เขียนโดยมัทธิว 15:1-39
เชิงอรรถ
ข้อมูลสำหรับศึกษา
ล้างมือ: คือการล้างมือตามพิธีกรรมซึ่งเป็นการยึดติดกับธรรมเนียมแทนที่จะสนใจเรื่องสุขอนามัย ในสมัยต่อมาหนังสือทัลมุดของบาบิโลน (โซทาห์ 4ข) บอกว่าการกินอาหารโดยไม่ล้างมือเป็นความผิดร้ายแรงพอ ๆ กับการมีเพศสัมพันธ์กับโสเภณี และยังบอกด้วยว่าคนที่ไม่ให้ความสำคัญกับการล้างมือจะถูก “ถอนรากถอนโคนออกจากโลก”
อุทิศของที่มีอยู่ให้พระเจ้า: พวกครูสอนศาสนาและฟาริสีสอนว่าเงิน บ้าน ที่ดิน หรืออะไรก็ตามที่คนเราอุทิศให้พระเจ้าแล้วจะถือเป็นสมบัติของวิหาร ตามคำสอนนี้ คนที่เป็นลูกสามารถเก็บสิ่งที่เขาอุทิศให้วิหารไว้ใช้เองได้โดยอ้างว่าเขาได้อุทิศสิ่งนั้นให้พระเจ้าแล้ว ดูเหมือนว่ามีบางคนหลบเลี่ยงความรับผิดชอบในการดูแลพ่อแม่โดยการทำแบบนี้—มธ 15:6
คนทำดีเอาหน้า: คำกรีก ฮูพอคริเทส แต่เดิมหมายถึงนักแสดงละครเวทีชาวกรีก (และต่อมาก็ชาวโรมัน) ซึ่งใส่หน้ากากขนาดใหญ่เพื่อให้เสียงของเขาดังขึ้น ในภายหลังมีการใช้คำนี้ในเชิงเปรียบเทียบเพื่อหมายถึงคนที่ปิดบังตัวตนหรือเจตนาที่แท้จริงของตัวเองโดยการหลอกลวงและเสแสร้ง พระเยซูจึงเรียกพวกผู้นำศาสนาชาวยิวว่า “คนทำดีเอาหน้า” หรือ “คนเสแสร้ง”—มธ 6:5, 16
คนเสแสร้ง: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 6:2
ตัวอย่างเปรียบเทียบ: คำกรีก พาราบอเล มีความหมายตรงตัวว่า “การวางไว้ข้าง ๆ (ด้วยกัน)” อาจเป็นเรื่องราวที่ให้คติสอนใจ สุภาษิต หรือตัวอย่างเปรียบเทียบก็ได้ พระเยซูมักอธิบายสิ่งหนึ่งโดย ‘วางสิ่งนั้นไว้ข้าง ๆ’ หรือเปรียบเทียบสิ่งนั้นกับอีกสิ่งหนึ่งที่คล้าย ๆ กัน (มก 4:30) ตัวอย่างเปรียบเทียบของพระเยซูจะสั้นและมักเป็นเรื่องสมมุติซึ่งช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าและหลักศีลธรรมที่ถูกต้อง
ตัวอย่างเปรียบเทียบ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 13:3
ผิดศีลธรรมทางเพศ: คำกรีก พอร์เน่อา เป็นคำกว้าง ๆ ที่หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบที่คัมภีร์ไบเบิลบอกว่าผิด ซึ่งรวมถึงการเล่นชู้ การเป็นโสเภณี การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคนที่ยังไม่แต่งงาน การรักร่วมเพศ และการร่วมเพศกับสัตว์—ดูส่วนอธิบายศัพท์
การเล่นชู้: คำกรีกที่แปลว่า “การเล่นชู้” (มอยเฆ่อา) ในข้อนี้อยู่ในรูปพหูพจน์—ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “เล่นชู้, มีชู้”
การผิดศีลธรรมทางเพศ: คำกรีก พอร์เน่อา ที่ใช้ในข้อนี้อยู่ในรูปพหูพจน์ ซึ่งสื่อความหมายว่ามีการทำผิดศีลธรรมทางเพศหลายครั้ง—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 5:32 และส่วนอธิบายศัพท์
