กิจการของอัครสาวก 23:1-35
เชิงอรรถ
ข้อมูลสำหรับศึกษา
ผมไม่ได้ทำอะไรผิด: หรือ “ผมประพฤติตัวดี” คำกริยากรีก พอลิทือออไม ที่ใช้ในข้อนี้อาจแปลได้ว่า “ประพฤติตัวดีในฐานะพลเมือง” (ฉบับคิงดอม อินเตอร์ลิเนียร์) เปาโลกำลังบอกว่าเขาประพฤติตัวอย่างเหมาะสมในฐานะพลเมืองที่ทำตามกฎหมายของประเทศ ปกติแล้วพลเมืองโรมันจะร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำกันในรัฐ เพราะสิทธิ์การเป็นพลเมืองโรมันมีค่ามากและมาพร้อมกับหน้าที่รับผิดชอบกับสิทธิพิเศษต่าง ๆ (กจ 22:25-30) คำพูดของเปาโลในเหตุการณ์นี้ที่บอกว่าเขา “ไม่ได้ทำอะไรผิด” หรือเขาประพฤติตัวดีต่อหน้าพระเจ้าอาจแสดงให้เห็นว่าเปาโลถือว่าการเป็นพลเมืองในรัฐบาลของพระเจ้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด—ฟป 3:20; เทียบกับการใช้คำกริยาเดียวกันนี้ที่ ฟป 1:27; เชิงอรรถ
ผมเป็นฟาริสี: บางคนในกลุ่มผู้ฟังรู้จักเปาโล (กจ 22:5) การที่เปาโลบอกว่าเขาเป็นลูกของฟาริสีทำให้ผู้ฟังเข้าใจว่าเปาโลก็มีพื้นเพเหมือนกับพวกเขา พวกเขายอมรับว่าที่เปาโลพูดเป็นเรื่องจริง เพราะพวกฟาริสีในศาลแซนเฮดรินรู้ว่าเปาโลเปลี่ยนมาเป็นคริสเตียนที่กระตือรือร้น แต่ตามท้องเรื่องนี้ เราน่าจะเข้าใจจุดประสงค์ที่เปาโลบอกว่าเขาเป็นฟาริสีได้ในทำนองนี้ เขาบอกว่าตัวเองเป็นฟาริสีไม่ได้บอกว่าเป็นสะดูสี เพราะเขาเชื่อเรื่องการฟื้นขึ้นจากตายเหมือนพวกฟาริสี เขาทำอย่างนั้นเพื่อจะหาจุดเห็นพ้องกับพวกฟาริสีที่อยู่ที่นั่น เขาอาจหวังว่าการยกเรื่องที่สมาชิกศาลแซนเฮดรินไม่เห็นพ้องกันจะทำให้บางคนเห็นใจเขา และวิธีนี้ก็ได้ผล (กจ 23:7-9) คำพูดของเปาโลใน กจ 23:6 สอดคล้องกับตอนที่เขาอธิบายเกี่ยวกับตัวเขาเองต่อหน้ากษัตริย์อากริปปาเพื่อปกป้องสิทธิ์ของเขา (กจ 26:5) และตอนที่เปาโลอยู่ในโรม เขาเขียนจดหมายถึงพี่น้องคริสเตียนในฟีลิปปี เขาก็บอกอีกว่าตัวเองเป็นฟาริสี (ฟป 3:5) และน่าสังเกตว่าใน กจ 15:5 มีการพูดถึงคริสเตียนคนอื่น ๆ ที่เคยเป็นฟาริสีด้วย
สาบานตัว: หรือ “ผูกมัดตัวเองด้วยคำสาบาน” มาจากคำกรีก อานาเธะมาทิโศ ซึ่งน่าจะหมายถึงการสาบานว่าถ้าไม่ทำตามที่พูด หรือสาบานว่าถ้าสิ่งที่พูดไม่เป็นความจริงก็ขอให้คนที่สาบานมีอันเป็นไป
ผู้นำ: แปลตรงตัวว่า “คนสูงอายุ” คำกรีก เพร็สบูเทะรอส ที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิลมักจะหมายถึงคนที่มีตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบในชุมชนหรือในชาติ ถึงแม้คำนี้บางครั้งหมายถึงคนที่อายุมากกว่าหรือคนสูงอายุ (เช่นที่ ลก 15:25; กจ 2:17) แต่ก็มีความหมายในแง่อื่นด้วย ในข้อนี้คำว่า “ผู้นำ” หมายถึงพวกผู้นำชาวยิวซึ่งคัมภีร์ไบเบิลมักพูดถึงพวกเขาพร้อมกับพวกปุโรหิตใหญ่และครูสอนศาสนา สมาชิกศาลแซนเฮดรินก็ประกอบด้วยคนจาก 3 กลุ่มนี้—มธ 21:23; 26:3, 47, 57; 27:1, 41; 28:12; ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ผู้นำ”
