เขียนโดยมาระโก 14:1-72
เชิงอรรถ
ข้อมูลสำหรับศึกษา
ปัสกา: เทศกาลนี้ (คำกรีก พาสฆา มาจากคำฮีบรู เปสัก ซึ่งคำกริยาคือ ปาสัก หมายถึง “เว้นผ่าน, ผ่านไป”) ตั้งขึ้นในตอนเย็นและหลังจากนั้นชาติอิสราเอลก็อพยพออกจากอียิปต์ เทศกาลนี้ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงการช่วยชาวอิสราเอลให้รอดจากอียิปต์และระลึกถึงการ ‘เว้นผ่าน’ ลูกชายคนโตของพวกเขาตอนที่พระยะโฮวาประหารลูกชายคนโตของชาวอียิปต์—อพย 12:14, 24-47; ดูส่วนอธิบายศัพท์
เมื่อพระเยซูอยู่ที่หมู่บ้านเบธานี: เรื่องราวใน มก 14:3-9 ดูเหมือนเกิดขึ้นหลังจากดวงอาทิตย์ตกซึ่งเป็นตอนเริ่มต้นของวันที่ 9 เดือนนิสาน เรารู้เรื่องนี้ได้จากบันทึกเหตุการณ์เดียวกันในหนังสือยอห์นที่บอกว่าพระเยซูมาถึงหมู่บ้านเบธานี “หกวันก่อนถึงเทศกาลปัสกา” (ยน 12:1) พระเยซูคงต้องมาถึงตอนเริ่มต้น (ตอนดวงอาทิตย์ตก) ของวันที่ 8 เดือนนิสานซึ่งเป็นวันสะบาโต และในวันรุ่งขึ้นท่านก็ไปกินข้าวที่บ้านซีโมน—ยน 12:2-11; ดูภาคผนวก ก7 และข12
ไปหา: เหตุการณ์ที่พูดถึงในข้อ 10 และ 11 เกิดขึ้นในวันที่ 12 เดือนนิสานซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์ใน มก 14:1, 2—ดูภาคผนวก ก7, ข12, และข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 14:1, 3
อีก 2 วัน: เหตุการณ์ที่พูดถึงใน มก 14:1, 2 เกิดขึ้นในวันที่ 12 เดือนนิสาน เพราะข้อนี้บอกว่าอีก 2 วันจะถึงวันปัสกา (วันที่ 14 เดือนนิสาน; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:2) และเทศกาลขนมปังไม่ใส่เชื้อ (วันที่ 15-21 เดือนนิสาน; ดูส่วนอธิบายศัพท์)—ดูภาคผนวก ก7, ข12, ข15, และข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 14:3, 10
คนโรคเรื้อน: คนที่เป็นโรคผิวหนังร้ายแรงชนิดหนึ่ง คำว่าโรคเรื้อนในพระคัมภีร์มีความหมายกว้างกว่าโรคเรื้อนที่รู้จักกันในปัจจุบัน ใครก็ตามที่ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคเรื้อนจะถูกไล่ออกจากชุมชนจนกว่าเขาจะหายจากโรค—ลนต 13:2, เชิงอรรถ, 45, 46; ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “โรคเรื้อน”
ผู้หญิงคนหนึ่ง: ยน 12:3 บอกให้รู้ว่าผู้หญิงคนนี้คือมารีย์พี่น้องของมาร์ธาและลาซารัส
เธอเทน้ำมันหอมชโลมตัวผม: สิ่งที่ผู้หญิงคนนี้ทำ (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:7) แสดงถึงความใจกว้าง ความรัก และความสำนึกบุญคุณต่อพระเยซู พระเยซูบอกว่าโดยไม่รู้ตัวเธอได้เตรียมร่างกายของท่านสำหรับการฝังศพ เพราะชาวยิวมักจะใช้น้ำมันหอมและเครื่องหอมในการชโลมศพก่อนเอาไปฝัง—2พศ 16:14
เมื่อพระเยซูอยู่ที่หมู่บ้านเบธานี: เรื่องราวใน มก 14:3-9 ดูเหมือนเกิดขึ้นหลังจากดวงอาทิตย์ตกซึ่งเป็นตอนเริ่มต้นของวันที่ 9 เดือนนิสาน เรารู้เรื่องนี้ได้จากบันทึกเหตุการณ์เดียวกันในหนังสือยอห์นที่บอกว่าพระเยซูมาถึงหมู่บ้านเบธานี “หกวันก่อนถึงเทศกาลปัสกา” (ยน 12:1) พระเยซูคงต้องมาถึงตอนเริ่มต้น (ตอนดวงอาทิตย์ตก) ของวันที่ 8 เดือนนิสานซึ่งเป็นวันสะบาโต และในวันรุ่งขึ้นท่านก็ไปกินข้าวที่บ้านซีโมน—ยน 12:2-11; ดูภาคผนวก ก7 และข12
ซีโมนที่เคยเป็นโรคเรื้อน: มีการพูดถึงซีโมนคนนี้เฉพาะในข้อนี้และในบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 26:6 เป็นไปได้มากที่พระเยซูเคยรักษาเขาให้หายจากโรคเรื้อน—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 8:2 และส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “โรคเรื้อน”
ผู้หญิงคนหนึ่ง: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:7
ขวด: ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “อะลาบาสเตอร์”
น้ำมันหอม: ยอห์นบอกว่าน้ำมันหอมนี้หนักประมาณครึ่งลิตร บันทึกของมาระโกและยอห์นบอกว่ามีราคา “มากกว่า 300 เดนาริอัน” (มก 14:5; ยน 12:3-5) ซึ่งเท่ากับค่าแรงประมาณ 1 ปี เชื่อกันว่าน้ำมันหอมนี้ได้จากพืชที่มีกลิ่นหอมชนิดหนึ่ง (Nardostachys jatamansi) ซึ่งขึ้นในแถบเทือกเขาหิมาลัย มักมีการเอาน้ำมันที่ด้อยกว่ามาผสมและบางครั้งก็มีการปลอมแปลง แต่ทั้งมาระโกกับยอห์นบอกว่าน้ำมันที่ใช้กับพระเยซูนี้เป็นนารดาบริสุทธิ์—ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “นารดา”
