เขียนโดยมาระโก 8:1-38
เชิงอรรถ
ข้อมูลสำหรับศึกษา
รู้สึกสงสาร: คำกริยากรีก สะพลางค์นิศอไม ที่ใช้ในสำนวนนี้เกี่ยวข้องกับคำว่า “ลำไส้” (สะพลางค์นา) คำนี้แสดงถึงความรู้สึกที่อยู่ในส่วนลึกของตัวเรา ซึ่งเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง นี่เป็นหนึ่งในคำกรีกที่แสดงถึงความรู้สึกสงสารที่แรงกล้าที่สุด
สงสาร: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 9:36
ตะกร้าใหญ่: หรือ “กระบุง” คำกรีก สพูรีส ที่ใช้ในข้อนี้ดูเหมือนหมายถึงตะกร้าที่มีขนาดใหญ่กว่าตะกร้าที่ใช้ก่อนหน้านี้ตอนพระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 6:43) “ตะกร้า” ที่ศิษย์ของเปาโลให้เขานั่งแล้วหย่อนลงทางช่องหน้าต่างบนกำแพงเมืองดามัสกัสก็มาจากคำกรีกเดียวกันนี้—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 9:25
ตะกร้า: อาจเป็นตะกร้าสานใบเล็กที่มีหูทำจากเชือกไว้หิ้วหรือสะพายไปได้เวลาเดินทาง เชื่อกันว่าตะกร้าแบบนี้จุได้ประมาณ 7.5 ลิตร—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 8:19, 20
ตะกร้าใหญ่: ในข้อนี้ลูกาใช้คำกรีก สพูรีส ซึ่งเป็นคำเดียวกับที่มัทธิวและมาระโกใช้เมื่อพูดถึงตะกร้า 7 ใบที่ใช้เก็บอาหารเหลือหลังจากที่พระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชาย 4,000 คน (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 15:37) คำนี้หมายถึงตะกร้าใหญ่หรือกระบุง แต่ตอนที่เปาโลเล่าให้คริสเตียนในเมืองโครินธ์ฟังเกี่ยวกับวิธีที่เขาหนี เขาใช้คำกรีก ซาร์กาเน ที่หมายถึงตะกร้าสาน หรือ “ตะกร้าหวาย” ซึ่งทำมาจากเชือกหรือกิ่งไม้ คำกรีกทั้ง 2 คำนี้สามารถใช้เพื่อหมายถึงตะกร้าใหญ่ชนิดเดียวกัน—2คร 11:32, 33
ประมาณ 4,000 คนที่เป็นผู้ชาย: เฉพาะมัทธิวเท่านั้นที่พูดถึงการอัศจรรย์ครั้งนี้ว่ามีผู้หญิงและเด็กรวมอยู่ด้วย (มธ 15:38) เป็นไปได้ว่าจำนวนคนทั้งหมดที่พระเยซูเลี้ยงอาหารโดยการอัศจรรย์มีมากกว่า 12,000 คน
มากาดาน: ทุกวันนี้ไม่มีเขตที่เรียกว่ามากาดานบริเวณรอบทะเลสาบกาลิลี แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่ามากาดานน่าจะเป็นที่เดียวกับมักดาลา ซึ่งก็คือกีร์เบต มัจดัล (มิกดัล) ที่อยู่ห่างจากเมืองทิเบเรียสไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 กม. บันทึกเหตุการณ์เดียวกัน (มก 8:10) เรียกที่นี่ว่าดาลมานูธา—ดูภาคผนวก ข10
ดาลมานูธา: ชื่อนี้ไม่มีในหนังสืออื่นของคัมภีร์ไบเบิลและไม่พบในหนังสือทั่วไป แต่มีอยู่ในหนังสือข่าวดีของมาระโกเท่านั้น ถึงแม้ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าดาลมานูธาอยู่ที่ไหน แต่ดูเหมือนอยู่ใกล้ชายฝั่งด้านตะวันตกของทะเลสาบกาลิลี เพราะบันทึกเหตุการณ์เดียวกันในหนังสือมัทธิวเรียกเขตนี้ว่ามากาดาน (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 15:39) ดาลมานูธาจึงอาจเป็นอีกชื่อหนึ่งของมากาดาน