สาบานตัว: หรือ “ผูกมัดตัวเองด้วยคำสาบาน” มาจากคำกรีก อานาเธะมาทิโศ ซึ่งน่าจะหมายถึงการสาบานว่าถ้าไม่ทำตามที่พูด หรือสาบานว่าถ้าสิ่งที่พูดไม่เป็นความจริงก็ขอให้คนที่สาบานมีอันเป็นไป
ผู้นำ: ในข้อนี้คำว่า “ผู้นำ” หมายถึงพวกผู้นำชาวยิวซึ่งคัมภีร์ไบเบิลมักพูดถึงพวกเขาพร้อมกับพวกปุโรหิตใหญ่และครูสอนศาสนา—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 16:21
สาบาน: หรือ “ผูกมัดตัวเองด้วยคำสาบาน”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 23:12
สาบานตัว: หรือ “ผูกมัดตัวเองด้วยคำสาบาน” มาจากคำกรีก อานาเธะมาทิโศ ซึ่งน่าจะหมายถึงการสาบานว่าถ้าไม่ทำตามที่พูด หรือสาบานว่าถ้าสิ่งที่พูดไม่เป็นความจริงก็ขอให้คนที่สาบานมีอันเป็นไป
สาบาน: หรือ “ผูกมัดตัวเองด้วยคำสาบาน”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 23:12
ตอนเย็น: ข้อนี้พูดถึงการแบ่งเวลาตามระบบกรีกและโรมันที่แบ่งเวลากลางคืนเป็น 4 ช่วง ช่วงละ 3 ชั่วโมง ตั้งแต่ 6 โมงเย็นจนถึง 6 โมงเช้า (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาอื่น ๆ ในข้อนี้ด้วย) สมัยก่อนชาวฮีบรูเคยแบ่งเวลากลางคืนเป็น 3 ยามหรือ 3 ช่วง ช่วงละ 4 ชั่วโมง (อพย 14:24; วนฉ 7:19) แต่ในสมัยพระเยซูมีการเอาระบบโรมันมาใช้ คำว่า “ตอนเย็น” ในข้อนี้หมายถึงช่วงแรก คือตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกจนถึงประมาณ 3 ทุ่ม—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 14:25
3 ทุ่ม: แปลตรงตัวว่า “ชั่วโมงที่ 3” นับตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตก ปกติแล้วในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกมักพูดถึงการแบ่งเวลาเป็น “ยาม” ตามระบบการแบ่งเวลาของกรีกและโรมัน (มธ 14:25; มก 6:48; ลก 12:38) แต่ในข้อนี้เป็นข้อเดียวที่พูดถึงการแบ่งเวลาช่วงกลางคืนเป็น “ชั่วโมง”—เทียบกับ กจ 16:25, 33; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 13:35