เทน้ำมันหอมลงบนหัวของพระเยซู: ตามเรื่องราวในมัทธิวกับมาระโก ผู้หญิงคนนี้เทน้ำมันหอมลงบนหัวของพระเยซู (มธ 26:7) ยอห์นซึ่งเขียนหนังสือของเขาในอีกหลายสิบปีต่อมาเพิ่มเติมรายละเอียดว่าเธอเทน้ำมันหอมลงบนเท้าของท่านด้วย (ยน 12:3) พระเยซูบอกว่าการกระทำที่แสดงความรักนี้เป็นเหมือนการเตรียมท่านไว้สำหรับการฝังศพ—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 14:8
น้ำมันหอม: ยอห์นบอกว่าน้ำมันหอมนี้หนักประมาณครึ่งลิตร บันทึกของมาระโกและยอห์นบอกว่ามีราคา “มากกว่า 300 เดนาริอัน” (มก 14:5; ยน 12:3-5) ซึ่งเท่ากับค่าแรงประมาณ 1 ปี เชื่อกันว่าน้ำมันหอมนี้ได้จากพืชที่มีกลิ่นหอมชนิดหนึ่ง (Nardostachys jatamansi) ซึ่งขึ้นในแถบเทือกเขาหิมาลัย มักมีการเอาน้ำมันที่ด้อยกว่ามาผสมและบางครั้งก็มีการปลอมแปลง แต่ทั้งมาระโกกับยอห์นบอกว่าน้ำมันที่ใช้กับพระเยซูนี้เป็นนารดาบริสุทธิ์—ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “นารดา”
300 เดนาริอัน: บันทึกของมัทธิวบอกแค่ว่าน้ำมันนี้ถ้าขายก็คง “ได้เงินเยอะ” (มธ 26:9) แต่มาระโกกับยอห์นให้รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงกว่า—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 14:3; ส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “เดนาริอัน”; และภาคผนวก ข14
ผู้หญิงคนหนึ่ง: ยน 12:3 บอกให้รู้ว่าผู้หญิงคนนี้คือมารีย์พี่น้องของมาร์ธาและลาซารัส
เธอเทน้ำมันหอมชโลมตัวผม: สิ่งที่ผู้หญิงคนนี้ทำ (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:7) แสดงถึงความใจกว้าง ความรัก และความสำนึกบุญคุณต่อพระเยซู พระเยซูบอกว่าโดยไม่รู้ตัวเธอได้เตรียมร่างกายของท่านสำหรับการฝังศพ เพราะชาวยิวมักจะใช้น้ำมันหอมและเครื่องหอมในการชโลมศพก่อนเอาไปฝัง—2พศ 16:14
คนทุกชาติ: คำนี้แสดงให้เห็นขอบเขตของงานประกาศ ทำให้พวกสาวกรู้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ประกาศกับเพื่อนร่วมชาติชาวยิวเท่านั้น คำกรีกที่แปลว่า “ชาติ” (เอ็ธนอส) เมื่อใช้ในความหมายกว้าง ๆ จะหมายถึงกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดและใช้ภาษาเดียวกัน เชื้อชาติหรือกลุ่มคนแบบนี้มักจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีเขตแดนชัดเจน
ประกาศไปที่ไหนในโลก: คล้ายกับคำพยากรณ์ของพระเยซูที่ มก 13:10 ในข้อนี้ท่านบอกล่วงหน้าว่าจะมีการประกาศข่าวดีไปทั่วโลกและข่าวดีนี้รวมถึงสิ่งที่ผู้หญิงคนนี้ทำ พระเจ้าดลใจให้ผู้เขียนหนังสือข่าวดี 3 คนบันทึกเหตุการณ์นี้—มธ 26:12, 13; ยน 12:7; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 13:10
อิสคาริโอท: อาจมีความหมายว่า “คนที่มาจากเคริโอท” ซีโมนพ่อของยูดาสก็ถูกเรียกว่า “อิสคาริโอท” ด้วย (ยน 6:71) เชื่อกันว่าคำนี้บอกให้รู้ว่าซีโมนและยูดาสมาจากเมืองเคริโอทเฮสโรนที่อยู่ในแคว้นยูเดีย (ยชว 15:25) ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ยูดาสก็เป็นอัครสาวกคนเดียวในจำนวน 12 คนที่มาจากแคว้นยูเดีย ส่วนที่เหลือมาจากแคว้นกาลิลี
อีก 2 วัน: เหตุการณ์ที่พูดถึงใน มก 14:1, 2 เกิดขึ้นในวันที่ 12 เดือนนิสาน เพราะข้อนี้บอกว่าอีก 2 วันจะถึงวันปัสกา (วันที่ 14 เดือนนิสาน; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:2) และเทศกาลขนมปังไม่ใส่เชื้อ (วันที่ 15-21 เดือนนิสาน; ดูส่วนอธิบายศัพท์)—ดูภาคผนวก ก7, ข12, ข15, และข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 14:3, 10
เมื่อพระเยซูอยู่ที่หมู่บ้านเบธานี: เรื่องราวใน มก 14:3-9 ดูเหมือนเกิดขึ้นหลังจากดวงอาทิตย์ตกซึ่งเป็นตอนเริ่มต้นของวันที่ 9 เดือนนิสาน เรารู้เรื่องนี้ได้จากบันทึกเหตุการณ์เดียวกันในหนังสือยอห์นที่บอกว่าพระเยซูมาถึงหมู่บ้านเบธานี “หกวันก่อนถึงเทศกาลปัสกา” (ยน 12:1) พระเยซูคงต้องมาถึงตอนเริ่มต้น (ตอนดวงอาทิตย์ตก) ของวันที่ 8 เดือนนิสานซึ่งเป็นวันสะบาโต และในวันรุ่งขึ้นท่านก็ไปกินข้าวที่บ้านซีโมน—ยน 12:2-11; ดูภาคผนวก ก7 และข12
