กิจการของอัครสาวก 19:1-41
เชิงอรรถ
ข้อมูลสำหรับศึกษา
บัพติศมาของยอห์น: การบัพติศมานี้เป็นการประกาศอย่างเปิดเผยว่าใครคนหนึ่งกลับใจเนื่องจากเขาไม่ได้ทำตามกฎหมายที่พระยะโฮวาให้กับโมเสส ซึ่งเป็นกฎหมายที่ชาวยิวสัญญาว่าจะทำตาม (อพย 24:7, 8) แต่การบัพติศมาของยอห์นถูกยกเลิกหลังวันเพ็นเทคอสต์ปี ค.ศ. 33 ตอนที่สัญญาเกี่ยวกับกฎหมายสิ้นสุดลง (รม 10:4; กท 3:13; อฟ 2:13-15; คส 2:13, 14) ตั้งแต่ตอนนั้น การรับบัพติศมาแบบเดียวที่พระยะโฮวายอมรับก็คือการรับบัพติศมาที่พระเยซูสั่งให้สาวกทำ (มธ 28:19, 20) เหตุการณ์เกี่ยวกับอปอลโลที่พูดถึงในข้อนี้เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 52
บัพติศมาของยอห์น: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 18:25
ทางนั้น: คำนี้ในหนังสือกิจการมีความหมายได้ 2 อย่าง อย่างแรกก็คือการใช้ชีวิตแบบคริสเตียน และอย่างที่สอง คือประชาคมคริสเตียนในยุคแรก คำนี้อาจมาจากคำพูดของพระเยซูที่ ยน 14:6 ที่บอกว่า “ผมเป็นทางนั้น” คนทั่วไปมักเรียกสาวกของพระเยซูว่าพวก “ทางนั้น” เพราะพวกสาวกเลียนแบบพระเยซูและใช้ชีวิตตามแนวทางของท่าน (กจ 19:9) พระเยซูทุ่มเทชีวิตของท่านให้กับการนมัสการพระยะโฮวาพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวเท่านั้น นอกจากนั้น เพื่อคริสเตียนจะใช้ชีวิตแบบนี้ได้ พวกเขาก็ต้องมีความเชื่อในพระเยซูคริสต์ด้วย ไม่นานหลังปี ค.ศ. 44 ที่เมืองอันทิโอกในแคว้นซีเรียก็เริ่มมีการเรียกสาวกของพระเยซูว่าเป็น “คริสเตียน . . . ตามการชี้นำจากพระเจ้า” (กจ 11:26) ถึงแม้พวกสาวกจะได้ชื่อว่าเป็นคริสเตียนแล้ว แต่ลูกาก็ยังเรียกประชาคมคริสเตียนว่า “ทางนั้น”—กจ 19:23; 22:4; 24:22; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 18:25; 19:23
ทางนั้น: อย่างที่บอกในข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 9:2 มีการใช้คำว่า “ทางนั้น” เพื่อหมายถึงประชาคมคริสเตียนในยุคแรก แนวทางของคริสเตียนแท้เกี่ยวข้องกับการนมัสการพระเจ้าและการได้รับการชี้นำจากพลังของพระองค์ (ยน 4:23, 24) แนวทางนี้ไม่ได้เป็นแค่สิ่งที่เห็นภายนอกหรือรูปแบบการนมัสการเท่านั้น พระคัมภีร์ฉบับเพชิตตา ภาษาซีรีแอกใช้คำว่า “แนวทางของพระเจ้า” ส่วนฉบับวัลเกต ภาษาละติน (ฉบับแปลเคลเมนทีน) ใช้คำว่า “แนวทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า” และฉบับแปลบางฉบับที่แปลพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเป็นภาษาฮีบรูก็ใช้ชื่อของพระเจ้าในข้อนี้ซึ่งอ่านว่า “แนวทางของพระยะโฮวา”
ทางนั้น: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 9:2; 19:23 และส่วนอธิบายศัพท์