ถอนหายใจ: มาระโกมักจะบันทึกความรู้สึกและปฏิกิริยาของพระเยซู (มก 3:5; 7:34; 9:36; 10:13-16, 21) คำกริยาที่เขาใช้ในข้อนี้มีอยู่ที่เดียวในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก คำนี้แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกที่แรงกล้า และมีการใช้คำกริยากรีกอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันในบันทึกที่ มก 7:34 (ดูข้อมูลสำหรับศึกษา) พระเยซูถอนหายใจแบบนี้เพื่อแสดงว่าท่านโกรธที่พวกฟาริสีท้าให้ท่านทำการอัศจรรย์อีก พวกเขาเคยเห็นการอัศจรรย์หลายอย่างที่แสดงถึงฤทธิ์อำนาจของท่านมาแล้วแต่พวกเขาก็ไม่สนใจ
ถอนหายใจยาว ๆ: มาระโกมักจะบันทึกความรู้สึกของพระเยซู เขาอาจได้ข้อมูลเหล่านี้จากเปโตรซึ่งเป็นคนที่มีอารมณ์และความรู้สึกลึกซึ้ง (ดู “บทนำของหนังสือมาระโก”) คำกริยากรีกนี้อาจหมายถึงการถอนหายใจและอธิษฐานด้วยความทุกข์ใจ การที่พระเยซูทำอย่างนี้แสดงว่าท่านเห็นอกเห็นใจผู้ชายคนนี้หรือท่านรู้สึกเจ็บปวดที่เห็นมนุษย์เจอความทุกข์ คำกริยากรีกที่เกี่ยวข้องกับคำนี้มีอยู่ที่ รม 8:22 ซึ่งบอกว่าสิ่งที่พระเจ้าสร้างทั้งหมดกำลัง “คร่ำครวญ”
เชื้อ: หรือ “ยีสต์” คัมภีร์ไบเบิลมักใช้เชื้อเป็นภาพแสดงถึงความเสื่อมเสียและบาป ซึ่งในข้อนี้หมายถึงคำสอนและอิทธิพลไม่ดีที่ทำให้เสื่อมเสีย (มธ 16:6, 11, 12; 1คร 5:6-8) ข้อนี้ในต้นฉบับภาษาเดิมพระเยซูพูดซ้ำคำว่า “เชื้อ” 2 ครั้ง ซึ่งแสดงว่าเชื้อของเฮโรดกับพรรคพวกของเฮโรดต่างจากเชื้อของฟาริสี เฮโรดกับพรรคพวกเกี่ยวข้องกับการเมืองมากกว่าศาสนา ตัวอย่างเช่น พวกเขากับพวกฟาริสีส่งเสริมความคิดเรื่องชาตินิยม เห็นได้จากตอนที่ทั้ง 2 กลุ่มถามพระเยซูเรื่องการจ่ายภาษีเพื่อหาทางจับผิดท่าน—มก 12:13-15
เฮโรด: สำเนาพระคัมภีร์เก่าแก่บางฉบับใช้คำว่า “พวกเฮโรเดียน”—ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “พรรคพวกของเฮโรด”
ตะกร้าใหญ่: หรือ “กระบุง”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 8:8, 19
ตะกร้า: อาจเป็นตะกร้าสานใบเล็กที่มีหูทำจากเชือกไว้หิ้วหรือสะพายไปได้เวลาเดินทาง เชื่อกันว่าตะกร้าแบบนี้จุได้ประมาณ 7.5 ลิตร—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 8:19, 20
ตะกร้าใหญ่: หรือ “กระบุง” คำกรีก สพูรีส ที่ใช้ในข้อนี้ดูเหมือนหมายถึงตะกร้าที่มีขนาดใหญ่กว่าตะกร้าที่ใช้ก่อนหน้านี้ตอนพระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 6:43) “ตะกร้า” ที่ศิษย์ของเปาโลให้เขานั่งแล้วหย่อนลงทางช่องหน้าต่างบนกำแพงเมืองดามัสกัสก็มาจากคำกรีกเดียวกันนี้—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 9:25
