อฟัง”
ผ่านพ้นความตายไปสู่ชีวิต: ดูเหมือนว่าพระเยซูกำลังพูดถึงคนที่เคยตายด้านความเชื่อ แต่เมื่อเขาได้ยินคำสอนของท่าน เขาก็มีความเชื่อและเลิกใช้ชีวิตแบบผิด ๆ (อฟ 2:1, 2, 4-6) พวกเขาได้ “ผ่านพ้นความตายไปสู่ชีวิต” ในความหมายที่ว่าการตัดสินลงโทษถึงตายที่พวกเขาเคยได้รับถูกยกเลิกแล้ว และพวกเขาได้รับความหวังที่จะมีชีวิตตลอดไปเพราะมีความเชื่อในพระเจ้า ดูเหมือนว่าพระเยซูก็ใช้คำว่าตายในความหมายเดียวกันนี้ตอนที่ท่านพูดกับคนยิวที่ขอตัวไปฝังศพพ่อว่า “ให้คนตายฝังคนตายเถอะ”—ลก 9:60; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ลก 9:60; ยน 5:25
ได้ชีวิต: หรือ “มีชีวิตในตัวเอง” ใน ยน 5:26 พระเยซูบอกว่าท่าน “มีอำนาจให้ชีวิต” เหมือนกับที่พระเจ้าผู้เป็นพ่อ “มีอำนาจให้ชีวิต” (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 5:26) ประมาณ 1 ปีต่อมาพระเยซูใช้คำเดียวกันนี้กับสาวก และท้องเรื่องของข้อนี้ทำให้รู้ว่าการ “ได้ชีวิต” หมายถึงการ “มีชีวิตตลอดไป” (ยน 6:54) นี่แสดงว่าพระเยซูไม่ได้บอกว่าพวกสาวกมีอำนาจที่จะให้ชีวิตกับผู้อื่น แต่คำว่า “ได้ชีวิต” ในข้อนี้น่าจะหมายถึงการมีชีวิตในความหมายที่ครบถ้วน คริสเตียนผู้ถูกเจิมจะมีชีวิตในความหมายที่ครบถ้วนตอนที่พวกเขาถูกปลุกให้ฟื้นขึ้นมามีชีวิตอมตะในสวรรค์ ส่วนคนที่ซื่อสัตย์ซึ่งมีความหวังบนโลกจะมีชีวิตในความหมายที่ครบถ้วนหลังจากที่พวกเขาผ่านการทดสอบขั้นสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นตอนสิ้นสุดสมัยพันปีของพระคริสต์—1คร 15:52, 53; วว 20:5, 7-10
มีอำนาจให้ชีวิต: หรือ “มีชีวิตในตัวเอง” พระเยซู “มีอำนาจให้ชีวิต” เพราะพระเจ้าผู้เป็นพ่อให้อำนาจนี้กับท่าน ซึ่งอำนาจนี้ที่จริงเป็นของพระองค์เท่านั้น อำนาจนี้รวมถึงอำนาจที่จะช่วยให้มนุษย์มีโอกาสได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้าและได้ชีวิต อำนาจนี้ยังรวมถึงอำนาจที่จะปลุกคนตายให้ฟื้น ประมาณ 1 ปีต่อมาพระเยซูก็บอกว่าสาวกของท่านสามารถมีชีวิตในตัวเองได้—สำหรับความหมายของคำว่า “มีชีวิตในตัวเอง” ที่ใช้กับสาวกของพระเยซู ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 6:53
ลูกมนุษย์: มีการใช้คำนี้ประมาณ 80 ครั้งในหนังสือข่าวดีทั้ง 4 เล่ม พระเยซูใช้คำนี้เมื่อพูดถึงตัวท่านเอง ดูเหมือนท่านใช้คำนี้เพื่อเน้นว่าท่านเป็นมนุษย์จริง ๆ ที่เกิดจากผู้หญิงและมีค่าเท่าเทียมกับอาดัม ท่านจึงสามารถไถ่มนุษย์จากบาปและความตายได้ (รม 5:12, 14, 15) คำนี้ยังทำให้รู้ว่าพระเยซูเป็นเมสสิยาห์หรือพระคริสต์ด้วย—ดนล 7:13, 14; ดูส่วนอธิบายศัพท์
ลูกมนุษย์: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 8:20
