เขียนโดยมัทธิว 22:1-46
ข้อมูลสำหรับศึกษา
ตัวอย่างเปรียบเทียบ: คำกรีก พาราบอเล มีความหมายตรงตัวว่า “การวางไว้ข้าง ๆ (ด้วยกัน)” อาจเป็นเรื่องราวที่ให้คติสอนใจ สุภาษิต หรือตัวอย่างเปรียบเทียบก็ได้ พระเยซูมักอธิบายสิ่งหนึ่งโดย ‘วางสิ่งนั้นไว้ข้าง ๆ’ หรือเปรียบเทียบสิ่งนั้นกับอีกสิ่งหนึ่งที่คล้าย ๆ กัน (มก 4:30) ตัวอย่างเปรียบเทียบของพระเยซูจะสั้นและมักเป็นเรื่องสมมุติซึ่งช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าและหลักศีลธรรมที่ถูกต้อง
ตัวอย่างเปรียบเทียบ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 13:3
ชุด: เนื่องจากนี่เป็นงานแต่งงานของลูกกษัตริย์ เจ้าภาพอาจจัดเตรียมชุดพิเศษสำหรับแขกที่มาร่วมงาน ถ้าเป็นอย่างนั้น การไม่สวมชุดที่เจ้าภาพเตรียมให้เป็นการแสดงความไม่นับถืออย่างมาก
ด้วยความทุกข์ใจ: หรือ “ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน” สำนวนนี้อาจเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเจ็บปวด สิ้นหวัง และโกรธแค้น ซึ่งอาจแสดงออกด้วยคำพูดและการกระทำที่รุนแรง
ด้วยความทุกข์ใจ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 8:12
จับผิด . . . พระเยซู: แปลตรงตัวว่า “ดักจับพระเยซู” เหมือนวางข่ายดักนก (เทียบกับ ปญจ 9:12 ซึ่งฉบับเซปตัวจินต์ ใช้คำกรีกเดียวกันนี้เพื่อแปลคำฮีบรูที่มีความหมายว่า “จับด้วยกับดัก, ดักจับ”) พวกฟาริสีใช้คำพูดป้อยอและคำถามที่ไม่จริงใจ (มธ 22:16, 17) เพื่อหลอกล่อให้พระเยซูพูดอะไรบางอย่างที่พวกเขาจะเอาผิดได้
พรรคพวกของเฮโรด: ดูส่วนอธิบายศัพท์
ภาษี: แปลตรงตัวว่า “ภาษีรายหัว” คือภาษีประจำปี รัฐบาลโรมันเรียกเก็บภาษีแบบนี้จากทุกคนที่มีรายชื่อในทะเบียนสำมะโนครัว อาจเท่ากับ 1 เดนาริอัน หรือค่าจ้างสำหรับการทำงาน 1 วัน—ลก 2:1-3
ซีซาร์: หรือ “จักรพรรดิ” จักรพรรดิโรมันที่ปกครองช่วงที่พระเยซูทำงานรับใช้บนโลกคือทิเบริอัส แต่คำว่า “ซีซาร์” ไม่ได้หมายถึงจักรพรรดิที่ปกครองเท่านั้น คำนี้ยังหมายถึงรัฐบาลโรมันและตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งซึ่งเปาโลเรียกว่า “คนที่มีอำนาจปกครอง” และเปโตรเรียกว่า “กษัตริย์” และ “ผู้ว่าราชการ” ที่กษัตริย์ส่งมา—รม 13:1-7; 1ปต 2:13-17; ทต 3:1; ดูส่วนอธิบายศัพท์
พวกหน้าไหว้หลังหลอก: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 6:2