อิสคาริโอท: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 10:4
ไปหา: เหตุการณ์ที่พูดถึงในข้อ 10 และ 11 เกิดขึ้นในวันที่ 12 เดือนนิสานซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์ใน มก 14:1, 2—ดูภาคผนวก ก7, ข12, และข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 14:1, 3
เงิน: หมายถึงโลหะเงินที่ใช้เป็นเงินตรา จาก มธ 26:15 เงินนี้มีจำนวน “30 เหรียญ” มัทธิวเป็นผู้เขียนหนังสือข่าวดีคนเดียวที่พูดถึงจำนวนเงินที่พระเยซูถูกขายโดยผู้ทรยศ นี่น่าจะเป็นเหรียญเงินที่ทำจากเมืองไทระซึ่งมีน้ำหนัก 30 เชเขล จำนวนเงินนี้แสดงให้เห็นว่าพวกปุโรหิตใหญ่ดูถูกพระเยซู เพราะตามกฎหมายของโมเสสเงินจำนวนนี้เท่ากับค่าตัวทาสคนหนึ่ง (อพย 21:32) เหมือนกับตอนที่เศคาริยาห์ไปขอค่าจ้างในการพยากรณ์จากชาวอิสราเอลที่ไม่ซื่อสัตย์ พวกเขาก็ชั่งเงินให้เศคาริยาห์ “30 เชเขล” ทำให้เห็นว่าพวกเขามองเศคาริยาห์ไม่ต่างอะไรกับทาสคนหนึ่งเท่านั้น—ศคย 11:12, 13
ในวันแรกของเทศกาลขนมปังไม่ใส่เชื้อ: เทศกาลขนมปังไม่ใส่เชื้อเริ่มวันที่ 15 เดือนนิสาน ซึ่งก็คือ 1 วันหลังจากปัสกา (14 เดือนนิสาน) และเทศกาลนี้จะฉลองนาน 7 วัน (ดูภาคผนวก ข15) แต่ในสมัยของพระเยซู การฉลองปัสกามีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับเทศกาลนี้ จนทำให้บางครั้งผู้คนมองว่า “เทศกาลขนมปังไม่ใส่เชื้อ” มีทั้งหมด 8 วันเพราะรวมวันที่ 14 เดือนนิสานซึ่งเป็นวันปัสกาเข้าไปด้วย (ลก 22:1) นอกจากนั้นในท้องเรื่องนี้ คำว่า “ในวันแรกของ” อาจแปลได้ว่า “หนึ่งวันก่อน” (เทียบกับ ยน 1:15, 30 ซึ่งมีรูปประโยคคล้ายกันและใช้คำกรีกเดียวกัน ในมัทธิวแปลคำกรีก โพรท็อส ว่า “แรก” แต่ในยอห์นแปลว่า “ก่อน” ในประโยคที่บอกว่า “ท่านมีชีวิตอยู่ก่อน [โพรท็อส] ผม”) ดังนั้น ทั้งธรรมเนียมของชาวยิวและคำภาษากรีกทำให้เข้าใจได้ว่าสาวกน่าจะถามพระเยซูในวันที่ 13 เดือนนิสาน และตอนกลางวันของวันที่ 13 พวกเขาก็เตรียมการฉลองปัสกา แล้วเริ่มฉลองใน “ตอนค่ำ” ซึ่งเป็นตอนเริ่มต้นวันที่ 14 เดือนนิสาน—มก 14:16, 17
ในวันแรกของเทศกาลขนมปังไม่ใส่เชื้อ: เทศกาลขนมปังไม่ใส่เชื้อเริ่มวันที่ 15 เดือนนิสาน ซึ่งก็คือ 1 วันหลังจากปัสกา (14 เดือนนิสาน) และเทศกาลนี้จะฉลองนาน 7 วัน (ดูภาคผนวก ข15) แต่ในสมัยของพระเยซู การฉลองปัสกามีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับเทศกาลนี้ จนทำให้บางครั้งผู้คนมองว่า “เทศกาลขนมปังไม่ใส่เชื้อ” มีทั้งหมด 8 วันเพราะรวมวันที่ 14 เดือนนิสานซึ่งเป็นวันปัสกาเข้าไปด้วย (ลก 22:1) วันที่พูดถึงในข้อนี้คือวันที่ 14 เดือนนิสาน เพราะข้อนี้บอกว่าเป็นวันที่มีธรรมเนียมที่จะถวายสัตว์สำหรับปัสกา (อพย 12:6, 15, 17, 18; ลนต 23:5; ฉธบ 16:1-8) เหตุการณ์ที่บันทึกในข้อ 12-16 น่าจะเกิดขึ้นตอนบ่ายของวันที่ 13 ที่มีการเตรียมฉลองปัสกา และเริ่มฉลองใน “ตอนค่ำ” ซึ่งเป็นตอนเริ่มต้นวันที่ 14 เดือนนิสาน—มก 14:17, 18; ดูภาคผนวก ข12 และข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:17
ตอนค่ำ: คือตอนค่ำซึ่งเป็นเวลาเริ่มต้นของวันที่ 14 เดือนนิสาน—ดูภาคผนวก ก7 และข12
จิ้มในชามใบเดียวกับผม: ปกติแล้วผู้คนจะกินอาหารด้วยมือหรือเอาขนมปังมาใช้เป็นช้อน คำพูดนี้อาจเป็นสำนวนหมายถึง “กินอาหารด้วยกัน” การกินอาหารกับใครคนหนึ่งหมายถึงการสนิทกับคนนั้น ดังนั้น การหักหลังคนที่เป็นเพื่อนสนิทแบบนี้เป็นการทรยศที่เลวร้ายที่สุด—สด 41:9; ยน 13:18
หยิบขนมปังแผ่นหนึ่ง . . . หัก: ขนมปังที่กินกันตามปกติในประเทศแถบตะวันออกกลางสมัยโบราณจะเป็นแผ่นบาง และถ้าไม่ใส่เชื้อก็จะหักได้ง่าย การที่พระเยซูหักขนมปังไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ นี่เป็นวิธีแบ่งขนมปังตามปกติ—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 14:19