อุโมงค์ฝังศพ: หรือ “อุโมงค์รำลึก” คำนี้แปลมาจากคำกรีก มะเนเม่ออน ซึ่งมาจากคำกริยา มิมเน้สคอไม ที่มีความหมายว่า “จำ, ระลึกถึง” ดังนั้น คำนี้จึงหมายถึงอุโมงค์ฝังศพหรือหลุมศพ คำนี้ถ่ายทอดแนวคิดของการเก็บรักษาความทรงจำเกี่ยวกับคนที่ตายไปแล้ว ในท้องเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าคนที่ตายไปยังอยู่ในความทรงจำของพระเจ้า การรู้ความหมายของคำนี้ช่วยให้เราเข้าใจข้อคัมภีร์ที่ลูกาบันทึกซึ่งเป็นคำพูดของอาชญากรที่ถูกตรึงอยู่ข้างพระเยซู เขาขอร้องพระเยซูว่า “ตอนที่ท่านได้เป็นกษัตริย์ อย่าลืม [หรือ “ระลึกถึง” รูปแบบหนึ่งของคำกริยา มิมเน้สคอไม] ผมนะครับ”—ลก 23:42
ตัดสินลงโทษ: คำกรีก คริซิส ที่แปลว่า “ตัดสินลงโทษ” ในข้อนี้อาจมีหลายความหมายขึ้นอยู่กับท้องเรื่อง ตัวอย่างเช่น คำนี้อาจหมายถึงการพิพากษา (ยน 5:22) ความยุติธรรม (มธ 23:23; ลก 11:42) หรือศาล (มธ 5:21) คำนี้ยังหมายถึงการพิพากษาที่ส่งผลทั้งในด้านดีและไม่ดี แต่พระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกมักใช้คำนี้เพื่อหมายถึงการพิพากษาลงโทษ ในข้อนี้คำว่า “ตัดสินลงโทษ” ใช้คู่กับคำว่าความตายและตรงกันข้ามกับคำว่าชีวิตและชีวิตตลอดไป ดังนั้น คำที่ใช้ในข้อนี้จึงหมายถึงการตัดสินลงโทษให้ตาย—2ปต 2:9; 3:7; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 5:29
ฟื้นขึ้นมา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 22:23
ได้ชีวิต . . . ถูกตัดสินลงโทษ: ในข้อนี้และที่ ยน 5:24 ใช้คำว่า “ตัดสินลงโทษ” เพื่อหมายถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ “ชีวิต” และ “ชีวิตตลอดไป” คำนี้จึงหมายถึงการตัดสินลงโทษให้ตาย (2ปต 2:9; 3:7; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 5:24) คำกรีก คริซิส ที่แปลว่า “ตัดสินลงโทษ” ในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกส่วนใหญ่หมายถึงการพิพากษาลงโทษ และอย่างที่เห็นในท้องเรื่องนี้กับข้อคัมภีร์อื่น ๆ การตัดสินลงโทษที่พระเยซูพูดถึงไม่ได้อาศัยสิ่งที่คนเราทำก่อนตาย แต่อาศัยสิ่งที่เขาทำหลังจากฟื้นขึ้นมาแล้ว ที่ รม 6:7 บอกว่า “คนที่ตายแล้วก็พ้นโทษจากบาปของเขา” ดังนั้น ทุกคนที่ฟื้นขึ้นจากตายต้องแสดงให้เห็นว่าเขาเชื่อฟัง เขาถึงจะได้ “ชีวิต” ตลอดไปเป็นรางวัล แต่ถ้าไม่เชื่อฟัง เขาก็จะถูก “ตัดสินลงโทษ” ให้ตาย
การฟื้นขึ้นจากตาย: คำกรีก อานาสทาซิส แปลตรงตัวว่า “ทำให้ลุกขึ้น, ยืนขึ้น” มีการใช้คำนี้ประมาณ 40 ครั้งในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเพื่อพูดถึงการปลุกคนตายให้ฟื้น (มธ 22:31; กจ 4:2; 24:15; 1คร 15:12, 13) ในฉบับเซปตัวจินต์ ที่ อสย 26:19 ซึ่งมีข้อความว่า “คนของพวกเจ้าที่ตายแล้วจะมีชีวิต อีก” มีการใช้คำกริยา อานาสทาซิส เพื่อแปลคำกริยาฮีบรู “มีชีวิต”—ดูส่วนอธิบายศัพท์
