เขียนโดยมัทธิว 16:1-28
เชิงอรรถ
ข้อมูลสำหรับศึกษา
บอกพวกเขา: สำเนาเก่าแก่ที่สำคัญบางฉบับไม่มีข้อความส่วนที่เหลือของข้อ 2 และข้อ 3 ทั้งข้อ ถึงแม้ยังไม่แน่ใจว่าข้อความเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลจริงหรือไม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกว่าน่าจะรวมข้อความนี้ไว้ด้วย เพราะสำเนาพระคัมภีร์เก่าแก่มากมายหลายฉบับทั้งจากยุคแรกและยุคหลังมีข้อความนี้
ไม่ซื่อสัตย์: แปลตรงตัวว่า “ชอบมีชู้” คือมีชู้ในความหมายเป็นนัยซึ่งหมายถึงการไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าโดยการละเมิดสัญญาที่ทำกับพระองค์ เมื่อชาวอิสราเอลสมัยโบราณไปนมัสการศาสนาเท็จ พวกเขาก็ละเมิดสัญญาที่เกี่ยวกับกฎหมาย ซึ่งเป็นเหมือนการเล่นชู้และไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า (ยรม 3:8, 9; 5:7, 8; 9:2; 13:27; 23:10; ฮชย 7:4) พระเยซูก็ตำหนิชาวยิวในสมัยของท่านอย่างแรงด้วยเหตุผลคล้าย ๆ กัน (มธ 12:39; 16:4) ถ้าคริสเตียนที่อยู่ใต้สัญญาใหม่ทำให้ตัวเองแปดเปื้อนกับสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ ก็ถือว่าพวกเขาเล่นชู้และไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าเหมือนกัน ทุกคนที่อุทิศชีวิตให้พระยะโฮวาต้องคิดถึงเรื่องนี้ด้วย—ยก 4:4
การอัศจรรย์แบบเดียวกับ . . . โยนาห์: โยนาห์เปรียบเทียบการที่พระเจ้าช่วยเขาออกจากท้องปลาหลังจากอยู่ในนั้นประมาณ 3 วันว่าเหมือนกับการออกจากหลุมศพ (ยนา 1:17-2:2) การที่พระเยซูถูกปลุกจากหลุมศพเป็นเรื่องจริงเหมือนกับการที่โยนาห์ออกมาจากท้องปลา แต่ถึงแม้พระเยซูจะฟื้นขึ้นมาในวันที่ 3 หลังจากตาย พวกคนใจดื้อด้านและชอบวิพากษ์วิจารณ์ก็ยังไม่มีความเชื่อในตัวท่าน
ไม่ซื่อสัตย์: แปลตรงตัวว่า “ชอบมีชู้” คือมีชู้ในความหมายเป็นนัยซึ่งหมายถึงการไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 8:38
การอัศจรรย์แบบเดียวกับโยนาห์: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 12:39
ไปอีกฟากหนึ่ง: คืออีกฟากหนึ่งของทะเลสาบกาลิลี น่าจะเป็นชายฝั่งใกล้เมืองเบธไซดาซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลสาบ
เชื้อ: คือแป้งหมักก้อนเล็ก ๆ ที่แบ่งเก็บไว้จากการนวดแป้งครั้งก่อนแล้วนำมาผสมกับแป้งใหม่เพื่อให้ขึ้นฟู พระเยซูกำลังพูดถึงขั้นตอนในการทำขนมปังตามปกติ แม้คัมภีร์ไบเบิลมักจะใช้เชื้อเป็นภาพเปรียบเทียบหมายถึงบาปและความเสื่อมเสีย (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:6) แต่คำนี้ก็ไม่ได้มีความหมายในแง่ลบเสมอไป (ลนต 7:11-15) ดูเหมือนว่าขั้นตอนการหมักที่ทำให้แป้งขึ้นฟูในข้อนี้เป็นภาพหมายถึงการแผ่ขยายของสิ่งที่ดี