ฟีนิเซียในแคว้นซีเรีย: ในสมัยพระเยซู ฟีนิเซียเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นซีเรียที่อยู่ใต้การปกครองของโรม—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 15:22 ซึ่งในข้อนั้นบอกว่าผู้หญิงคนนี้เป็น “ชาวฟีนิเซีย” หรือ “ชาวคานาอัน”
ลูกหลานของดาวิด: คำนี้แสดงว่าพระเยซูเป็นผู้รับมรดกตามสัญญาเรื่องรัฐบาลที่พระเจ้าทำกับดาวิด สัญญานี้จะเป็นจริงโดยลูกหลานคนหนึ่งของดาวิด—2ซม 7:11-16; สด 89:3, 4
คำนับ: หรือ “ทำความเคารพ” ดูเหมือนการที่ผู้หญิงที่ไม่ใช่ชาวยิวคนนี้เรียกพระเยซูว่า “ลูกหลานดาวิด” (มธ 15:22) แสดงว่าเธอยอมรับว่าท่านเป็นเมสสิยาห์ที่สัญญาไว้ เธอคำนับท่านไม่ใช่ในฐานะพระหรือเทพเจ้า แต่ในฐานะตัวแทนของพระเจ้า—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:2; 8:2; 14:33; 18:26
ชาวฟีนิเซีย: หรือ “ชาวคานาอัน” มาจากคำกรีก ฆานาไนอา คนที่อาศัยอยู่ในฟีนิเซียยุคแรก ๆ สืบเชื้อสายมาจากคานาอันหลานชายของโนอาห์ (ปฐก 9:18; 10:6) และในสมัยพระเยซู คำว่า “คานาอัน” มักจะหมายถึงเขตฟีนิเซีย—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 7:26 ซึ่งพูดถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่มาจาก “ฟีนิเซียในแคว้นซีเรีย”
ลูกหลานดาวิด: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 1:1; 15:25
เคารพ: หรือ “คำนับ” เมื่อใช้คำกริยากรีก พะรอสคูเนะโอ กับพระหรือเทพเจ้า ก็จะแปลคำนี้ว่า “นมัสการ” แต่ในท้องเรื่องนี้ พวกโหรกำลังถามหา “เด็กที่เกิดมาที่จะเป็นกษัตริย์ ของชาวยิว” จึงเห็นได้ชัดว่าพวกเขามาเคารพกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์ ไม่ใช่พระ มีการใช้คำกรีกนี้ในความหมายเดียวกันนี้ที่ มก 15:18, 19 ด้วย ในข้อนั้น พวกทหารล้อเลียนพระเยซูโดย “คำนับ” ท่านและเรียกท่านว่า “กษัตริย์ของชาวยิว”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 18:26
แสดงความเคารพ: หรือ “คำนับ, ให้เกียรติ” พระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูพูดถึงบางคนที่คำนับหรือทำความเคารพเมื่อพวกเขาเจอผู้พยากรณ์ กษัตริย์ หรือคนอื่น ๆ ที่เป็นตัวแทนของพระเจ้า (1ซม 25:23, 24; 2ซม 14:4-7; 1พก 1:16; 2พก 4:36, 37) ดูเหมือนว่าผู้ชายโรคเรื้อนคนนี้รู้ว่าเขากำลังพูดกับตัวแทนของพระเจ้าซึ่งมีอำนาจรักษาโรคให้กับผู้คน จึงเป็นเรื่องเหมาะสมที่เขาจะคำนับพระเยซูเพื่อแสดงว่าเขาเคารพผู้ที่พระยะโฮวาแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์—มธ 9:18; สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำกรีกนี้ ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:2