หมายถึง: คำกรีก เอ็สทิน (มีความหมายตรงตัวว่า “คือ”) แต่ในข้อนี้มีความหมายว่า “หมายถึง, แปลว่า, เป็นสัญลักษณ์หมายถึง” พวกอัครสาวกเข้าใจความหมายคำพูดนี้ของพระเยซูได้ชัดเจน เพราะในตอนนั้นร่างกายที่สมบูรณ์แบบของพระเยซูอยู่ตรงหน้าพวกเขา และพวกเขาก็กำลังจะกินขนมปังไม่ใส่เชื้อด้วย ดังนั้น ขนมปังจะต้องไม่ใช่ร่างกายจริง ๆ ของพระเยซู น่าสังเกตว่ามีการใช้คำกรีกเดียวกันนี้ที่ มธ 12:7 และคัมภีร์ไบเบิลหลายฉบับแปลคำนั้นว่า “ความหมาย”
หยิบขนมปังแผ่นหนึ่ง . . . หัก: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:26
อธิษฐานขอบคุณ: แปลตรงตัวว่า “กล่าวอวยพร” คำนี้น่าจะหมายถึงการอธิษฐานเพื่อขอบคุณและสรรเสริญพระเจ้า
หมายถึง: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:26
เลือดที่ทำให้สัญญามีผลบังคับใช้: สัญญาใหม่เป็นสัญญาระหว่างพระยะโฮวากับคริสเตียนผู้ถูกเจิม เครื่องบูชาของพระเยซูทำให้สัญญานี้มีผลบังคับใช้ (ฮบ 8:10) ในข้อนี้ พระเยซูใช้คำเดียวกับที่โมเสสใช้ตอนที่เขาทำหน้าที่คนกลางและตั้งสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายที่ภูเขาซีนาย (อพย 24:8; ฮบ 9:19-21) เช่นเดียวกับเลือดของวัวและแพะที่ทำให้สัญญาเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างพระเจ้ากับชาวอิสราเอลมีผลบังคับใช้ เลือดของพระเยซูก็ทำให้สัญญาใหม่ระหว่างพระยะโฮวากับอิสราเอลของพระเจ้ามีผลบังคับใช้ในวันเพ็นเทคอสต์ ปี ค.ศ. 33—ฮบ 9:14, 15
เลือดที่ทำให้สัญญามีผลบังคับใช้: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:28
ดื่มเหล้าองุ่นใหม่: ในพระคัมภีร์ บางครั้งเหล้าองุ่นเป็นสัญลักษณ์ของความสุข—สด 104:15; ปญจ 10:19
ดื่มเหล้าองุ่นใหม่: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:29
ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า: หรือ “ร้องเพลงสดุดี” คำสอนสืบปากของชาวยิวบอกว่ามีการร้องเพลงฮัลเลล 2 บทแรกในช่วงการกินปัสกา (113, 114) และมีการร้อง 4 บทสุดท้ายในตอนจบ (115-118) เพลงฮัลเลลบทสุดท้ายคือ สด 118 มีคำพยากรณ์บางส่วนที่พูดถึงเมสสิยาห์ เพลงบทนี้เริ่มและจบด้วยประโยคที่บอกว่า “ขอให้ขอบคุณพระยะโฮวาเพราะพระองค์ดีจริง ๆ พระองค์มีความรักที่มั่นคงตลอดไป” (สด 118:1, 29) นี่อาจเป็นเพลงสรรเสริญสุดท้ายที่พระเยซูร้องกับอัครสาวกที่ซื่อสัตย์ในคืนก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต
ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:30
ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น: แปลตรงตัวว่า “ตอนไก่ขัน” นี่เป็นชื่อที่ใช้เรียกช่วงที่ 3 ของเวลากลางคืนตามการแบ่งเวลาแบบกรีกและโรมัน คือตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงประมาณตี 3 (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาก่อนหน้านี้) น่าจะเป็นช่วงเวลานี้เองที่ “ไก่ขัน” (มก 14:72) คนทั่วไปในดินแดนฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยอมรับกันมานานแล้วว่าเสียงไก่ขันเป็นเครื่องบอกเวลาอย่างหนึ่ง—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:34; มก 14:30, 72
ก่อนไก่ขัน: หนังสือข่าวดีทั้ง 4 เล่มมีข้อความนี้ แต่เฉพาะเรื่องราวในมาระโกเพิ่มรายละเอียดว่าไก่ขัน 2 ครั้ง (มธ 26:34, 74, 75; มก 14:72; ลก 22:34, 60, 61; ยน 13:38; 18:27) หนังสือมิชนาห์บอกว่ามีการเลี้ยงไก่ในกรุงเยรูซาเล็มสมัยพระเยซูซึ่งเป็นการสนับสนุนบันทึกนี้ในคัมภีร์ไบเบิล ไก่ที่พูดถึงในข้อนี้น่าจะขันก่อนเช้ามืด—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 13:35
เกทเสมนี: สวนนี้น่าจะอยู่บนภูเขามะกอก ซึ่งถ้าเดินทางจากกรุงเยรูซาเล็มจะต้องข้ามหุบเขาขิดโรนก่อน ดูเหมือนว่าสวนนี้มีเครื่องหีบน้ำมันมะกอกอยู่ด้วยเพราะชื่อสวนนี้มาจากคำภาษาฮีบรูหรืออาราเมอิก (กัทเชมาเนห์) ที่แปลว่า “เครื่องหีบน้ำมัน” แม้ไม่มีใครรู้ว่าสวนนี้อยู่ที่ไหนจริง ๆ แต่คำสอนหนึ่งของชาวยิวพูดถึงเกทเสมนีว่าเป็นสวนที่อยู่ตรงทางแยกด้านตะวันตกของเชิงเขามะกอก—ดูภาคผนวก ข12
เกทเสมนี: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:36