เชื้อ: หรือ “ยีสต์” คัมภีร์ไบเบิลมักใช้เชื้อเป็นภาพแสดงถึงความเสื่อมเสียและบาป ซึ่งในข้อนี้หมายถึงคำสอนไม่ดีที่ทำให้เสื่อมเสีย—มธ 16:12; 1คร 5:6-8; เทียบกับข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 13:33
ตะกร้าใหญ่: หรือ “กระบุง” คำกรีก สพูรีส ที่ใช้ในข้อนี้ดูเหมือนหมายถึงตะกร้าที่มีขนาดใหญ่กว่าตะกร้าที่ใช้ก่อนหน้านี้ตอนพระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 14:20) “ตะกร้า” ที่ศิษย์ของเปาโลให้เขานั่งแล้วหย่อนลงทางช่องหน้าต่างบนกำแพงเมืองดามัสกัสก็มาจากคำกรีกเดียวกันนี้—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 9:25
ตะกร้า: อาจเป็นตะกร้าสานใบเล็กที่มีหูทำจากเชือกไว้หิ้วหรือสะพายไปได้เวลาเดินทาง เชื่อกันว่าตะกร้าแบบนี้จุได้ประมาณ 7.5 ลิตร—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:9, 10
ตะกร้าใหญ่: หรือ “กระบุง”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 15:37; 16:9
ตะกร้า: ในบันทึกเรื่องที่พระเยซูเลี้ยงอาหารด้วยการอัศจรรย์ 2 ครั้ง (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 14:20; 15:37; 16:10 และบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มก 6:43; 8:8, 19, 20) มีการใช้คำต่างกันอย่างเสมอต้นเสมอปลายเมื่อพูดถึงตะกร้าที่ใช้เก็บเศษอาหารที่เหลือ ตอนที่พระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน มีการใช้คำกรีก คอฟินอส (แปลว่า “ตะกร้า”) ส่วนตอนที่ท่านเลี้ยงอาหารผู้ชาย 4,000 คน มีการใช้คำกรีก สพูรีส (แปลว่า “ตะกร้าใหญ่”) นี่แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนบันทึกเหล่านั้นอยู่ในเหตุการณ์หรือได้ข้อมูลจากคนที่น่าเชื่อถือซึ่งอยู่ในเหตุการณ์
ตะกร้าใหญ่: หรือ “กระบุง” คำกรีก สพูรีส ที่ใช้ในข้อนี้ดูเหมือนหมายถึงตะกร้าที่มีขนาดใหญ่กว่าตะกร้าที่ใช้ก่อนหน้านี้ตอนพระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 14:20) “ตะกร้า” ที่ศิษย์ของเปาโลให้เขานั่งแล้วหย่อนลงทางช่องหน้าต่างบนกำแพงเมืองดามัสกัสก็มาจากคำกรีกเดียวกันนี้—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 9:25
ตะกร้า: ในบันทึกเรื่องที่พระเยซูเลี้ยงอาหารด้วยการอัศจรรย์ 2 ครั้ง (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 14:20; 15:37; 16:10 และบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มก 6:43; 8:8, 19, 20) มีการใช้คำต่างกันอย่างเสมอต้นเสมอปลายเมื่อพูดถึงตะกร้าที่ใช้เก็บเศษอาหารที่เหลือ ตอนที่พระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน มีการใช้คำกรีก คอฟินอส (แปลว่า “ตะกร้า”) ส่วนตอนที่ท่านเลี้ยงอาหารผู้ชาย 4,000 คน มีการใช้คำกรีก สพูรีส (แปลว่า “ตะกร้าใหญ่”) นี่แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนบันทึกเหล่านั้นอยู่ในเหตุการณ์หรือได้ข้อมูลจากคนที่น่าเชื่อถือซึ่งอยู่ในเหตุการณ์