ห้องประชุมโรงเรียนของทีรันนัส: หรือ “ห้องบรรยายของทีรันนัส” พระคัมภีร์ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนอะไร แต่ดูเหมือนเปาโลได้รับอนุญาตให้ใช้ห้องประชุมในโรงเรียนนี้ ซึ่งอาจเป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน สำเนาพระคัมภีร์เก่าแก่บางฉบับเพิ่มข้อความที่บอกว่า “ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 5 ถึง ชั่วโมงที่ 10” ซึ่งก็คือตั้งแต่ประมาณ 11 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น การที่ไม่มีข้อความนี้ในสำเนาพระคัมภีร์หลายฉบับในยุคแรกแสดงให้เห็นว่าไม่มีข้อความนี้อยู่ในต้นฉบับ แต่บางคนคิดว่าถึงจะไม่มีข้อความนี้อยู่ในต้นฉบับ แต่ช่วงเวลานี้ก็น่าจะเป็นไปได้และทำให้เราเห็นตารางงานรับใช้ของเปาโลในแต่ละวันที่เขาอยู่ในเมืองเอเฟซัส นี่แสดงว่าเปาโลชอบใช้เวลาที่คนส่วนใหญ่หยุดพักจากการทำงานเพื่อสอนสาวกซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนแต่เงียบสงบ
แคว้นเอเชีย: ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “เอเชีย”
ผ้าหรือผ้ากันเปื้อน: ผ้านี้อาจเป็นผ้าเช็ดหน้าที่เปาโลคาดที่หน้าผากเพื่อกันไม่ให้เหงื่อเข้าตา ส่วนผ้ากันเปื้อนเป็นผ้าที่คนใช้แรงงานใส่กัน นี่แสดงให้เห็นว่าตอนที่มีเวลาว่างเปาโลมักจะทำงานเย็บเต็นท์ซึ่งอาจเป็นช่วงเช้าของทุกวัน—กจ 20:34, 35
เวทมนตร์คาถา: มาจากคำกรีก เพะริเออร์กา ที่แปลว่า “ความอยากรู้อยากเห็น” พจนานุกรมเล่มหนึ่งอธิบายความหมายของคำนี้ว่า “เกี่ยวข้องกับความอยากรู้อยากเห็นที่ไม่เหมาะสมหรือผิดทาง เช่น การใช้เวทมนตร์” (A Greek-English Lexicon of the New Testament and Other Early Christian Literature, Third Edition, 2000) มีการใช้คำนี้เพื่อพูดถึงการกระทำของคนที่ขอความช่วยเหลือจากวิญญาณชั่วเพื่อจะรู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ ผู้คนมากมายในเมืองเอเฟซัสใช้เวทมนตร์คาถาและยุ่งเกี่ยวกับพวกผีปีศาจ ตอนที่เปาโลเขียนจดหมายไปถึงพี่น้องในเมืองเอเฟซัสเขากระตุ้นให้สวมเครื่องอาวุธครบชุดจากพระเจ้าเพื่อจะต่อสู้กับกองทัพปีศาจชั่วได้—อฟ 6:11, 12
50,000 เหรียญ: ถ้าเงินเหรียญที่พูดถึงในข้อนี้หมายถึงดรัคมาหรือเดนาริอัน คนงานสมัยนั้นต้องใช้เวลา 50,000 วัน หรือประมาณ 137 ปีเพื่อจะได้เงินจำนวนนั้นหากเขาทำงานทุกวันตลอดสัปดาห์
คำสอนของพระยะโฮวา: สำนวนนี้มาจากพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู ซึ่งมีคำฮีบรูรวมกัน 2 คำ คือ “คำสอน” และเททรากรัมมาทอน จึงรวมกันเป็น “คำสอนของพระยะโฮวา” มีสำนวนนี้และสำนวนคล้าย ๆ กันอยู่ในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูประมาณ 200 ครั้ง (ตัวอย่างของสำนวนนี้อยู่ที่ 2ซม 12:9; 24:11; 2พก 7:1; 20:16; 24:2; อสย 1:10; 2:3; 28:14; 38:4; ยรม 1:4; 2:4; อสค 1:3; 6:1; ฮชย 1:1; มคา 1:1; ศคย 9:1) ในสำเนาหนึ่งของฉบับเซปตัวจินต์ ยุคแรก ที่ ศคย 9:1 มีการใช้คำกรีก ลอกอส ตามด้วยชื่อพระเจ้าที่เขียนด้วยอักษรฮีบรูโบราณ () ชิ้นส่วนของสำเนานี้ถูกพบในถ้ำแห่งหนึ่งที่ทะเลทรายยูเดียใกล้ทะเลเดดซี ในนาฮาล เฮเวอร์ ประเทศอิสราเอล สำเนานี้ทำขึ้นระหว่างปี 50 ก่อน ค.ศ. ถึงปี ค.ศ. 50 ถึงแม้สำเนาพระคัมภีร์ภาคภาษากรีกส่วนใหญ่จะไม่มีชื่อของพระเจ้าในข้อนี้ แต่ก็มีเหตุผลที่ดีที่ฉบับแปลโลกใหม่ ใช้ชื่อของพระยะโฮวาในข้อนี้—ดูภาคผนวก ก5