คนทำดีเอาหน้า: คำกรีก ฮูพอคริเทส แต่เดิมหมายถึงนักแสดงละครเวทีชาวกรีก (และต่อมาก็ชาวโรมัน) ซึ่งใส่หน้ากากขนาดใหญ่เพื่อให้เสียงของเขาดังขึ้น ในภายหลังมีการใช้คำนี้ในเชิงเปรียบเทียบเพื่อหมายถึงคนที่ปิดบังตัวตนหรือเจตนาที่แท้จริงของตัวเองโดยการหลอกลวงและเสแสร้ง พระเยซูจึงเรียกพวกผู้นำศาสนาชาวยิวว่า “คนทำดีเอาหน้า” หรือ “คนเสแสร้ง”—มธ 6:5, 16
เดนาริอัน: เหรียญเงินของโรมันมีรูปซีซาร์อยู่ด้านหนึ่ง เหรียญนี้ใช้จ่าย “ภาษี” ที่รัฐบาลโรมันเรียกเก็บจากชาวยิว (มธ 22:17) คนงานในไร่นาสมัยพระเยซูจะได้รับค่าจ้าง 1 เดนาริอันสำหรับการทำงาน 1 วันที่ยาว 12 ชั่วโมง และในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกมักจะใช้เดนาริอันเป็นหลักในการคำนวนค่าเงินอื่น ๆ (มธ 20:2; มก 6:37; 14:5; วว 6:6) มีการใช้เหรียญทองแดงและเหรียญเงินหลายชนิดในอิสราเอล รวมทั้งเหรียญเงินที่ทำจากเมืองไทระซึ่งใช้จ่ายภาษีบำรุงวิหาร แต่เมื่อจ่ายภาษีต่าง ๆ ให้รัฐบาลโรมัน ดูเหมือนว่าผู้คนจะใช้เหรียญเงินเดนาริอันที่มีรูปซีซาร์—ดูส่วนอธิบายศัพท์ และภาคผนวก ข14
รูป . . . และชื่อ: ด้านหน้าของเหรียญเดนาริอันสมัยนั้นมีรูปจักรพรรดิโรมันทิเบริอัสสวมมงกุฎใบลอเรลซึ่งปกครองตั้งแต่ปี ค.ศ. 14 ถึง 37 และมีคำจารึกภาษาละตินว่า “ซีซาร์ทิเบริอัส ออกัสตัส โอรสแห่งเทพออกัสตัส”—ดูภาคผนวก ข14
ให้กับ: แปลตรงตัวว่า “คืนให้กับ” ซีซาร์เป็นคนทำเหรียญขึ้นมาเขาจึงมีสิทธิ์เรียกคืนเหรียญเหล่านี้บางส่วน แต่ซีซาร์ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้ใครคนหนึ่งอุทิศชีวิตของเขาให้ซีซาร์ พระเจ้าเป็นผู้ให้มนุษย์มี “ชีวิต ลมหายใจ และทุกสิ่งทุกอย่าง” (กจ 17:25) ดังนั้น เขาต้อง “คืน” ชีวิตให้กับพระเจ้าและอุทิศชีวิตให้พระองค์เท่านั้น เพราะพระองค์ผู้เดียวมีสิทธิ์เรียกร้องการนมัสการจากเรา
อะไรที่เป็นของซีซาร์ก็ให้กับซีซาร์: คำตอบของพระเยซูในข้อนี้และในบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มก 12:17 กับ ลก 20:25 เป็นครั้งเดียวที่มีการบันทึกว่าพระเยซูพูดถึงจักรพรรดิโรมัน สำนวนที่ว่า “อะไรที่เป็นของซีซาร์” หมายถึงเงินที่จ่ายสำหรับบริการต่าง ๆ ที่ได้รับจากรัฐ และยังรวมถึงการให้เกียรติและยอมอยู่ใต้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเหมาะสม—รม 13:1-7
อะไรที่เป็นของพระเจ้าก็ให้กับพระเจ้า: นี่รวมถึงการนมัสการพระเจ้าสุดหัวใจ รักพระองค์สุดชีวิต และเชื่อฟังอย่างครบถ้วนด้วยความภักดี—มธ 4:10; 22:37, 38; กจ 5:29; รม 14:8