ตะกร้าใหญ่: หรือ “กระบุง”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 15:37; 16:9
ซีซารียาฟีลิปปี: เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณต้นน้ำของแม่น้ำจอร์แดนซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 350 เมตร เมืองนี้อยู่ห่างจากทะเลสาบกาลิลีไปทางทิศเหนือประมาณ 40 กม. และอยู่ใกล้เชิงเขาเฮอร์โมนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ฟีลิปผู้ปกครองแคว้นซึ่งเป็นลูกของเฮโรดมหาราชเป็นคนตั้งชื่อเมืองนี้เพื่อให้เกียรติกับจักรพรรดิโรมัน และเพื่อจะไม่ให้สับสนกับเมืองซีซารียาที่เป็นเมืองท่า จึงมีการเรียกเมืองนี้ว่าซีซารียาฟีลิปปี ซึ่งหมายความว่า “ซีซารียาของฟีลิป”—ดูภาคผนวก ข10
ลูกมนุษย์: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 8:20
ลูกมนุษย์: มีการใช้คำนี้ประมาณ 80 ครั้งในหนังสือข่าวดีทั้ง 4 เล่ม พระเยซูใช้คำนี้เมื่อพูดถึงตัวท่านเอง ดูเหมือนท่านใช้คำนี้เพื่อเน้นว่าท่านเป็นมนุษย์จริง ๆ ที่เกิดจากผู้หญิงและมีค่าเท่าเทียมกับอาดัม ท่านจึงสามารถไถ่มนุษย์จากบาปและความตายได้ (รม 5:12, 14, 15) คำนี้ยังทำให้รู้ว่าพระเยซูเป็นเมสสิยาห์หรือพระคริสต์ด้วย—ดนล 7:13, 14; ดูส่วนอธิบายศัพท์
ยอห์นผู้ให้บัพติศมา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 3:1
เอลียาห์: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 11:14
ยอห์น: ตรงกับชื่อภาษาฮีบรูเยโฮฮานัน หรือโยฮานัน ซึ่งหมายความว่า “พระยะโฮวาแสดงความโปรดปราน, พระยะโฮวากรุณา”
ผู้ให้บัพติศมา: หรือ “คนจุ่ม” คำนี้ดูเหมือนเป็นฉายาของยอห์นซึ่งบอกให้รู้ว่าลักษณะเด่นของเขาคือการให้บัพติศมาด้วยการจุ่มในน้ำ โยเซฟุส ฟลาวิอุสนักประวัติศาสตร์ชาวยิวก็เคยเขียนเกี่ยวกับ “ยอห์นที่มีฉายาว่าผู้ให้บัพติศมา” ด้วย
เอลียาห์: ชื่อภาษาฮีบรู แปลว่า “พระเจ้าของผมคือพระยะโฮวา”
ซีโมนหรือที่เรียกกันว่าเปโตร: พระคัมภีร์เรียกเปโตรด้วยชื่อที่ต่างกัน 5 ชื่อ คือ (1) “ซีเมโอน” ซึ่งเป็นชื่อกรีกที่ทับศัพท์มาจากชื่อฮีบรู (สิเมโอน) (2) “ซีโมน” ซึ่งเป็นภาษากรีก (ทั้งซีเมโอนและซีโมนมาจากคำกริยาฮีบรูที่แปลว่า “ได้ยิน, ฟัง”) (3) “เปโตร” (ชื่อกรีกที่แปลว่า “หินก้อนหนึ่ง” และเขาเป็นคนเดียวในพระคัมภีร์ที่ใช้ชื่อนี้) (4) “เคฟาส” ชื่อภาษาเซมิติกที่มีความหมายตรงกับชื่อเปโตร (อาจเกี่ยวข้องกับคำฮีบรู เคฟิม [หิน] ที่ใช้ใน โยบ 30:6; ยรม 4:29) และ (5) “ซีโมนเปโตร” ซึ่งเป็นการรวม 2 ชื่อเข้าด้วยกัน—กจ 15:14; ยน 1:42; มธ 16:16