สวัสดีพี่น้องทุกคน: มีการใช้คำกรีก ไฆโร ที่แปลตรงตัวว่า “มีความสุข” ในข้อนี้เพื่อเป็นคำทักทาย และถ่ายทอดแนวคิดที่ว่า “ขอให้พวกคุณมีความสงบสุข” คำนำของจดหมายเกี่ยวกับการเข้าสุหนัตที่ส่งไปถึงประชาคมต่าง ๆ นี้เป็นรูปแบบการเขียนจดหมายสมัยก่อน จดหมายนี้เริ่มต้นด้วยการบอกว่าผู้เขียนเป็นใคร จากนั้นก็พูดถึงผู้รับ และก็ตามด้วยคำทักทาย (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 23:26) ในบรรดาจดหมายทั้งหมดของพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก มีแต่จดหมายของยากอบเท่านั้นที่ทักทายโดยใช้คำกรีก ไฆโร ซึ่งเป็นคำเดียวกับที่ใช้ในจดหมายนี้จากคณะกรรมการปกครองในศตวรรษแรก (ยก 1:1) เนื่องจากยากอบมีส่วนร่วมในการเขียนจดหมายฉบับนี้ จึงสรุปได้ว่ายากอบที่เขียนหนังสือยากอบในพระคัมภีร์เป็นคนเดียวกับยากอบที่เป็นประธานการประชุมซึ่งมีบันทึกไว้ในกิจการ บท 15
ผมคลาวดิอัสลีเซียส เรียนท่านผู้ว่าราชการเฟลิกส์ที่นับถือ: หรือ “ผมคลาวดิอัสลีเซียส เขียนถึงผู้ว่าราชการเฟลิกส์ที่นับถือ สวัสดีครับ” นี่เป็นคำขึ้นต้นจดหมายตามรูปแบบการเขียนสมัยก่อน จดหมายนี้เริ่มต้นด้วยการบอกว่าผู้เขียนเป็นใคร จากนั้นก็พูดถึงผู้รับ และก็ตามด้วยคำทักทายโดยใช้คำกรีก ไฆโร ที่แปลตรงตัวว่า “มีความสุข” คำนี้ถ่ายทอดแนวคิดที่ว่า “ขอให้พวกคุณมีความสงบสุข” มักมีคำทักทายแบบนี้อยู่ในจดหมายพาไพรัสที่ไม่ใช่คัมภีร์ไบเบิล คำขึ้นต้นจดหมายอีกอย่างหนึ่งที่คล้ายกันมีอยู่ที่ กจ 15:23 และ ยก 1:1—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 15:23
พวกเราที่เป็นพลเมืองโรมัน: คือมีสัญชาติโรมัน เปาโลและน่าจะรวมถึงสิลาสด้วยเป็นพลเมืองโรมัน และตามกฎหมายโรมัน พลเมืองมีสิทธิ์เรียกร้องความยุติธรรมต่อศาลและจะไม่ถูกลงโทษในที่สาธารณะถ้ายังไม่ได้ตัดสินว่ามีความผิด พวกเขายังได้รับสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่างไม่ว่าเขาจะไปที่ไหนในจักรวรรดิ พลเมืองโรมันอยู่ภายใต้กฎหมายโรมัน ไม่ใช่กฎหมายท้องถิ่นประจำเมือง เมื่อถูกกล่าวหาเขาสามารถขอให้มีการพิจารณาคดีตามกฎหมายท้องถิ่นได้ แต่ก็ยังมีสิทธิ์ร้องเรียนต่อศาลยุติธรรมของโรม และในกรณีความผิดร้ายแรงที่อาจทำให้ได้รับโทษถึงตาย เขามีสิทธิ์ร้องเรียนต่อองค์จักรพรรดิได้ด้วย อัครสาวกเปาโลประกาศอย่างกว้างไกลในจักรวรรดิโรมัน และตามที่บันทึกในคัมภีร์ไบเบิล เขาใช้ประโยชน์จากสิทธิ์ของการเป็นพลเมืองโรมัน 3 ครั้ง ครั้งแรกก็คือที่นี่ในเมืองฟีลิปปี ตอนที่เปาโลบอกเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองชาวฟีลิปปีว่าพวกเขากำลังละเมิดสิทธิ์ของเปาโลโดยการเฆี่ยนเขา—อีก 2 ครั้ง ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 22:25; 25:11