การฟื้นขึ้นจากตาย: คำกรีก อานาสทาซิส แปลตรงตัวว่า “ทำให้ลุกขึ้น, ยืนขึ้น” มีการใช้คำนี้ประมาณ 40 ครั้งในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเพื่อพูดถึงการปลุกคนตายให้ฟื้น (มธ 22:31; กจ 4:2; 24:15; 1คร 15:12, 13) ในฉบับเซปตัวจินต์ ที่ อสย 26:19 ซึ่งมีข้อความว่า “คนของพวกเจ้าที่ตายแล้วจะมีชีวิต อีก” มีการใช้คำกริยา อานาสทาซิส เพื่อแปลคำกริยาฮีบรู “มีชีวิต”—ดูส่วนอธิบายศัพท์
คนที่สองจึงรับเธอมาเป็นภรรยา: ตามธรรมเนียมของชาวฮีบรูโบราณ ถ้าผู้ชายคนหนึ่งตายโดยไม่มีลูก มีการคาดหมายว่าพี่ชายหรือน้องชายของผู้ตายจะต้องรับภรรยาม่ายของเขามาเป็นภรรยาเพื่อจะมีลูกไว้สืบสกุลให้ผู้ที่ตายไป (ปฐก 38:8) ต่อมามีการรวมธรรมเนียมนี้ไว้ในกฎหมายของโมเสส (ฉธบ 25:5, 6) คำพูดของพวกสะดูสีในข้อนี้แสดงว่าการรับภรรยาม่ายของพี่ชายหรือน้องชายมาเป็นภรรยายังเป็นธรรมเนียมที่ทำกันในสมัยพระเยซู กฎหมายของโมเสสยอมให้ญาติปฏิเสธการแต่งงานแบบนี้ได้ แต่ถ้าผู้ชายคนไหนไม่ทำหน้าที่ของเขาเพื่อ “ให้พี่น้องของตัวเองมีลูกไว้สืบสกุล” เขาก็ทำให้ตัวเองอับอาย—ฉธบ 25:7-10; นรธ 4:7, 8
คนที่สองเลยรับผู้หญิงคนนั้นมาเป็นภรรยา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 12:21
พระคัมภีร์: มักมีการใช้คำนี้เพื่อหมายถึงพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูทั้งหมดที่ได้รับการดลใจ
การฟื้นขึ้นจากตาย: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 22:23
พระเจ้าบอกว่า: ในข้อนี้ พระเยซูพูดถึงการพูดคุยกันระหว่างพระยะโฮวากับโมเสสซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณปี 1514 ก่อน ค.ศ. (อพย 3:2, 6) ตอนนั้น อับราฮัมตายไปแล้ว 329 ปี อิสอัคตายไปแล้ว 224 ปี และยาโคบก็ตายไปแล้ว 197 ปี ถึงอย่างนั้น พระยะโฮวาก็ไม่ได้บอกว่า ‘เราเคยเป็น พระเจ้าของพวกเขา’ แต่บอกว่า ‘เราเป็น พระเจ้าของพวกเขา’—มธ 22:32
การฟื้นขึ้นจากตาย: คำกรีก อานาสทาซิส แปลตรงตัวว่า “ทำให้ลุกขึ้น, ยืนขึ้น” มีการใช้คำนี้ประมาณ 40 ครั้งในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเพื่อพูดถึงการปลุกคนตายให้ฟื้น (มธ 22:31; กจ 4:2; 24:15; 1คร 15:12, 13) ในฉบับเซปตัวจินต์ ที่ อสย 26:19 ซึ่งมีข้อความว่า “คนของพวกเจ้าที่ตายแล้วจะมีชีวิต อีก” มีการใช้คำกริยา อานาสทาซิส เพื่อแปลคำกริยาฮีบรู “มีชีวิต”—ดูส่วนอธิบายศัพท์