คริสต์: เป็นตำแหน่งซึ่งมาจากคำกรีก ฆะริสท็อส และมีความหมายเดียวกับคำว่า “เมสสิยาห์” (มาจากคำฮีบรู มาชีอัค) ทั้งสองคำแปลว่า “ผู้ถูกเจิม” ในสมัยคัมภีร์ไบเบิลมีการแต่งตั้งผู้ปกครองหรือผู้นำโดยการเจิมด้วยน้ำมัน
พระคริสต์: ตำแหน่ง “พระคริสต์” ในข้อนี้มีคำนำหน้านามที่เฉพาะเจาะจงในภาษากรีก ซึ่งดูเหมือนเป็นวิธีเน้นตำแหน่งของพระเยซูที่เป็นเมสสิยาห์
ซีโมนเปโตร: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 10:2
พระคริสต์: เปโตรบอกว่าพระเยซูเป็น “พระคริสต์” (คำกรีก ฮอ ฆะริสท็อส) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความหมายเดียวกับคำว่า “เมสสิยาห์” (มาจากคำฮีบรู มาชีอัค) ทั้งสองคำแปลว่า “ผู้ถูกเจิม” แต่คำว่า “พระคริสต์” ในข้อนี้มีคำนำหน้านามที่เฉพาะเจาะจงในภาษากรีก ซึ่งดูเหมือนเป็นวิธีเน้นตำแหน่งของพระเยซูที่เป็นเมสสิยาห์—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 1:1; 2:4
พระเจ้าผู้มีชีวิตอยู่: เป็นสำนวนที่เน้นว่าพระยะโฮวามีชีวิตอยู่และทำสิ่งต่าง ๆ ได้ ซึ่งต่างจากเทพเจ้าที่ไร้ชีวิตของชาติต่าง ๆ (กจ 14:15) เช่น เทพเจ้าที่คนในเขตซีซารียาฟีลิปปีนับถือกัน (มธ 16:13) มีสำนวนนี้ในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูด้วย—ฉธบ 5:26; ยรม 10:10
ลูกโยนาห์: หรือ “บาร์โยนาห์” ชื่อฮีบรูหลายชื่อจะมีคำฮีบรู เบน หรือคำอาราเมอิก บาร์ ที่แปลว่า “ลูกชาย” แล้วตามด้วยชื่อของพ่อ การมีคำอาราเมอิกผสมอยู่ในหลายชื่อ เช่น บาร์โธโลมิว บาร์ทิเมอัส บาร์นาบัส และบาร์เยซู เป็นหลักฐานว่าภาษาอาราเมอิกมีอิทธิพลต่อภาษาฮีบรูที่พูดกันในสมัยพระเยซู
มนุษย์: แปลตรงตัวว่า “เนื้อและเลือด” เป็นสำนวนปกติของชาวยิว ในท้องเรื่องนี้พระเยซูกำลังบอกว่าเปโตรไม่ได้รู้เรื่องนี้ด้วยตัวเองหรือรู้จากคนอื่นที่เป็นมนุษย์
คุณคือเปโตร . . . บนหินก้อนนี้: คำกรีก เพะตร็อส เป็นคำนามเพศชายหมายถึง “หินก้อนหนึ่ง” ในข้อนี้ใช้เป็นชื่อเฉพาะ (คือเปโตร) พระเยซูตั้งชื่อกรีกนี้ให้ซีโมน (ยน 1:42) คำนามเพศหญิง เพะตรา ก็แปลว่า “หิน” และอาจหมายถึงพื้นหิน หินผา หรือหินก้อนใหญ่ คำกรีกนี้ยังมีที่ มธ 7:24, 25; 27:60; ลก 6:48; 8:6; รม 9:33; 1คร 10:4; 1ปต 2:8 ดูเหมือนว่าเปโตรไม่ได้มองว่าตัวเขาเองเป็นหินที่พระเยซูจะใช้เป็นฐานรากของประชาคม เพราะเขาเขียนที่ 1ปต 2:4-8 ว่าพระเยซูเป็น “หินหัวมุมของฐานราก” ที่บอกไว้ล่วงหน้ามานานแล้วซึ่งพระเจ้าเป็นผู้เลือกไว้ คล้ายกัน อัครสาวกเปาโลก็พูดถึงพระเยซูว่าเป็น “ฐานราก” และเป็น ‘โขดหินของพระเจ้า’ (1คร 3:11; 10:4) ดังนั้น ดูเหมือนพระเยซูกำลังพูดแบบเล่นคำโดยบอกว่า ‘คุณที่ผมเรียกว่าเปโตร คือหินก้อนหนึ่ง [เพะตร็อส] คุณได้เข้าใจแล้วว่าใครคือ “หินก้อนนี้” [เพะตรา] หรือพระคริสต์ที่จะเป็นฐานรากของประชาคมคริสเตียน’
ประชาคม: เป็นครั้งแรกที่มีการใช้คำกรีก เอ็คคะเลเซีย คำนี้มาจากคำกรีก 2 คำคือ เอ็ค ที่แปลว่า “ออก” และ คะเลโอ ที่แปลว่า “เรียก” คำนี้หมายถึงกลุ่มคนที่ถูกเรียกมารวมกันเพื่อจุดประสงค์เฉพาะหรือเพื่อทำกิจกรรมบางอย่าง (ดูส่วนอธิบายศัพท์) ในท้องเรื่องนี้ พระเยซูบอกล่วงหน้าถึงการตั้งประชาคมคริสเตียนที่ประกอบด้วยคริสเตียนผู้ถูกเจิมซึ่งเป็น “หินที่มีชีวิตอยู่” และ “กำลังถูกนำมาก่อขึ้นเป็นวิหารด้วยพลังของพระเจ้า” (1ปต 2:4, 5) ในฉบับเซปตัวจินต์ มีการใช้คำกรีกนี้บ่อย ๆ เพื่อแปลคำฮีบรูที่มักจะหมายถึงประชาชนของพระเจ้าทั้งชาติ (ฉธบ 23:3; 31:30) ที่ กจ 7:38 มีการใช้คำกรีกเดียวกันนี้เมื่อพูดถึงชาวอิสราเอลที่ถูกเรียกออกจากอียิปต์ คล้ายกัน คริสเตียนที่ถูก “เรียก . . . ออกจากความมืด” และถูก “เลือก . . . ให้อยู่ต่างหากจากโลก” ก็รวมกันเป็น “ประชาคมของพระเจ้า”—1ปต 2:9; ยน 15:19; 1คร 1:2
ความตาย: หรือ “ฮ้าเดส” คือสภาพของคนตาย (ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “หลุมศพ”) คัมภีร์ไบเบิลบอกว่าคนตายถูกกักขังอยู่ใน “ประตูแห่งความตาย” (สด 107:18) และใน “หลุมศพ” (อสย 38:10) ซึ่งหมายถึงตกอยู่ใต้อำนาจของความตาย พระเยซูสัญญาว่าจะมีชัยชนะเหนือความตาย ซึ่งหมายความว่า “ประตู” แห่งความตายจะเปิดออกเพื่อปล่อยคนตายให้ฟื้นขึ้นมา การฟื้นขึ้นจากตายของพระเยซูยืนยันว่าคำสัญญาของท่านจะเป็นจริงอย่างแน่นอน (มธ 16:21) เนื่องจากประชาคมถูกตั้งขึ้นบนพระเยซูซึ่งสามารถปลดปล่อยผู้คนจากความตายและหลุมศพได้ ดังนั้น ความตายจึงไม่มีอำนาจเหนือคนที่อยู่ในประชาคมหรือกักขังพวกเขาไว้ได้อย่างถาวร—กจ 2:31; วว 1:18; 20:13, 14
อะไรที่คุณจะมัด . . . คุณจะปล่อย: ในท้องเรื่องนี้ คำว่า “มัด” อาจหมายถึง “มองว่ามีความผิด, พบว่ามีความผิด” และคำว่า “ปล่อย” หมายถึง “ตัดสินให้พ้นผิด, ถือว่าไม่มีความผิด” คำสรรพนาม “คุณ” ในข้อนี้อยู่ในรูปพหูพจน์แสดงว่าไม่ใช่แค่เปโตรเท่านั้นที่จะตัดสินเรื่องเหล่านี้ แต่คนอื่น ๆ ก็จะมีส่วนในการตัดสินด้วย—เทียบกับข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:19