ทำอะไรตามใจตัวเอง: หรือ “ทำเอง” คือทำโดยไม่ต้องพึ่งใคร แปลตรงตัวว่า “มาจากตัวเอง” เนื่องจากพระเยซูเป็นตัวแทนคนสำคัญของพระเจ้า ท่านจึงฟังพระยะโฮวาเสมอและพูดตามที่พระองค์สั่งเท่านั้น
พระเจ้าบอกผมอย่างไร: หมายถึงสิ่งที่พระเยซูได้ยินจากพ่อของท่านซึ่งเป็นผู้พิพากษาองค์สูงสุด
พระคัมภีร์: มักมีการใช้คำนี้เพื่อหมายถึงพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูทั้งหมดที่ได้รับการดลใจ คนยิวที่ศึกษาพระคัมภีร์อย่างละเอียดจะรู้ได้ไม่ยากว่าพระเยซูเป็นเมสสิยาห์โดยเปรียบเทียบชีวิตและคำสอนของท่านกับสิ่งที่พระคัมภีร์บอกไว้ล่วงหน้า แต่คนยิวเหล่านี้ไม่ยอมตรวจสอบหลักฐานมากมายที่มีอยู่ในพระคัมภีร์อย่างจริงใจว่าพระเยซูเป็นเมสสิยาห์ที่สัญญาไว้ ถึงพวกเขาจะคิดว่าพระคัมภีร์ทำให้มีชีวิตตลอดไปได้ แต่พวกเขาก็ไม่ยอมรับพระเยซูผู้ซึ่งพระคัมภีร์ชี้ว่าเป็นทางที่นำไปสู่ชีวิต—ฉธบ 18:15; ลก 11:52; ยน 7:47, 48
พระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว: สำเนาพระคัมภีร์บางฉบับในยุคแรกไม่มีคำว่า “พระเจ้า” จึงทำให้แปลว่า “พระองค์ผู้เดียว” แต่สำเนาพระคัมภีร์ที่น่าเชื่อถือส่วนใหญ่ในยุคแรกสนับสนุนการแปลแบบฉบับแปลโลกใหม่
วีดีโอและรูปภาพ
มีเฉพาะหนังสือข่าวดีของยอห์นเท่านั้นที่พูดถึงสระเบธซาธาและบอกว่าอยู่ “ใกล้ ๆ ประตูแห่งหนึ่งในกรุงเยรูซาเล็มที่ชื่อประตูแกะ” (ยน 5:2) ประตูแกะนี้อาจเป็นสถานที่เดียวกับที่พูดถึงในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู ซึ่งอยู่มุมทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเยรูซาเล็ม (นหม 3:1, 32; 12:39) หรือ “ประตูแกะ” ที่ยอห์นพูดถึงอาจเป็นอีกประตูหนึ่งที่สร้างขึ้นหลังจากตอนที่สร้างประตูแกะซึ่งพูดถึงในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูก็ได้ นักโบราณคดีได้พบซากสระน้ำขนาดใหญ่ทางเหนือของภูเขาที่วิหารตั้งอยู่ ซึ่งดูเหมือนมีลักษณะตรงกับสระน้ำที่ยอห์นพูดถึง การขุดค้นนี้ทำให้รู้ว่าสระนี้มี 2 อ่างติดกันซึ่งกินพื้นที่ขนาด 46 x 92 เมตร หนังสือข่าวดีของยอห์นบอกว่าสระเบธซาธามี “ระเบียงทางเดิน 5 ระเบียง” และกว้างพอที่คนป่วยกับคนพิการ “มากมาย” สามารถนอนอยู่ที่นั่นได้ (ยน 5:2, 3) ดูเหมือนว่าทั้ง 4 ด้านของสระนี้เป็นระเบียงทางเดิน 4 ระเบียง และตรงกลางระหว่างอ่างทิศเหนือกับอ่างทิศใต้มีอีก 1 ระเบียงคั่นอยู่
1. สระเบธซาธา
2. ภูเขาที่วิหารตั้งอยู่