พระองค์ไม่ได้เป็นพระเจ้าของคนตาย: สำเนาพระคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดและน่าเชื่อถือที่สุดสนับสนุนการแปลแบบนี้ แต่สำเนาพระคัมภีร์บางฉบับใช้คำว่า “พระเจ้า” ซ้ำ 2 ครั้งทำให้แปลได้ว่า “พระเจ้าไม่ได้เป็นพระเจ้าของคนตาย” ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลบางฉบับก็มีข้อความลักษณะนี้ ฉบับแปลหนึ่งที่แปลพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเป็นภาษาฮีบรู ใช้เททรากรัมมาทอนในข้อนี้ทำให้แปลได้ว่า “พระยะโฮวาไม่ได้เป็นพระเจ้าของคนตาย”—เทียบกับ อพย 3:6, 15
แต่เป็นพระเจ้าของคนเป็น: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 12:27
แต่เป็นพระเจ้าของคนเป็น: ในบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ ลก 20:38 พระเยซูยังพูดอีกว่า “เพราะพระองค์มองว่าพวกเขาทุกคนมีชีวิตอยู่” คัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็นว่าคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าก็เป็นเหมือนคนตายในสายตาพระองค์ (อฟ 2:1; 1ทธ 5:6) ในทางตรงกันข้าม คนที่รับใช้พระเจ้าและทำให้พระองค์พอใจ ถึงแม้เขาตายแล้วพระองค์ก็มองว่าเขายังมีชีวิตอยู่ เพราะพระองค์จะปลุกเขาให้ฟื้นขึ้นจากตายอย่างแน่นอน—รม 4:16, 17
ทำให้ . . . อึ้ง: คำกริยากรีกนี้อาจแปลได้อีกว่า “ทำให้พูดไม่ออก” (แปลตรงตัวว่า “ใส่ที่ครอบปาก”) ซึ่งเป็นคำที่เหมาะกับท้องเรื่องนี้ เพราะเมื่อพวกสะดูสีมาถามเพื่อจะจับผิดพระเยซู ท่านก็ตอบได้ดีมากจนพวกเขาพูดไม่ออก—1ปต 2:15
รัก: นี่เป็นครั้งแรกในหนังสือข่าวดีของยอห์นที่มีการใช้คำกริยากรีก อากาพาโอ (“รัก”) เขาใช้คำกริยานี้และคำนาม อากาเพ (ความรัก) ถึง 44 ครั้ง ซึ่งมากกว่าหนังสือข่าวดีอีก 3 เล่มรวมกัน ในคัมภีร์ไบเบิลคำว่า อากาพาโอ และ อากาเพ มักหมายถึงความรักที่ไม่เห็นแก่ตัวซึ่งอาศัยหลักการ ในข้อนี้ก็ใช้คำว่าความรักในความหมายนี้ด้วย เพราะข้อนี้บอกว่าพระเจ้ารักโลกซึ่งหมายถึงมนุษย์ทุกคนในโลกที่ต้องได้รับการช่วยให้รอดจากบาป (ยน 1:29) ที่ 1ยน 4:8 ตอนที่ยอห์นบอกว่า “พระเจ้าเป็นความรัก” เขาใช้คำนี้ในรูปคำนาม ที่จริง ความรัก (อากาเพ) เป็นคุณลักษณะอย่างแรกของ “ผลที่เกิดจากพลังของพระเจ้า” (กท 5:22) และใน 1คร 13:4-7 ก็พูดถึงความรักไว้อย่างละเอียด การใช้คำนี้ในพระคัมภีร์แสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่แล้วความรักไม่ได้เป็นแค่อารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อคนที่น่ารักหรือทำดีกับเรา แต่ในหลายท้องเรื่องมีการใช้คำนี้ในความหมายที่กว้างกว่า คือเป็นความรักที่เกิดจากความคิดและความตั้งใจของเราเอง (มธ 5:44; อฟ 5:25) ดังนั้น คริสเตียนจึงควรแสดงความรักเพราะสำนึกว่าเป็นหน้าที่ เป็นเรื่องที่เหมาะสม และเป็นการทำตามหลักการ แต่ความรักแบบนี้ก็เกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่อบอุ่นจากหัวใจด้วย (1ปต 1:22) เรื่องนี้เห็นได้จากการใช้คำนี้ในหนังสือข่าวดีของยอห์น ใน ยน 3:35 ตอนที่เขาเขียนว่า “พระเจ้าผู้เป็นพ่อรักลูกของพระองค์” เขาใช้คำว่า อากาพาโอ แต่เมื่อเขาบันทึกคำพูดของพระเยซูเกี่ยวกับเรื่องเดียวกัน เขาใช้คำกริยากรีกอีกคำหนึ่งคือ ฟิเละโอ (“รักอย่างอบอุ่น”)—ยน 5:20
ความคิด: หมายถึงความสามารถในการใช้สติปัญญาและความคิด คนเราต้องใช้ความสามารถนี้เพื่อจะรู้จักและรักพระเจ้า (ยน 17:3; รม 12:1) ข้อความนี้ยกมาจาก ฉธบ 6:5 ซึ่งในต้นฉบับภาษาฮีบรูใช้ 3 คำคือ ‘หัวใจ, ชีวิต, กำลัง’ แต่บันทึกของมาระโกซึ่งเขียนเป็นภาษากรีกใช้ 4 คำคือ หัวใจ, ชีวิต, ความคิด, กำลัง การทำอย่างนี้อาจมีเหตุผลบางอย่าง เช่น คำว่า “ความคิด” อาจถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อจะถ่ายทอดความหมายคำ 3 คำในภาษาฮีบรูได้อย่างครบถ้วน ถึงแม้ในภาษาฮีบรูโบราณไม่มีคำเฉพาะสำหรับคำว่า “ความคิด” แต่แนวคิดของคำนี้มักจะแฝงอยู่ในคำฮีบรูที่แปลว่า “หัวใจ” และคำว่า “หัวใจ” เมื่อใช้ในความหมายเป็นนัยจะหมายถึงความคิด ความรู้สึก ทัศนะ และแรงกระตุ้นของคนเรา (ฉธบ 29:4; สด 26:2; 64:6; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาคำว่าหัวใจในข้อนี้) ดังนั้น เมื่อข้อความฮีบรูใช้คำว่า “หัวใจ” ฉบับเซปตัวจินต์ภาษากรีกก็มักจะแปลคำนี้โดยใช้คำว่า “ความคิด” (ปฐก 8:21; 17:17; สภษ 2:10; อสย 14:13) นอกจากนั้น การที่มาระโกใช้คำว่าความคิดอาจช่วยให้เห็นว่าคำฮีบรูที่แปลว่า “กำลัง” ก็มีความหมายคาบเกี่ยวกับคำกรีกที่แปลว่า “ความคิด” ด้วย (เทียบกับ มธ 22:37 ที่ใช้คำว่า “ความคิด” แทนคำว่า “กำลัง”) การที่คำฮีบรูและกรีกมีความหมายคาบเกี่ยวกันแบบนี้อาจช่วยให้รู้ว่าทำไมครูสอนศาสนาจึงพูดกับพระเยซูโดยใช้คำว่า “ความเข้าใจ” (มก 12:33, พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย ) และทำไมผู้เขียนหนังสือข่าวดีถึงไม่ใช้คำเดียวกับข้อความใน ฉธบ 6:5—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาคำว่ากำลังในข้อนี้ และข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 22:37; ลก 10:27
หัวใจ . . . ชีวิต . . . กำลัง . . . ความคิด: ในข้อนี้ผู้ชายที่เชี่ยวชาญกฎหมายของโมเสสยกข้อความจาก ฉธบ 6:5 ซึ่งในต้นฉบับภาษาฮีบรูใช้คำ 3 คำคือ หัวใจ ชีวิต และกำลัง แต่ในบันทึกของลูกาซึ่งเขียนเป็นภาษากรีกผู้ชายคนนี้ใช้คำ 4 คำคือ หัวใจ ชีวิต กำลัง และความคิด คำตอบของผู้ชายคนนี้แสดงว่าในสมัยพระเยซูคนทั่วไปยอมรับว่าคำกรีก 4 คำนี้มีความหมายเท่ากับคำฮีบรู 3 คำในข้อความดั้งเดิม—สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 12:30