ตะกร้า: ในบันทึกเรื่องที่พระเยซูเลี้ยงอาหารด้วยการอัศจรรย์ 2 ครั้ง (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 6:43; 8:8, 20 และบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 14:20; 15:37; 16:9, 10) มีการใช้คำต่างกันอย่างเสมอต้นเสมอปลายเมื่อพูดถึงตะกร้าที่ใช้เก็บเศษอาหารที่เหลือ ตอนที่พระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน มีการใช้คำกรีก คอฟินอส (“ตะกร้า”) ส่วนตอนที่ท่านเลี้ยงอาหารผู้ชาย 4,000 คน มีการใช้คำกรีก สพูรีส (“ตะกร้าใหญ่”) นี่แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนบันทึกเหล่านั้นอยู่ในเหตุการณ์หรือได้ข้อมูลจากคนที่น่าเชื่อถือซึ่งอยู่ในเหตุการณ์
ตะกร้าใหญ่: หรือ “กระบุง” คำกรีก สพูรีส ที่ใช้ในข้อนี้ดูเหมือนหมายถึงตะกร้าที่มีขนาดใหญ่กว่าตะกร้าที่ใช้ก่อนหน้านี้ตอนพระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 6:43) “ตะกร้า” ที่ศิษย์ของเปาโลให้เขานั่งแล้วหย่อนลงทางช่องหน้าต่างบนกำแพงเมืองดามัสกัสก็มาจากคำกรีกเดียวกันนี้—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 9:25
ตะกร้า: ในบันทึกเรื่องที่พระเยซูเลี้ยงอาหารด้วยการอัศจรรย์ 2 ครั้ง (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 6:43; 8:8, 20 และบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 14:20; 15:37; 16:9, 10) มีการใช้คำต่างกันอย่างเสมอต้นเสมอปลายเมื่อพูดถึงตะกร้าที่ใช้เก็บเศษอาหารที่เหลือ ตอนที่พระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน มีการใช้คำกรีก คอฟินอส (“ตะกร้า”) ส่วนตอนที่ท่านเลี้ยงอาหารผู้ชาย 4,000 คน มีการใช้คำกรีก สพูรีส (“ตะกร้าใหญ่”) นี่แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนบันทึกเหล่านั้นอยู่ในเหตุการณ์หรือได้ข้อมูลจากคนที่น่าเชื่อถือซึ่งอยู่ในเหตุการณ์
ตะกร้าใหญ่: หรือ “กระบุง”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 8:8, 19
ผู้ชายตาบอดคนหนึ่ง: มาระโกเป็นผู้เขียนหนังสือข่าวดีเพียงคนเดียวที่บันทึกว่าพระเยซูรักษาผู้ชายตาบอดคนนี้—มก 8:22-26
ซีซารียาฟีลิปปี: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:13
ซีซารียาฟีลิปปี: เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณต้นน้ำของแม่น้ำจอร์แดนซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 350 เมตร เมืองนี้อยู่ห่างจากทะเลสาบกาลิลีไปทางทิศเหนือประมาณ 40 กม. และอยู่ใกล้เชิงเขาเฮอร์โมนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ฟีลิปผู้ปกครองแคว้นซึ่งเป็นลูกของเฮโรดมหาราชเป็นคนตั้งชื่อเมืองนี้เพื่อให้เกียรติกับจักรพรรดิโรมัน และเพื่อจะไม่ให้สับสนกับเมืองซีซารียาที่เป็นเมืองท่า จึงมีการเรียกเมืองนี้ว่าซีซารียาฟีลิปปี ซึ่งหมายความว่า “ซีซารียาของฟีลิป”—ดูภาคผนวก ข10