พลเมืองโรมัน: คือมีสัญชาติโรมัน ตามที่บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลนี่เป็นครั้งที่ 2 ใน 3 ครั้งที่เปาโลใช้ประโยชน์จากสิทธิ์การเป็นพลเมืองโรมัน ปกติแล้วเจ้าหน้าที่โรมันจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับปัญหาของชาวยิว แต่ที่พวกเขายุ่งเกี่ยวกับเรื่องของเปาโลก็ไม่ใช่แค่เพราะเกิดจลาจลตอนที่เปาโลไปวิหาร แต่ยังเป็นเพราะเปาโลเป็นพลเมืองโรมันด้วย การเป็นพลเมืองโรมันทำให้ผู้คนมีสิทธิพิเศษหลายอย่างและเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับทั่วทั้งจักรวรรดิ ตัวอย่างเช่น เป็นเรื่องผิดกฎหมายที่จะมัดหรือเฆี่ยนพลเมืองโรมันที่ยังไม่ได้ถูกตัดสินว่ามีความผิด เพราะนี่เป็นสิ่งที่เขาจะทำเฉพาะกับคนที่เป็นทาสเท่านั้น—อีก 2 ครั้ง ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 16:37; 25:11
พลเมืองโรมัน: คือมีสัญชาติโรมัน—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 16:37; 22:25
บ้านผู้ว่าราชการ: บ้านพักผู้ว่าราชการโรมันในภาษากรีกคือ ไพรโทริออน (มาจากภาษาละติน ไปรโตเรียน ) บ้านพักนี้ในกรุงเยรูซาเล็มอาจเป็นวังที่เฮโรดมหาราชสร้างไว้ วังนี้อยู่ที่มุมทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองส่วนบน ซึ่งก็คือทางใต้ของกรุงเยรูซาเล็ม (ดูภาคผนวก ข12 เพื่อจะรู้ตำแหน่งของบ้าน) ปีลาตจะพักอยู่ในกรุงเยรูซาเล็มบางช่วงเท่านั้น เช่น ในช่วงเทศกาล เพราะเป็นช่วงที่อาจเกิดความไม่สงบได้ง่าย ปกติแล้วเขาจะอยู่ที่เมืองซีซารียา
วัง: หรือ “ไปรโตเรียน” ในหนังสือข่าวดีและหนังสือกิจการ คำกรีก ไพรโทริออน (มาจากคำละติน) ใช้เพื่อหมายถึงวังหรือบ้าน ตอนแรกคำว่าไปรโตเรียนใช้หมายถึงค่ายพักของผู้บัญชาการทหาร แต่ต่อมามีการใช้คำนี้เพื่อหมายถึงบ้านของผู้ว่าราชการ ในข้อนี้มีการใช้คำนี้เพื่อหมายถึงวังในเมืองซีซารียาซึ่งเป็นวังที่สร้างโดยเฮโรดมหาราช ในเหตุการณ์นี้คือประมาณปี ค.ศ. 56 วังนี้ถูกใช้เป็นบ้านของผู้ว่าราชการโรมัน—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:27
วีดีโอและรูปภาพ

ปกติแล้วทหารโรมันจะถืออาวุธที่มีด้ามยาวสำหรับใช้แทงหรือพุ่งใส่ศัตรู หอกที่เรียกว่าไพลัม (หมายเลข 1) มีน้ำหนักมากจนไม่สามารถพุ่งได้ไกล แต่มันสามารถแทงทะลุเสื้อเกราะหรือโล่ได้ มีหลักฐานว่าทหารในกองทัพโรมันมักจะถือไพลัม เวลาออกรบ ส่วนหอกธรรมดา (หมายเลข 2) มีด้ามเป็นไม้และมีปลายแหลมทำจากเหล็กหล่อ บางครั้งทหารกองหนุนก็ถือหอกแบบนี้หนึ่งอันหรือมากกว่านั้น ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าหอกที่ใช้แทงสีข้างของพระเยซูเป็นหอกแบบไหน