ให้รัก: คำกรีกที่แปลว่า “รัก” ในข้อนี้คือ อากาพาโอ คำกริยากรีกนี้รวมทั้งคำนามที่เกี่ยวข้องกันคือ อากาเพ (ความรัก) มีมากกว่า 250 ครั้งในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก ที่ 1ยน 4:8 มีการใช้คำนาม อากาเพ ในสำนวน “พระเจ้าเป็นความรัก” และพระคัมภีร์ก็บอกว่าพระเจ้าเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมที่สุดของการแสดงความรักแบบไม่เห็นแก่ตัวซึ่งถูกชี้นำโดยหลักการ พระเจ้าแสดงความรักโดยสนใจความจำเป็นของคนอื่น ความรักของพระองค์ไม่ได้เป็นแค่อารมณ์และความรู้สึกเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับการแสดงความภักดีและการลงมือทำ มนุษย์สามารถเลือกได้ที่จะเลียนแบบพระเจ้าในการแสดงความรักแบบนี้ (อฟ 5:1) ดังนั้นจึงมีเหตุผลที่พระเจ้าเรียกร้องให้คนเราแสดงความรัก เหมือนในคำสั่งที่สำคัญที่สุด 2 ข้อที่พูดถึงในท้องเรื่องนี้ซึ่งพระเยซูยกมาจาก ฉธบ 6:5 ในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู คำกริยาฮีบรู อาเฮฟ หรือ อาฮาฟ (รัก) และคำนาม อาฮาวาห์ (ความรัก) เป็นคำหลักที่ใช้เมื่อพูดถึงความรัก คำฮีบรูเหล่านี้ถ่ายทอดความหมายของความรักได้เหมือนกับคำกรีกที่พูดถึงตอนต้น เมื่อพูดถึงการรักพระยะโฮวา คำเหล่านี้แสดงถึงความต้องการของคนเราที่จะอุทิศชีวิตให้พระองค์และรับใช้พระองค์ผู้เดียว พระเยซูแสดงความรักแบบนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ท่านทำให้เห็นว่าการรักพระเจ้าไม่ได้เป็นแค่ความรู้สึก แต่ความรักนี้ต้องส่งผลต่อทุกแง่มุมในชีวิตทั้งความคิด คำพูด และการกระทำด้วย—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 3:16
พระยะโฮวา: ข้อความนี้ยกมาจาก ฉธบ 6:5 ซึ่งในต้นฉบับภาษาฮีบรูมีชื่อของพระเจ้าเขียนด้วยอักษรฮีบรู 4 ตัว (ตรงกับเสียงอักษรไทย ยฮวฮ)
หัวใจ: เมื่อใช้ในความหมายเป็นนัย คำนี้มักหมายถึงตัวตนทั้งหมดของคนเรา แต่เมื่อใช้ด้วยกันกับคำว่า “ชีวิต” และ “ความคิด” คำนี้ดูเหมือนมีความหมายที่เจาะจงมากขึ้น คือหมายถึงอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของคนเรา คำ 3 คำที่ใช้ในข้อนี้ (หัวใจ, ชีวิต, ความคิด) ไม่ได้มีความหมายแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่มีความหมายคาบเกี่ยวกัน การใช้ 3 คำนี้ด้วยกันเป็นการเน้นอย่างหนักแน่นที่สุดว่าคนเราต้องรักพระเจ้าอย่างเต็มที่และครบถ้วน