ผม: หรือ “จิตวิญญาณของผม, ใจของผม” คำกรีก พะซูเฆ ในข้อนี้ พระคัมภีร์หลายฉบับมักแปลว่า “จิตวิญญาณ, ใจ” จริง ๆ แล้วคำนี้หมายถึงตัวตนทั้งหมดของคนหนึ่ง ดังนั้น จึงอาจแปลได้ว่า “ตัวตนทั้งหมดของผม” หรือแค่ “ผม”
เฝ้าระวังอยู่เสมอ: คำกรีกนี้มีความหมายหลักว่า “ตื่นตัวอยู่เสมอ” แต่ในหลายท้องเรื่องก็อาจแปลได้ว่า “ระวังให้ดี, เฝ้าระวัง” มัทธิวใช้คำนี้ที่ มธ 24:43; 25:13; 26:38, 40, 41 และที่ มธ 24:44 เขาเชื่อมโยงคำนี้กับความจำเป็นที่ต้อง “เตรียมพร้อม”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:38
เฝ้าระวังอยู่เสมอ: แปลตรงตัวว่า “ตื่นตัวอยู่เสมอ” การกระตุ้นให้ตื่นตัวอยู่เสมอทางด้านความเชื่อเป็นจุดสำคัญในตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องหญิงสาวบริสุทธิ์ 10 คน—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 24:42; 26:38
เฝ้าระวังอยู่เสมอ: คำกรีกนี้มีความหมายหลักว่า “ตื่นตัวอยู่เสมอ” แต่ในหลายท้องเรื่องก็อาจแปลได้ว่า “ระวังให้ดี, เฝ้าระวัง” มาระโกยังใช้คำนี้ที่ มก 13:34, 37; 14:34, 37, 38 ด้วย—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 24:42; 26:38; มก 14:34
ผม: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:38
คอยเฝ้าระวังไว้: แปลตรงตัวว่า “ตื่นตัวอยู่เสมอ” ก่อนหน้านี้พระเยซูเน้นว่าพวกสาวกต้องตื่นตัวทางความเชื่อเพราะพวกเขาไม่รู้ว่าวันเวลาที่ท่านจะมาคือเมื่อไร (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 24:42; 25:13; มก 13:35) ในข้อนี้และที่ มก 14:38 พระเยซูกระตุ้นเตือนอีกโดยเชื่อมโยงการตื่นตัวทางความเชื่อกับการอธิษฐานอยู่เรื่อย ๆ คำกระตุ้นเตือนคล้ายกันนี้มีอยู่ตลอดในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก แสดงให้เห็นว่าการตื่นตัวทางความเชื่อเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคริสเตียนแท้—1คร 16:13; คส 4:2; 1ธส 5:6; 1ปต 5:8; วว 16:15
คุกเข่า: หรือ “ทรุดตัวลงกับพื้น” บันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 26:39 บอกว่าพระเยซู “ซบหน้าลง” คัมภีร์ไบเบิลพูดถึงท่าทางตอนอธิษฐานหลายแบบรวมถึงการยืนและคุกเข่าด้วย แต่คนที่อธิษฐานด้วยความรู้สึกที่แรงกล้ามาก ๆ อาจถึงกับนอนเหยียดยาวและซบหน้าลงกับพื้น
ดื่มจากถ้วย: ในคัมภีร์ไบเบิล คำว่า “ถ้วย” มักใช้ในความหมายเป็นนัยหมายถึงความต้องการของพระเจ้า หรือ “ส่วนแบ่งที่ให้” กับคนหนึ่ง (สด 11:6; 16:5; 23:5) การ “ดื่มจากถ้วย” ในข้อนี้หมายถึงการยอมทำตามความต้องการของพระเจ้า สำหรับพระเยซู “ถ้วย” ไม่ได้หมายถึงการที่ท่านต้องทนทุกข์และตายเพราะถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทพระเจ้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการที่ท่านถูกปลุกให้ฟื้นขึ้นจากตายและมีชีวิตอมตะในสวรรค์อีกด้วย
อับบา: คำฮีบรูหรืออาราเมอิก (ทับศัพท์เป็นภาษากรีก) มีอยู่ 3 ครั้งในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก (รม 8:15; กท 4:6) คำนี้แปลตรงตัวว่า “พ่อ” เป็นคำที่ผสมกันระหว่างคำว่า “ปะป๊า” ที่แสดงถึงความสนิทสนมกับคำว่า “คุณพ่อ” ที่แสดงถึงความนับถือ ดังนั้น คำว่า “อับบา” จึงเป็นคำเรียกที่ไม่เป็นทางการแต่ก็ยังแสดงถึงความเคารพนับถือ คำนี้เป็นคำแรก ๆ ที่เด็กหัดพูด แต่ในข้อเขียนภาษาฮีบรูและอาราเมอิกที่เก่าแก่มีการใช้คำนี้เมื่อลูกชายที่โตแล้วเรียกพ่อของเขาด้วย ดังนั้น คำนี้ไม่ใช่ตำแหน่ง แต่เป็นคำเรียกที่แสดงถึงความรัก การที่พระเยซูใช้คำนี้แสดงว่าท่านใกล้ชิดและไว้ใจพ่อของท่านมาก
พ่อครับ: คำว่า อับบา ทั้ง 3 ครั้งจะตามด้วยคำที่แปลจากคำกรีก ฮอ พาเทร์ ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า “พ่อ” หรือ “พ่อครับ”
ขอให้ถ้วยนี้ผ่านพ้นไปจากผม: ในคัมภีร์ไบเบิล คำว่า “ถ้วย” มักใช้ในความหมายเป็นนัยหมายถึงความต้องการของพระเจ้า หรือ “ส่วนแบ่งที่ให้” กับคนหนึ่ง (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 20:22) พระเยซูคงต้องเป็นห่วงมากที่การตายของท่านในข้อหาหมิ่นประมาทและปลุกระดมจะทำให้ชื่อของพระเจ้าเสื่อมเสีย ความรู้สึกนี้กระตุ้นพระเยซูให้อธิษฐานขอให้ “ถ้วย” นี้ผ่านพ้นไปจากท่าน