ลูกกุญแจของรัฐบาลสวรรค์: ในคัมภีร์ไบเบิล คนที่ได้รับลูกกุญแจไม่ว่าจะเป็นลูกกุญแจจริง ๆ หรือในความหมายเป็นนัยคือคนที่ได้รับมอบอำนาจในระดับหนึ่ง (1พศ 9:26, 27; อสย 22:20-22) คำว่า “ลูกกุญแจ” จึงเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบ เปโตรใช้ “ลูกกุญแจ” ที่เขาได้รับเพื่อเปิดโอกาสให้ชาวยิว (กจ 2:22-41) ชาวสะมาเรีย (กจ 8:14-17) และคนต่างชาติ (กจ 10:34-38) ได้พลังบริสุทธิ์จากพระเจ้าและมีความหวังที่จะได้เข้าในรัฐบาลสวรรค์
ปิดล็อก . . . เปิดล็อก: หรือ “มัด . . . ปล่อย” น่าจะหมายถึงการตัดสินที่ห้ามหรืออนุญาตให้มีการกระทำหรือมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น—เทียบกับข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 18:18
ถูกปิดล็อกไว้แล้ว . . . ถูกเปิดล็อกแล้ว: หรือ “ถูกมัดไว้แล้ว . . . ถูกปล่อยแล้ว” ในข้อนี้ใช้คำกริยากรีก ‘มัด’ และ ‘ปล่อย’ แบบที่ไม่ตรงกับหลักไวยากรณ์ปกติ นี่หมายความว่าการตัดสินทุกอย่างของเปโตร (“อะไรที่คุณจะปิดล็อก [มัด]”; “อะไรที่คุณจะเปิดล็อก [ปล่อย]”) จะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการตัดสินเรื่องนั้นแล้วในสวรรค์ ไม่ใช่เกิดขึ้นก่อน—เทียบกับข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 18:18
ถูกมัดไว้แล้ว . . . ถูกปล่อยแล้ว: ในข้อนี้ใช้คำกริยากรีก ‘มัด’ และ ‘ปล่อย’ แบบที่ไม่ตรงกับหลักไวยากรณ์ปกติ ซึ่งหมายความว่าการตัดสินทุกอย่างของพวกสาวก (“อะไรที่คุณจะมัด”; “อะไรที่คุณจะปล่อย”) จะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการตัดสินเรื่องนั้นแล้วในสวรรค์ ไม่ใช่เกิดขึ้นก่อน การตัดสินทุกอย่างของพวกเขาเป็นไปตามการตัดสินในสวรรค์และตัดสินโดยอาศัยหลักการที่ได้กำหนดไว้แล้วในสวรรค์ นี่ไม่ได้หมายความว่าสวรรค์เป็นฝ่ายสนับสนุนหรือรับรองว่าการตัดสินของพวกสาวกบนโลกนั้นถูกต้อง แต่หมายความว่าพวกสาวกจะได้รับการชี้นำจากสวรรค์ และเป็นการเน้นว่าพวกเขาจำเป็นต้องได้รับการชี้นำเพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินของพวกเขาสอดคล้องกับการตัดสินที่เกิดขึ้นแล้วในสวรรค์—เทียบกับข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:19
พระคริสต์: เปโตรบอกว่าพระเยซูเป็น “พระคริสต์” (คำกรีก ฮอ ฆะริสท็อส) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความหมายเดียวกับคำว่า “เมสสิยาห์” (มาจากคำฮีบรู มาชีอัค) ทั้งสองคำแปลว่า “ผู้ถูกเจิม” แต่คำว่า “พระคริสต์” ในข้อนี้มีคำนำหน้านามที่เฉพาะเจาะจงในภาษากรีก ซึ่งดูเหมือนเป็นวิธีเน้นตำแหน่งของพระเยซูที่เป็นเมสสิยาห์—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 1:1; 2:4
พระคริสต์: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:16