ความคิด: หมายถึงความสามารถในการใช้สติปัญญาและความคิด คนเราต้องใช้ความสามารถนี้เพื่อจะรู้จักและรักพระเจ้า (ยน 17:3; รม 12:1) ข้อความนี้ยกมาจาก ฉธบ 6:5 ซึ่งในต้นฉบับภาษาฮีบรูใช้ 3 คำคือ ‘หัวใจ, ชีวิต, กำลัง’ แต่บันทึกของมัทธิวในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกใช้คำว่า “ความคิด” แทน “กำลัง” ซึ่งอาจมีเหตุผลบางอย่าง เหตุผลแรก ในภาษาฮีบรูโบราณไม่มีคำเฉพาะสำหรับคำว่า “ความคิด” แต่แนวคิดของคำนี้แฝงอยู่ในคำฮีบรูที่แปลว่า “หัวใจ” และคำว่า “หัวใจ” เมื่อใช้ในความหมายเป็นนัยจะหมายถึงความคิด ความรู้สึก ทัศนะ และแรงกระตุ้นของคนเรา (ฉธบ 29:4; สด 26:2; 64:6 ดูข้อมูลสำหรับศึกษาคำว่าหัวใจในข้อนี้) ดังนั้น เมื่อข้อความฮีบรูใช้คำว่า “หัวใจ” ฉบับเซปตัวจินต์ ภาษากรีกก็มักจะแปลคำนี้โดยใช้คำว่า “ความคิด” (ปฐก 8:21; 17:17; สภษ 2:10; อสย 14:13) อีกเหตุผลหนึ่งที่มัทธิวใช้คำกรีก “ความคิด” แทนคำว่า “กำลัง” เมื่อยกข้อความจาก ฉธบ 6:5 อาจเป็นเพราะ คำฮีบรูที่แปลว่า “กำลัง” หมายถึงทั้งกำลังทางร่างกาย และยังหมายถึงความสามารถในการใช้สติปัญญาหรือความคิดได้ด้วย ไม่ว่าเหตุผลจะเป็นอย่างไร การที่คำฮีบรูและกรีกมีความหมายคาบเกี่ยวกันแบบนี้อาจช่วยให้รู้ว่าทำไมตอนที่ยกข้อความจากเฉลยธรรมบัญญัติขึ้นมา ผู้เขียนหนังสือข่าวดีถึงไม่ใช้คำเดียวกับในข้อความภาษาฮีบรู—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 12:30; ลก 10:27
ข้อที่สอง: ที่ มธ 22:37 มีบันทึกคำพูดที่พระเยซูตอบคำถามของพวกฟาริสี แต่ในข้อนี้ท่านตอบมากกว่าที่พวกเขาถามโดยพูดถึงกฎหมายข้อที่ 2 ด้วย (ลนต 19:18) ซึ่งทำให้รู้ว่ากฎหมายทั้ง 2 ข้อนี้เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก และเป็นพื้นฐานของกฎหมายโมเสสทั้งหมดและเป็นพื้นฐานของสิ่งที่พวกผู้พยากรณ์สอน—มธ 22:40
คนอื่น: หรือ “เพื่อนบ้าน” คำกรีกนี้ (แปลตรงตัวว่า “คนที่อยู่ใกล้”) ไม่ได้หมายถึงคนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงเท่านั้น แต่ยังหมายถึงทุกคนที่ติดต่อเกี่ยวข้องด้วย—ลก 10:29-37; รม 13:8-10; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 5:43
ให้รักเพื่อนบ้าน: กฎหมายของโมเสสสั่งให้ชาวอิสราเอลรักเพื่อนบ้าน (ลนต 19:18) แม้คำว่า “เพื่อนบ้าน” ในข้อนี้หมายถึงเพื่อนมนุษย์ แต่ชาวยิวบางคนทำให้คำนี้มีความหมายที่แคบลงคือหมายถึงแค่เพื่อนร่วมชาติชาวยิว โดยเฉพาะคนที่ทำตามกฎหมายสืบปาก ส่วนคนอื่น ๆ จะถูกมองว่าเป็นศัตรู