ยอห์นผู้ให้บัพติศมา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 3:1; มก 1:4
เอลียาห์: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 11:14
เอลียาห์: ชื่อภาษาฮีบรู แปลว่า “พระเจ้าของผมคือพระยะโฮวา”
ยอห์น: ตรงกับชื่อภาษาฮีบรูเยโฮฮานัน หรือโยฮานัน ซึ่งหมายความว่า “พระยะโฮวาแสดงความโปรดปราน, พระยะโฮวากรุณา”
ผู้ให้บัพติศมา: หรือ “คนจุ่ม” คำนี้ดูเหมือนเป็นฉายาของยอห์นซึ่งบอกให้รู้ว่าลักษณะเด่นของเขาคือการให้บัพติศมาด้วยการจุ่มในน้ำ โยเซฟุส ฟลาวิอุสนักประวัติศาสตร์ชาวยิวก็เคยเขียนเกี่ยวกับ “ยอห์นที่มีฉายาว่าผู้ให้บัพติศมา” ด้วย
ผู้ให้บัพติศมา: หรือ “คนจุ่ม” คำกรีก บาพทิโศ ในข้อนี้และที่ มก 6:14, 24 อาจแปลได้ว่า “คนที่ให้บัพติศมา” คำนี้เมื่ออยู่ในรูปคำนามจะเป็นคำว่า บาพทิสเทส ซึ่งอยู่ใน มก 6:25; 8:28 และที่หนังสือมัทธิวกับลูกาด้วย ถึงแม้ 2 คำนี้จะต่างกันเล็กน้อยแต่ก็มีความหมายเหมือนกัน จึงเป็นเหตุผลที่ในต้นฉบับภาษากรีกที่ มก 6:24, 25 มีการใช้ทั้งสองคำสลับกัน—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 3:1
พระคริสต์: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:16
พระคริสต์: เปโตรบอกว่าพระเยซูเป็น “พระคริสต์” (คำกรีก ฮอ ฆะริสท็อส) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความหมายเดียวกับคำว่า “เมสสิยาห์” (มาจากคำฮีบรู มาชีอัค) ทั้งสองคำแปลว่า “ผู้ถูกเจิม” แต่คำว่า “พระคริสต์” ในข้อนี้มีคำนำหน้านามที่เฉพาะเจาะจงในภาษากรีก ซึ่งดูเหมือนเป็นวิธีเน้นตำแหน่งของพระเยซูที่เป็นเมสสิยาห์—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 1:1; 2:4
ลูกมนุษย์: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 8:20
ผู้นำ: แปลตรงตัวว่า “คนสูงอายุ” คำกรีก เพร็สบูเทะรอส ที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิลมักจะหมายถึงคนที่มีตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบในชุมชนหรือในชาติ ถึงแม้คำนี้บางครั้งหมายถึงคนที่อายุมากกว่าหรือคนสูงอายุ (เช่นที่ ลก 15:25; กจ 2:17) แต่ก็มีความหมายในแง่อื่นด้วย ในข้อนี้คำว่า “ผู้นำ” หมายถึงพวกผู้นำชาวยิวซึ่งคัมภีร์ไบเบิลมักพูดถึงพวกเขาพร้อมกับพวกปุโรหิตใหญ่และครูสอนศาสนา สมาชิกศาลแซนเฮดรินก็ประกอบด้วยคนจาก 3 กลุ่มนี้—มก 11:27; 14:43, 53; 15:1; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:21 และส่วนอธิบายศัทพ์คำว่า “ผู้นำ”
ปุโรหิตใหญ่: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:4 และส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ปุโรหิตใหญ่”
ครูสอนศาสนา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:4 และส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ครูสอนศาสนา”