ปุโรหิตใหญ่: คำกรีกนี้เมื่ออยู่ในรูปเอกพจน์จะแปลว่า “มหาปุโรหิต” และหมายถึงหัวหน้าตัวแทนของประชาชนเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้า แต่ในข้อนี้คำกรีกนี้อยู่ในรูปพหูพจน์ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนสำคัญในคณะปุโรหิต รวมทั้งอดีตมหาปุโรหิต และอาจรวมถึงหัวหน้าของกลุ่มปุโรหิต 24 กลุ่มด้วย
พระเยซู: สำเนาพระคัมภีร์เก่าแก่บางฉบับใช้คำว่า “พระเยซูคริสต์”
ผู้นำ: แปลตรงตัวว่า “คนสูงอายุ” คำกรีก เพร็สบูเทะรอส ที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิลมักจะหมายถึงคนที่มีตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบในชุมชนหรือในชาติ ถึงแม้คำนี้บางครั้งหมายถึงคนที่อายุมากกว่าหรือคนสูงอายุ (เช่นที่ ลก 15:25; กจ 2:17) แต่ก็มีความหมายในแง่อื่นด้วย ในข้อนี้คำว่า “ผู้นำ” หมายถึงพวกผู้นำชาวยิวซึ่งคัมภีร์ไบเบิลมักพูดถึงพวกเขาพร้อมกับพวกปุโรหิตใหญ่และครูสอนศาสนา สมาชิกศาลแซนเฮดรินก็ประกอบด้วยคนจาก 3 กลุ่มนี้—มธ 21:23; 26:3, 47, 57; 27:1, 41; 28:12; ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ผู้นำ”
ปุโรหิตใหญ่: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:4 และส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ปุโรหิตใหญ่”
ครูสอนศาสนา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:4 และส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ครูสอนศาสนา”
ครูสอนศาสนา: ตอนแรกคำนี้หมายถึงผู้คัดลอกพระคัมภีร์ แต่ในสมัยพระเยซู คำนี้หมายถึงคนที่เชี่ยวชาญและสอนเรื่องกฎหมายของโมเสส
หยุดพูดได้แล้ว: แปลตรงตัวว่า “ไปอยู่ข้างหลังผม” ในข้อนี้พระเยซู “ตำหนิ” เปโตรแรงมาก (มก 8:33) ท่านไม่ยอมให้อะไรมาขัดขวางท่านไม่ให้ทำตามความต้องการของพ่อ พจนานุกรมบางฉบับให้ความหมายของสำนวนนี้ว่า “ไปไกล ๆ เลย!” และคัมภีร์ไบเบิลบางฉบับก็แปลข้อความนี้ว่า “ไปให้พ้น” นอกจากนั้น คำพูดของพระเยซูยังเตือนเปโตรให้รู้ว่าในฐานะสาวก เขาควรสนับสนุนนายของเขา เปโตรไม่ควรขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคขวางทางพระเยซู
ซาตาน: พระเยซูไม่ได้บอกว่าเปโตรเป็นมารซาตาน แต่หมายความว่าเขากำลังทำตัวเป็นผู้ต่อต้านซึ่งเป็นความหมายของคำฮีบรู ซาตาน พระเยซูอาจกำลังบอกว่าสิ่งที่เปโตรทำในตอนนั้นเป็นการยอมให้ตัวเขาเองได้รับอิทธิพลจากซาตาน
ขัดขวาง: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 18:7