กฎหมายของโมเสส . . . คำสอนของพวกผู้พยากรณ์: คำว่า “กฎหมายของโมเสส” หมายถึงหนังสือในคัมภีร์ไบเบิลตั้งแต่ปฐมกาลจนถึงเฉลยธรรมบัญญัติ และ “คำสอนของพวกผู้พยากรณ์” หมายถึงหนังสือต่าง ๆ ของผู้พยากรณ์ในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู แต่เมื่อมีการใช้สองคำนี้ด้วยกันก็อาจหมายถึงพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูทั้งหมด—มธ 7:12; 22:40; ลก 16:16
กฎหมายโมเสสทั้งหมดและ . . . สิ่งที่พวกผู้พยากรณ์สอน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 5:17
เป็นพื้นฐาน: ประโยคนี้อาจแปลได้อีกอย่างว่า “กฎหมายโมเสสและสิ่งที่พวกผู้พยากรณ์สอนแขวนอยู่บนกฎหมายสองข้อนี้แหละ” คำกริยากรีกที่แปลตรงตัวว่า “แขวนอยู่บน” มีความหมายเป็นนัยว่า “อาศัย, อยู่บนพื้นฐานของ” ดังนั้น พระเยซูกำลังบอกว่าไม่ใช่เฉพาะกฎหมายของโมเสสและบัญญัติ 10 ประการเท่านั้นที่มีความรักเป็นพื้นฐาน แต่พระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูทั้งหมดมีความรักเป็นพื้นฐาน—รม 13:9
พระคริสต์: ตำแหน่ง “พระคริสต์” ในข้อนี้มีคำนำหน้านามที่เฉพาะเจาะจงในภาษากรีก ซึ่งดูเหมือนเป็นวิธีเน้นตำแหน่งของพระเยซูที่เป็นเมสสิยาห์
คริสต์: เป็นตำแหน่งซึ่งมาจากคำกรีก ฆะริสท็อส และมีความหมายเดียวกับคำว่า “เมสสิยาห์” (มาจากคำฮีบรู มาชีอัค) ทั้งสองคำแปลว่า “ผู้ถูกเจิม” ในสมัยคัมภีร์ไบเบิลมีการแต่งตั้งผู้ปกครองหรือผู้นำโดยการเจิมด้วยน้ำมัน
พระคริสต์: หรือ “เมสสิยาห์”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 1:1; 2:4
ได้รับการดลใจ: แปลตรงตัวว่า “ในพลัง” หมายถึงได้รับการดลใจหรืออยู่ใต้อิทธิพลของพลังของพระเจ้า—ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “พลัง”
พระยะโฮวา: ข้อความนี้ยกมาจาก สด 110:1 ซึ่งในต้นฉบับภาษาฮีบรูมีชื่อของพระเจ้าเขียนด้วยอักษรฮีบรู 4 ตัว (ตรงกับเสียงอักษรไทย ยฮวฮ)
อยู่ใต้เท้า: หมายถึงอยู่ใต้อำนาจ
วีดีโอและรูปภาพ

ทิเบริอัสเกิดในปี 42 ก่อน ค.ศ. เขาขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 2 ของโรมในปี ค.ศ. 14 ทิเบริอัสตายในเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 37 เขาเป็นจักรพรรดิตลอดช่วงที่พระเยซูทำงานรับใช้ ดังนั้น ตอนที่พระเยซูพูดถึงเหรียญที่ใช้เสียภาษีว่า “อะไรที่เป็นของซีซาร์ก็ให้กับซีซาร์” ซีซาร์ที่พระเยซูพูดถึงก็คือทิเบริอัส—มก 12:14-17; มธ 22:17-21; ลก 20:22-25