ใจ: ในที่นี้หมายถึงแรงกระตุ้นที่มาจากหัวใจซึ่งกระตุ้นให้คนเราพูดหรือทำบางอย่าง—ดูส่วนอธิบายศัพท์
ร่างกาย: แปลตรงตัวว่า “เนื้อหนัง” คัมภีร์ไบเบิลมักใช้คำนี้เพื่อหมายถึงมนุษย์ไม่สมบูรณ์ที่มีบาป
ใจ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:41
ร่างกาย: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:41
ง่วงมาก: เป็นสำนวนกรีกที่มีความหมายตรงตัวว่า “ตาหนักมาก” ซึ่งอาจแปลได้อีกว่า “ลืมตาไม่ขึ้น”
จูบท่านอย่างนุ่มนวล: คำกริยากรีกที่แปลว่า “จูบอย่างนุ่มนวล” ในข้อนี้อยู่ในรูปคำที่แสดงความรู้สึกมากกว่าคำว่า “จูบ” ใน มก 14:44 การที่ยูดาสทักทายพระเยซูอย่างอบอุ่นและเป็นมิตรแบบนี้ แสดงว่าเขาเป็นคนหลอกลวงและเสแสร้งอย่างมาก
ฟันทาสของมหาปุโรหิต: เหตุการณ์นี้มีบันทึกอยู่ในหนังสือข่าวดีทั้ง 4 เล่ม และบันทึกทั้งหมดก็ให้ข้อมูลที่เสริมกัน (มธ 26:51; มก 14:47; ลก 22:50) ลูกาซึ่งเป็น “หมอที่พี่น้องรัก” (คส 4:14) เป็นคนเดียวที่บอกว่าพระเยซู “แตะใบหูของคนนั้นและเขาก็หาย” (ลก 22:51) ส่วนยอห์นก็เป็นผู้เขียนหนังสือข่าวดีคนเดียวที่บอกว่าซีโมนเปโตรเป็นคนชักดาบขึ้นมาฟันทาสคนนั้นที่ชื่อมัลคัสจนหูขาด ดูเหมือนว่ายอห์นคือสาวกที่ “รู้จักกับมหาปุโรหิต” และคนในบ้านของเขา (ยน 18:15, 16) จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เขาจะบอกได้ว่าทาสคนที่บาดเจ็บชื่ออะไร บันทึกใน ยน 18:26 ก็ทำให้เห็นด้วยว่ายอห์นคุ้นเคยกับคนในบ้านของมหาปุโรหิตเป็นอย่างดี เพราะในข้อนั้นยอห์นบันทึกว่าทาสที่บอกว่าเปโตรเป็นสาวกของพระเยซูเป็น “ญาติกับคนที่ถูกเปโตรฟันหูขาด”
สาวกคนหนึ่งที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ: บันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ ยน 18:10 แสดงให้เห็นว่าซีโมนเปโตรเป็นคนชักดาบและทาสของมหาปุโรหิตมีชื่อว่ามัลคัส บันทึกของลูกา (22:50) และยอห์น (18:10) ให้รายละเอียดเพิ่มเติมด้วยว่าหูที่ขาดคือ “หูขวา”
ฟันทาสของมหาปุโรหิต: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 18:10
มาระโก: มาจากคำละติน มาร์คัส (Marcus) มาระโกเป็นนามสกุลโรมันของ “ยอห์น” ที่พูดถึงใน กจ 12:12 แม่ของเขาชื่อมารีย์เป็นสาวกรุ่นแรกที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม ยอห์น มาระโกเป็น “ลูกพี่ลูกน้องของบาร์นาบัส” (คส 4:10) พวกเขามักเดินทางไปด้วยกัน มาระโกยังเดินทางกับเปาโลและมิชชันนารีคริสเตียนคนอื่น ๆ ในยุคแรกด้วย (กจ 12:25; 13:5, 13; 2ทธ 4:11) ถึงแม้ไม่มีที่ไหนในหนังสือข่าวดีนี้บอกว่าใครเป็นคนเขียน แต่พวกนักเขียนในศตวรรษที่ 2 และ 3 ลงความเห็นว่ามาระโกเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มนี้
ชายหนุ่มคนหนึ่ง: มาระโกเป็นคนเดียวที่บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในข้อ 51 และ 52 ชายหนุ่มนี้อาจหมายถึงตัวมาระโกเอง ถ้าเป็นอย่างนั้นก็แสดงว่ามาระโกเคยเจอกับพระเยซูบ้าง—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ชื่อหนังสือมาระโก
ไม่มีเสื้อผ้าใส่: คำกรีก กูมน็อส อาจมีความหมายว่า “ใส่เสื้อผ้าน้อย, ใส่แต่เสื้อตัวใน”—ยก 2:15
สลัดเสื้อคลุมทิ้ง: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 25:36
มหาปุโรหิต: ตอนที่ชาติอิสราเอลเป็นเอกราช มหาปุโรหิตจะอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต (กดว 35:25) แต่ตอนที่ชาติอิสราเอลอยู่ภายใต้การปกครองของโรม ผู้ปกครองที่ได้รับอำนาจจากโรมมีสิทธิ์แต่งตั้งหรือปลดมหาปุโรหิตได้ มหาปุโรหิตที่เป็นหัวหน้าในการพิจารณาคดีพระเยซูคือเคยาฟาส (มธ 26:3, 57) เคยาฟาสมีความสามารถด้านการทูต เขาอยู่ในตำแหน่งมหาปุโรหิตนานกว่าคนอื่น ๆ ก่อนหน้าเขา เคยาฟาสได้รับการแต่งตั้งประมาณปี ค.ศ. 18 และดำรงตำแหน่งจนถึงประมาณปี ค.ศ. 36—ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “มหาปุโรหิต,” และภาคผนวก ข12 เพื่อจะเห็นตำแหน่งที่น่าจะเป็นบ้านของเคยาฟาส