หมอบลงแสดงความเคารพ: หรือ “คำนับ, ทำความเคารพ” คนเหล่านี้ยอมรับว่าพระเยซูเป็นตัวแทนของพระเจ้า พวกเขาแสดงความเคารพท่านไม่ใช่ในฐานะพระหรือเทพเจ้า แต่ในฐานะ “ลูกของพระเจ้า”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:2; 8:2; 18:26
หมอบลง: หรือ “คำนับ, ทำความเคารพ” เมื่อใช้คำกริยากรีก พะรอสคูเนะโอ กับพระหรือเทพเจ้า ก็จะแปลคำนี้ว่า “นมัสการ” แต่ในท้องเรื่องนี้ การหมอบลงของทาสเป็นการแสดงความนับถือและการยอมรับอำนาจของคนที่มีตำแหน่งสูงกว่าเขา—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:2; 8:2
คำนับ: หรือ “ทำความเคารพ” ดูเหมือนการที่ผู้หญิงที่ไม่ใช่ชาวยิวคนนี้เรียกพระเยซูว่า “ลูกหลานดาวิด” (มธ 15:22) แสดงว่าเธอยอมรับว่าท่านเป็นเมสสิยาห์ที่สัญญาไว้ เธอคำนับท่านไม่ใช่ในฐานะพระหรือเทพเจ้า แต่ในฐานะตัวแทนของพระเจ้า—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:2; 8:2; 14:33; 18:26
ลูก ๆ . . . ลูกหมา: เนื่องจากหมาเป็นสัตว์ที่ไม่สะอาดตามกฎหมายของโมเสส คัมภีร์ไบเบิลจึงมักใช้คำนี้ในเชิงดูถูก (ลนต 11:27; มธ 7:6; ฟป 3:2; วว 22:15) แต่ในบันทึกคำพูดของพระเยซูที่มาระโก (7:27) และมัทธิวมีการใช้คำนี้ในรูปคำที่สื่อถึงขนาดเล็ก ซึ่งแปลได้ว่า “ลูกหมา” หรือ “หมาที่เลี้ยงในบ้าน” ทำให้ตัวอย่างเปรียบเทียบนี้นุ่มนวลขึ้น นี่อาจทำให้เห็นว่าพระเยซูใช้คำที่แสดงถึงความรักใคร่เอ็นดูซึ่งคนที่ไม่ใช่ชาวยิวใช้เรียกสัตว์เลี้ยงในบ้านของเขา การที่พระเยซูเปรียบชาวยิวเป็นเหมือน “ลูก” และคนที่ไม่ใช่ยิวเป็นเหมือน “ลูกหมา” อาจเพื่อให้เห็นว่าควรให้ความสำคัญกับใครก่อน เพราะในบ้านที่มีทั้งลูกและหมา ลูกจะได้กินอาหารก่อน
คนพิการหายเป็นปกติ: สำเนาพระคัมภีร์บางฉบับไม่มีข้อความนี้ แต่สำเนาพระคัมภีร์ส่วนใหญ่ในยุคแรกและอีกหลายฉบับในยุคหลังมีข้อความนี้อยู่ด้วย
รู้สึกสงสาร: คำกริยากรีก สะพลางค์นิศอไม ที่ใช้ในสำนวนนี้เกี่ยวข้องกับคำว่า “ลำไส้” (สะพลางค์นา) คำนี้แสดงถึงความรู้สึกที่อยู่ในส่วนลึกของตัวเรา ซึ่งเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง นี่เป็นหนึ่งในคำกรีกที่แสดงถึงความรู้สึกสงสารที่แรงกล้าที่สุด
สงสาร: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 9:36
ตะกร้า: อาจเป็นตะกร้าสานใบเล็กที่มีหูทำจากเชือกไว้หิ้วหรือสะพายไปได้เวลาเดินทาง เชื่อกันว่าตะกร้าแบบนี้จุได้ประมาณ 7.5 ลิตร—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:9, 10
ตะกร้าใหญ่: ในข้อนี้ลูกาใช้คำกรีก สพูรีส ซึ่งเป็นคำเดียวกับที่มัทธิวและมาระโกใช้เมื่อพูดถึงตะกร้า 7 ใบที่ใช้เก็บอาหารเหลือหลังจากที่พระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชาย 4,000 คน (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 15:37) คำนี้หมายถึงตะกร้าใหญ่หรือกระบุง แต่ตอนที่เปาโลเล่าให้คริสเตียนในเมืองโครินธ์ฟังเกี่ยวกับวิธีที่เขาหนี เขาใช้คำกรีก ซาร์กาเน ที่หมายถึงตะกร้าสาน หรือ “ตะกร้าหวาย” ซึ่งทำมาจากเชือกหรือกิ่งไม้ คำกรีกทั้ง 2 คำนี้สามารถใช้เพื่อหมายถึงตะกร้าใหญ่ชนิดเดียวกัน—2คร 11:32, 33
ตะกร้าใหญ่: หรือ “กระบุง” คำกรีก สพูรีส ที่ใช้ในข้อนี้ดูเหมือนหมายถึงตะกร้าที่มีขนาดใหญ่กว่าตะกร้าที่ใช้ก่อนหน้านี้ตอนพระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 14:20) “ตะกร้า” ที่ศิษย์ของเปาโลให้เขานั่งแล้วหย่อนลงทางช่องหน้าต่างบนกำแพงเมืองดามัสกัสก็มาจากคำกรีกเดียวกันนี้—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 9:25
ไม่นับผู้หญิงและเด็ก: เฉพาะมัทธิวเท่านั้นที่พูดถึงการอัศจรรย์ครั้งนี้ว่ามีผู้หญิงและเด็กรวมอยู่ด้วย เป็นไปได้ว่าจำนวนคนทั้งหมดที่พระเยซูเลี้ยงอาหารโดยการอัศจรรย์มีมากกว่า 12,000 คน
มากาดาน: ทุกวันนี้ไม่มีเขตที่เรียกว่ามากาดานบริเวณรอบทะเลสาบกาลิลี แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่ามากาดานน่าจะเป็นที่เดียวกับมักดาลา ซึ่งก็คือกีร์เบต มัจดัล (มิกดัล) ที่อยู่ห่างจากเมืองทิเบเรียสไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 กม. บันทึกเหตุการณ์เดียวกัน (มก 8:10) เรียกที่นี่ว่าดาลมานูธา—ดูภาคผนวก ข10
วีดีโอและรูปภาพ

คัมภีร์ไบเบิลใช้หลายคำเมื่อพูดถึงตะกร้า เช่น เมื่อพูดถึงตะกร้า 12 ใบที่ใช้เก็บเศษอาหารที่เหลือตอนที่พระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 5,000 คน มีการใช้คำกรีกที่แสดงให้เห็นว่าเป็นตะกร้าสานที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่เมื่อพูดถึงตะกร้า 7 ใบที่ใส่เศษอาหารหลังจากที่พระเยซูเลี้ยงอาหารผู้ชายประมาณ 4,000 คน ก็มีการใช้คำกรีกอีกคำหนึ่ง (มก 8:8, 9) ซึ่งเป็นคำที่แสดงให้เห็นว่าเป็นตะกร้าขนาดใหญ่ ตะกร้าที่ศิษย์ของเปาโลให้เขานั่งแล้วหย่อนลงทางช่องหน้าต่างบนกำแพงเมืองดามัสกัสก็มาจากคำกรีกเดียวกันนี้—กจ 9:25

หลังจากเลี้ยงอาหารผู้ชาย 4,000 คน ไม่นับผู้หญิงและเด็ก พระเยซูกับสาวกก็นั่งเรือข้ามไปที่เขตมากาดานบนชายฝั่งด้านตะวันตกของทะเลสาบกาลิลี ในบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่หนังสือมาระโก บริเวณนั้นเรียกว่า ดาลมานูธา—มก 8:10; สำหรับแผนที่รายละเอียดเกี่ยวกับงานรับใช้ของพระเยซู ดูภาคผนวก ก7-ง