ครูสอนศาสนา: ตอนแรกคำนี้หมายถึงผู้คัดลอกพระคัมภีร์ แต่ในสมัยพระเยซู คำนี้หมายถึงคนที่เชี่ยวชาญและสอนเรื่องกฎหมายของโมเสส
ลูกมนุษย์: มีการใช้คำนี้ประมาณ 80 ครั้งในหนังสือข่าวดีทั้ง 4 เล่ม พระเยซูใช้คำนี้เมื่อพูดถึงตัวท่านเอง ดูเหมือนท่านใช้คำนี้เพื่อเน้นว่าท่านเป็นมนุษย์จริง ๆ ที่เกิดจากผู้หญิงและมีค่าเท่าเทียมกับอาดัม ท่านจึงสามารถไถ่มนุษย์จากบาปและความตายได้ (รม 5:12, 14, 15) คำนี้ยังทำให้รู้ว่าพระเยซูเป็นเมสสิยาห์หรือพระคริสต์ด้วย—ดนล 7:13, 14; ดูส่วนอธิบายศัพท์
ผู้นำ: แปลตรงตัวว่า “คนสูงอายุ” คำกรีก เพร็สบูเทะรอส ที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิลมักจะหมายถึงคนที่มีตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบในชุมชนหรือในชาติ ถึงแม้คำนี้บางครั้งหมายถึงคนที่อายุมากกว่าหรือคนสูงอายุ (เช่นที่ ลก 15:25; กจ 2:17) แต่ก็มีความหมายในแง่อื่นด้วย ในข้อนี้คำว่า “ผู้นำ” หมายถึงพวกผู้นำชาวยิวซึ่งคัมภีร์ไบเบิลมักพูดถึงพวกเขาพร้อมกับพวกปุโรหิตใหญ่และครูสอนศาสนา สมาชิกศาลแซนเฮดรินก็ประกอบด้วยคนจาก 3 กลุ่มนี้—มธ 21:23; 26:3, 47, 57; 27:1, 41; 28:12; ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ผู้นำ”
ปุโรหิตใหญ่: คำกรีกนี้เมื่ออยู่ในรูปเอกพจน์จะแปลว่า “มหาปุโรหิต” และหมายถึงหัวหน้าตัวแทนของประชาชนเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้า แต่ในข้อนี้คำกรีกนี้อยู่ในรูปพหูพจน์ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนสำคัญในคณะปุโรหิต รวมทั้งอดีตมหาปุโรหิต และอาจรวมถึงหัวหน้าของกลุ่มปุโรหิต 24 กลุ่มด้วย
สิ่งที่ชักจูงคนให้หลงทำผิด: เชื่อกันว่าคำกรีก สคานดาลอน ที่แปลในข้อนี้ว่า “สิ่งที่ชักจูงคนให้หลงทำผิด” แต่เดิมหมายถึงกับดัก และบางคนคิดว่าหมายถึงแท่งไม้ที่อยู่ในกับดักซึ่งมีเหยื่อล่อผูกติดอยู่ ต่อมามีการใช้คำนี้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือหมายถึงอะไรก็ตามที่เป็นสิ่งกีดขวางซึ่งทำให้คนเราสะดุดหรือล้มลง และเมื่อใช้ในความหมายเป็นนัย คำนี้หมายถึงการกระทำหรือสถานการณ์ที่ทำให้คนเราทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องด้านศีลธรรม หรือทำผิด ส่วนคำกริยา สคานดาลิโศ ซึ่งใน มธ 18:8, 9 แปลว่า “ทำให้หลงทำผิด” ยังอาจแปลได้ว่า “กลายเป็นหลุมพราง, เป็นต้นเหตุให้สะดุด”
ซาตาน: พระเยซูไม่ได้บอกว่าเปโตรเป็นมารซาตาน แต่หมายความว่าเขากำลังทำตัวเป็นผู้ต่อต้านซึ่งเป็นความหมายของคำฮีบรู ซาตาน พระเยซูอาจกำลังบอกว่าสิ่งที่เปโตรทำในตอนนั้นเป็นการยอมให้ตัวเขาเองได้รับอิทธิพลจากซาตาน
หยุดพูดได้แล้ว: แปลตรงตัวว่า “ไปอยู่ข้างหลังผม” ในบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 16:23 พระเยซูพูดอีกว่า “คุณกำลังขัดขวางผม” (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 18:7) ในข้อนี้พระเยซูตำหนิเปโตรแรงมาก ท่านไม่ยอมให้อะไรมาขัดขวางท่านไม่ให้ทำตามความต้องการของพ่อ คำพูดของพระเยซูยังเตือนเปโตรให้รู้ว่าในฐานะสาวก เขาควรสนับสนุนนายของเขา