ศาลแซนเฮดริน: คือศาลสูงของชาวยิวในกรุงเยรูซาเล็ม คำกรีกที่แปลว่า “แซนเฮดริน” (ซูนเอ็ดริออน ) มีความหมายตรงตัวว่า “นั่งลงกับ” แม้มีการใช้คำนี้ในความหมายทั่ว ๆ ไปเพื่อหมายถึงที่ประชุมหรือการประชุม แต่ในอิสราเอลคำนี้อาจหมายถึงคณะผู้พิพากษาหรือศาลที่ตัดสินคดีทางศาสนา—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 5:22 และส่วนอธิบายศัพท์; ดูภาคผนวก ข12 เพื่อจะเห็นตำแหน่งที่น่าจะเป็นศาลแซนเฮดริน
ศาลแซนเฮดริน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:59
คำให้การของพวกเขา . . . ไม่ตรงกัน: มาระโกเป็นผู้เขียนหนังสือข่าวดีเพียงคนเดียวที่บอกว่าพวกพยานเท็จที่กล่าวหาพระเยซูให้การไม่ตรงกัน
พระคริสต์: ในข้อนี้ ตำแหน่ง “พระคริสต์” ที่แปลว่า “ผู้ถูกเจิม” ในภาษากรีกมีคำนำหน้านามที่เฉพาะเจาะจง นี่เป็นวิธีระบุว่าพระเยซูเป็นเมสสิยาห์ที่พระเจ้าสัญญาไว้ ท่านได้รับการเจิมเพื่อแต่งตั้งให้มีบทบาทพิเศษ—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 1:1; 2:4
พระคริสต์: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 11:2
ข้างขวาของพระองค์ผู้มีฤทธิ์อำนาจ: การอยู่ข้างขวาของผู้มีอำนาจหมายถึงการมีความสำคัญเป็นที่สองรองจากผู้นั้น (สด 110:1; กจ 7:55, 56) บันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ ลก 22:69 ใช้สำนวนคล้าย ๆ กันว่า “ข้างขวาของพระเจ้าผู้มีฤทธิ์อำนาจ” สำนวนทั้งสองนี้อาจแสดงด้วยว่าพระเยซูจะได้รับฤทธิ์อำนาจเพราะท่านอยู่ข้างขวาของพระเจ้า
ข้างขวาของพระองค์ผู้มีฤทธิ์อำนาจ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:64
ฉีกเสื้อ: เป็นท่าทางแสดงความโกรธ ดูเหมือนเคยาฟาสจะฉีกเสื้อด้านบนที่เป็นส่วนอกของเขาเพื่อโชว์ว่าเขาเป็นคนดีและโกรธมากที่พระเยซูพูดอย่างนั้น
ทายมาสิว่าใครตบ?: คำกรีกที่แปลว่า “ทาย” แปลตรงตัวว่า “พยากรณ์” ถึงอย่างนั้นในข้อนี้คำนี้ไม่ได้หมายถึงการทำนาย แต่หมายถึงการบอกว่าใครเป็นคนตบโดยอาศัยการเปิดเผยจากพระเจ้า ในบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มก 14:65 และ ลก 22:64 แสดงให้เห็นว่าคนที่สอบสวนพระเยซูปิดหน้าท่านไว้ นี่ทำให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาถึงท้าให้พระเยซูทายว่าใครเป็นคนตบท่าน
ทายมาสิ: คำกรีกที่แปลว่า “ทาย” แปลตรงตัวว่า “พยากรณ์” ถึงอย่างนั้นในข้อนี้คำนี้ไม่ได้หมายถึงการทำนาย แต่หมายถึงพูดออกมาโดยอาศัยการเปิดเผยจากพระเจ้า เนื่องจากข้อนี้บอกว่าคนที่สอบสวนพระเยซูปิดหน้าท่านไว้ คำพูดของพวกเขาจึงเป็นการท้าให้พระเยซูที่ถูกปิดตาอยู่ทายว่าใครเป็นคนตบท่าน—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:68
ทายสิว่าใครทำ: คำกรีกที่แปลว่า “ทาย” แปลตรงตัวว่า “พยากรณ์” ถึงอย่างนั้นในข้อนี้คำนี้ไม่ได้หมายถึงการทำนาย แต่หมายถึงการบอกว่าใครเป็นคนตบโดยอาศัยการเปิดเผยจากพระเจ้า จากท้องเรื่องแสดงให้เห็นว่าคนที่สอบสวนพระเยซูปิดหน้าท่านไว้ และบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 26:68 ทำให้รู้ว่าคำพูดเยาะเย้ยของพวกเขาแบบเต็มประโยคคือ “ไหนพระคริสต์ ทายมาสิว่าใครตบ?” ซึ่งเป็นการท้าให้พระเยซูที่ถูกปิดตาอยู่ทายว่าใครเป็นคนตบท่าน—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:68; ลก 22:64
ซุ้มประตูทางเข้า: แปลตรงตัวว่า “ประตู” แต่บันทึกในมาระโกใช้คำกรีกที่อาจหมายถึง “ทางเข้า” หรือ “โถงทางเข้า” ซึ่งแสดงว่าข้อนี้ไม่ได้พูดถึงประตูธรรมดาทั่วไป (มก 14:68) ดูเหมือนว่าประตูนี้คือซุ้มทางเดินที่มีหลังคาซึ่งเชื่อมจากลานบ้านไปจนถึงประตูด้านหน้าที่ติดกับถนน
โถงทางเข้า: หรือ “ทางเข้า”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:71
สาบาน: ด้วยความกลัว เปโตรพยายามทำให้คนที่นั่นเชื่อว่าเขาพูดความจริง การที่เปโตรสาบานแบบนี้เขาก็กำลังยืนยันว่าคำพูดของเขาเป็นความจริงและถ้าเขาโกหกก็ขอให้เจอกับเรื่องร้าย ๆ
สาบาน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:74
ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น: แปลตรงตัวว่า “ตอนไก่ขัน” นี่เป็นชื่อที่ใช้เรียกช่วงที่ 3 ของเวลากลางคืนตามการแบ่งเวลาแบบกรีกและโรมัน คือตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงประมาณตี 3 (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาก่อนหน้านี้) น่าจะเป็นช่วงเวลานี้เองที่ “ไก่ขัน” (มก 14:72) คนทั่วไปในดินแดนฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยอมรับกันมานานแล้วว่าเสียงไก่ขันเป็นเครื่องบอกเวลาอย่างหนึ่ง—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:34; มก 14:30, 72
ไก่ขัน: หนังสือข่าวดีทั้ง 4 เล่มพูดถึงเหตุการณ์นี้ แต่เฉพาะมาระโกเท่านั้นที่บอกว่าไก่ขันเป็นครั้งที่สอง (มธ 26:34, 74, 75; มก 14:30; ลก 22:34, 60, 61; ยน 13:38; 18:27) หนังสือมิชนาห์บอกว่ามีการเลี้ยงไก่ในกรุงเยรูซาเล็มสมัยพระเยซูซึ่งเป็นการสนับสนุนบันทึกนี้ในคัมภีร์ไบเบิล ไก่ที่พูดถึงในข้อนี้น่าจะขันก่อนเช้ามืด—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 13:35
วีดีโอและรูปภาพ

แต่เดิมขวดใส่น้ำหอมเล็ก ๆ คล้ายแจกันนี้ทำมาจากหินที่พบใกล้เมืองอะลาบาสตรอนในอียิปต์ ต่อมามีการเรียกหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตที่เอามาทำขวดใส่น้ำหอมว่าอะลาบาสตรอนด้วย ขวดที่เห็นในภาพถูกพบในอียิปต์ ซึ่งทำขึ้นระหว่างปี 150 ก่อน ค.ศ. ถึงปี ค.ศ. 100 มีการทำขวดคล้าย ๆ กันจากวัสดุที่มีราคาถูกกว่า เช่น ยิปซัม และเรียกว่าขวดอะลาบาสเตอร์ด้วยเพราะใช้ใส่น้ำหอมเหมือนกัน แต่ขวดอะลาบาสเตอร์แท้จะเอาไว้ใส่น้ำมันหอมและน้ำหอมราคาแพงเท่านั้น เช่น น้ำมันหอมที่มีคนมาเทลงบนพระเยซู 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งที่บ้านฟาริสีในกาลิลี และอีกครั้งหนึ่งที่บ้านซีโมนที่เคยเป็นโรคเรื้อนในหมู่บ้านเบธานี

ส่วนสำคัญในมื้ออาหารปัสกาคือ ลูกแกะย่าง (ต้องไม่ถูกทุบกระดูก) (หมายเลข 1) ขนมปังไม่ใส่เชื้อ (หมายเลข 2) และผักที่มีรสขม (หมายเลข 3) (อพย 12:5, 8; กดว 9:11) ตามที่บอกในหนังสือมิชนาห์ ผักที่มีรสขมอาจเป็นผักกาดหอม ชิโครี ผักแว่น เอนไดว์ หรือแดนดิไลออน ดูเหมือนว่าผักเหล่านี้เตือนใจชาวอิสราเอลให้นึกถึงชีวิตที่ขมขื่นตอนเป็นทาสในอียิปต์ พระเยซูใช้ขนมปังไม่ใส่เชื้อเป็นสัญลักษณ์หมายถึงร่างกายมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบของท่าน (มธ 26:26) และอัครสาวกเปาโลเรียกพระเยซูว่า “ลูกแกะปัสกาของเรา” (1คร 5:7) พอถึงศตวรรษแรกก็มีการเสิร์ฟเหล้าองุ่น (หมายเลข 4) ในมื้ออาหารปัสกาด้วย พระเยซูใช้เหล้าองุ่นเป็นสัญลักษณ์หมายถึงเลือดของท่านที่จะต้องสละเป็นเครื่องบูชา—มธ 26:27, 28

บ้านบางหลังในอิสราเอลมีห้องชั้นบน คนที่จะขึ้นไปห้องชั้นบนอาจใช้บันไดพาดหรือบันไดไม้ที่อยู่ในบ้าน หรือเขาอาจใช้บันไดหินหรือบันไดพาดที่อยู่นอกตัวบ้าน ในห้องชั้นบนขนาดใหญ่ซึ่งอาจคล้ายกับในรูปนี้ พระเยซูได้ฉลองปัสกาครั้งสุดท้ายกับพวกสาวกและตั้งการฉลองอาหารมื้อเย็นของพระคริสต์ (ลก 22:12, 19, 20) ในวันเพ็นเทคอสต์ปี ค.ศ. 33 สาวกประมาณ 120 คนก็น่าจะอยู่ในห้องชั้นบนของบ้านหลังหนึ่งในกรุงเยรูซาเล็มตอนที่พระเจ้าเทพลังบริสุทธิ์ลงมาบนพวกเขา—กจ 1:15; 2:1-4

มีการปลูกต้นองุ่น (Vitis vinifera [vi-nif-era]) มานานหลายพันปี ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในบริเวณที่พระเยซูอาศัยอยู่ คนงานในสวนมักใช้ไม้ที่เขาหาได้เพื่อค้ำต้นองุ่น ในช่วงฤดูหนาว ผู้ดูแลสวนจะตัดแต่งต้นองุ่นที่เขาปลูกเมื่อปีก่อน. และในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ถ้ามีบางกิ่งที่ไม่เกิดผล คนงานก็จะตัดทิ้งไป (ยน 15:2) การทำแบบนี้จะช่วยให้ต้นองุ่นเกิดผลที่มีคุณภาพมากขึ้น.พระเยซูเปรียบว่าพระยะโฮวาเป็นเหมือนผู้ดูแลสวน ตัวท่านเองเป็นต้นองุ่น และสาวกก็เป็นกิ่ง เหมือนกับกิ่งของต้นองุ่นที่ต้องได้รับสารอาหารจากลำต้น สาวกของพระเยซูก็จะได้รับอาหารที่ช่วยให้พวกเขามีความเชื่อเข้มแข็ง ถ้าพวกเขาติดสนิทกับ “ต้นองุ่นแท้”—ยน 15:1, 5