สิ่งที่ชักจูงคนให้หลงทำผิด: เชื่อกันว่าคำกรีก สคานดาลอน ที่แปลในข้อนี้ว่า “สิ่งที่ชักจูงคนให้หลงทำผิด” แต่เดิมหมายถึงกับดัก และบางคนคิดว่าหมายถึงแท่งไม้ที่อยู่ในกับดักซึ่งมีเหยื่อล่อผูกติดอยู่ ต่อมามีการใช้คำนี้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือหมายถึงอะไรก็ตามที่เป็นสิ่งกีดขวางซึ่งทำให้คนเราสะดุดหรือล้มลง และเมื่อใช้ในความหมายเป็นนัย คำนี้หมายถึงการกระทำหรือสถานการณ์ที่ทำให้คนเราทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องด้านศีลธรรม หรือทำผิด ส่วนคำกริยา สคานดาลิโศ ซึ่งใน มธ 18:8, 9 แปลว่า “ทำให้หลงทำผิด” ยังอาจแปลได้ว่า “กลายเป็นหลุมพราง, เป็นต้นเหตุให้สะดุด”
ให้คนนั้นเลิกใช้ชีวิตเพื่อตัวเอง: หรือ “ให้คนนั้นสละสิทธิ์ทุกอย่างที่เป็นของตัวเอง” นี่แสดงว่าคนนั้นเต็มใจปฏิเสธตัวเองอย่างเด็ดขาด หรือเต็มใจยกสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของตัวเองให้กับพระเจ้า ข้อความภาษากรีกนี้อาจแปลได้ว่า “เขาต้องบอกว่าไม่กับตัวเอง” ซึ่งเป็นคำแปลที่เหมาะเพราะข้อความนี้อาจรวมถึงการไม่ทำตามความต้องการของตัวเอง ไม่ติดตามความอยากได้อยากมีหรือความสะดวกสบายของตัวเอง (2คร 5:14, 15) มัทธิวใช้คำกริยากรีกเดียวกันนี้เมื่อพูดถึงเปโตรตอนที่เขาปฏิเสธว่าไม่รู้จักพระเยซู—มธ 26:34, 35, 75
เสาทรมาน: หรือ “เสาประหาร” คำกรีก สเทารอส ในวรรณกรรมกรีกโบราณมักหมายถึงเสาหรือหลักที่ตั้งตรง เมื่อใช้ในความหมายเป็นนัย บางครั้งจะหมายถึงความทุกข์ ความอับอาย การทรมาน และแม้แต่ความตายที่คนเราต้องเจอเพราะเป็นสาวกของพระเยซู—ดูส่วนอธิบายศัพท์
วีดีโอและรูปภาพ
คัมภีร์ไบเบิลใช้หลายคำเมื่อพูดถึงตะกร้า เช่น เมื่อพูดถึงตะกร้า 12 ใบที่ใช้เก็บเศษอาหารที่เหลือตอนที่พระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน มีการใช้คำกรีกที่แสดงให้เห็นว่าเป็นตะกร้าสานที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่เมื่อพูดถึงตะกร้า 7 ใบที่ใส่เศษอาหารหลังจากที่พระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 4,000 คน ก็มีการใช้คำกรีกอีกคำหนึ่ง (มก 8:8, 9) ซึ่งเป็นคำที่แสดงให้เห็นว่าเป็นตะกร้าขนาดใหญ่ ตะกร้าที่ศิษย์ของเปาโลให้เขานั่งแล้วหย่อนลงทางช่องหน้าต่างบนกำแพงเมืองดามัสกัสก็มาจากคำกรีกเดียวกันนี้—กจ 9:25
พระเยซูกับสาวกนั่งเรือจากเขตมากาดานไปที่เมืองเบธไซดาซึ่งอยู่บนชายฝั่งทางเหนือของทะเลสาบกาลิลี (มก 8:22) ทะเลสาบนี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 210 เมตร พวกเขาอาจใช้เวลา 2-3 วัน เพื่อเดินทาง 40 กม. ขึ้นไปที่เขตซีซารียาฟีลิปปีซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 350 เมตร—สำหรับแผนที่รายละเอียดเกี่ยวกับงานรับใช้ของพระเยซู ดูภาคผนวก ก7-จ