ซาตาน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:23
ติดตามผม: หรือที่สำเนาพระคัมภีร์เก่าแก่บางฉบับใช้คำว่า “ตามผมมา”
ให้คนนั้นเลิกใช้ชีวิตเพื่อตัวเอง: หรือ “ให้คนนั้นสละสิทธิ์ทุกอย่างที่เป็นของตัวเอง” นี่แสดงว่าคนนั้นเต็มใจปฏิเสธตัวเองอย่างเด็ดขาด หรือเต็มใจยกสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของตัวเองให้กับพระเจ้า ข้อความภาษากรีกนี้อาจแปลได้ว่า “เขาต้องบอกว่าไม่กับตัวเอง” ซึ่งเป็นคำแปลที่เหมาะเพราะข้อความนี้อาจรวมถึงการไม่ทำตามความต้องการของตัวเอง ไม่ติดตามความอยากได้อยากมีหรือความสะดวกสบายของตัวเอง (2คร 5:14, 15) มาระโกใช้คำกริยากรีกเดียวกันนี้เมื่อพูดถึงเปโตรตอนที่เขาปฏิเสธว่าไม่รู้จักพระเยซู—มก 14:30, 31, 72
เสาทรมาน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:24
เสาทรมาน: หรือ “เสาประหาร” คำกรีก สเทารอส ในวรรณกรรมกรีกโบราณมักหมายถึงเสาหรือหลักที่ตั้งตรง เมื่อใช้ในความหมายเป็นนัย บางครั้งจะหมายถึงความทุกข์ ความอับอาย การทรมาน และแม้แต่ความตายที่คนเราต้องเจอเพราะเป็นสาวกของพระเยซู—ดูส่วนอธิบายศัพท์
ไม่ซื่อสัตย์: แปลตรงตัวว่า “ชอบมีชู้” คือมีชู้ในความหมายเป็นนัยซึ่งหมายถึงการไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าโดยการละเมิดสัญญาที่ทำกับพระองค์ เมื่อชาวอิสราเอลสมัยโบราณไปนมัสการศาสนาเท็จ พวกเขาก็ละเมิดสัญญาที่เกี่ยวกับกฎหมาย ซึ่งเป็นเหมือนการเล่นชู้และไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า (ยรม 3:8, 9; 5:7, 8; 9:2; 13:27; 23:10; ฮชย 7:4) พระเยซูก็ตำหนิชาวยิวในสมัยของท่านอย่างแรงด้วยเหตุผลคล้าย ๆ กัน (มธ 12:39; 16:4) ถ้าคริสเตียนที่อยู่ใต้สัญญาใหม่ทำให้ตัวเองแปดเปื้อนกับสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ ก็ถือว่าพวกเขาเล่นชู้และไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าเหมือนกัน ทุกคนที่อุทิศชีวิตให้พระยะโฮวาต้องคิดถึงเรื่องนี้ด้วย—ยก 4:4
วีดีโอและรูปภาพ
นี่เป็นภาพเหรียญทองแดงทั้ง 2 ด้าน ซึ่งเป็นเหรียญที่ใช้ในสมัยที่พระเยซูทำงานรับใช้บนโลก เฮโรดอันทีพาสผู้ปกครองแคว้นกาลิลีและพีเรียเป็นคนสั่งทำเหรียญนี้ ตอนที่พวกฟาริสีบอกพระเยซูว่าเฮโรดอยากจะฆ่าท่าน พระเยซูอาจกำลังเดินทางผ่านแคว้นพีเรียซึ่งเป็นเขตปกครองของเฮโรดเพื่อจะไปกรุงเยรูซาเล็ม ท่านจึงเรียกเฮโรดว่า “หมาจิ้งจอก” เนื่องจากประชาชนที่เฮโรดปกครองส่วนใหญ่เป็นชาวยิว เขาจึงให้มีภาพทางปาล์ม (หมายเลข 1) และพวงมาลัย (หมายเลข 2) บนเหรียญที่เขาทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ชาวยิวขุ่นเคือง