คำสอนของพระยะโฮวา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 8:25
ทางนั้น: คำนี้ในหนังสือกิจการมีความหมายได้ 2 อย่าง อย่างแรกก็คือการใช้ชีวิตแบบคริสเตียน และอย่างที่สอง คือประชาคมคริสเตียนในยุคแรก คำนี้อาจมาจากคำพูดของพระเยซูที่ ยน 14:6 ที่บอกว่า “ผมเป็นทางนั้น” คนทั่วไปมักเรียกสาวกของพระเยซูว่าพวก “ทางนั้น” เพราะพวกสาวกเลียนแบบพระเยซูและใช้ชีวิตตามแนวทางของท่าน (กจ 19:9) พระเยซูทุ่มเทชีวิตของท่านให้กับการนมัสการพระยะโฮวาพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวเท่านั้น นอกจากนั้น เพื่อคริสเตียนจะใช้ชีวิตแบบนี้ได้ พวกเขาก็ต้องมีความเชื่อในพระเยซูคริสต์ด้วย ไม่นานหลังปี ค.ศ. 44 ที่เมืองอันทิโอกในแคว้นซีเรียก็เริ่มมีการเรียกสาวกของพระเยซูว่าเป็น “คริสเตียน . . . ตามการชี้นำจากพระเจ้า” (กจ 11:26) ถึงแม้พวกสาวกจะได้ชื่อว่าเป็นคริสเตียนแล้ว แต่ลูกาก็ยังเรียกประชาคมคริสเตียนว่า “ทางนั้น”—กจ 19:23; 22:4; 24:22; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 18:25; 19:23
ทางนั้น: อย่างที่บอกในข้อมูลสำหรับศึกษาที่ กจ 9:2 มีการใช้คำว่า “ทางนั้น” เพื่อหมายถึงประชาคมคริสเตียนในยุคแรก แนวทางของคริสเตียนแท้เกี่ยวข้องกับการนมัสการพระเจ้าและการได้รับการชี้นำจากพลังของพระองค์ (ยน 4:23, 24) แนวทางนี้ไม่ได้เป็นแค่สิ่งที่เห็นภายนอกหรือรูปแบบการนมัสการเท่านั้น พระคัมภีร์ฉบับเพชิตตา ภาษาซีรีแอกใช้คำว่า “แนวทางของพระเจ้า” ส่วนฉบับวัลเกต ภาษาละติน (ฉบับแปลเคลเมนทีน) ใช้คำว่า “แนวทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า” และฉบับแปลบางฉบับที่แปลพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเป็นภาษาฮีบรูก็ใช้ชื่อของพระเจ้าในข้อนี้ซึ่งอ่านว่า “แนวทางของพระยะโฮวา”
เทพธิดาอาร์เทมิส: เทพธิดาอาร์เทมิสแห่งเมืองเอเฟซัสเป็นเทพธิดาแห่งการเจริญพันธุ͌ ผู้คนในเมืองต่าง ๆ ทั่วเอเชียไมเนอร์นมัสการเทพธิดาองค์นี้ (กจ 19:27) ผู้คนมีความคิดเห็นต่างกันเกี่ยวกับรูปปั้นของเทพธิดาอาร์เทมิส บางคนคิดว่าลำตัวด้านบนมีสิ่งที่ห้อยเป็นพวงซึ่งดูเหมือนเต้านม แต่บางคนก็บอกว่าดูเหมือนไข่หรือลูกอัณฑะของวัวที่ถวายเป็นเครื่องบูชา ส่วนขาสองข้างของรูปปั้นชิดกันเหมือนถูกมัดไว้แบบมัมมี่และมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ กับรูปสัตว์ติดอยู่ ถึงแม้คนกรีกจะมีเทพธิดาชื่ออาร์เทมิสซึ่งเป็นเทพีผู้บริสุทธิ์ที่ชอบล่าสัตว์ แต่เทพธิดาอาร์เทมิสของเอเฟซัสแทบไม่มีอะไรคล้ายกันกับเทพธิดาของกรีก เทพธิดาอาร์เทมิสมีชื่อโรมันว่าไดอาน่า
พวกผู้ดูแลงานฉลองและการแข่งขันบางคน: คนกลุ่มนี้เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงหรือเป็นผู้นำของแคว้นเอเชียที่อยู่ภายใต้การปกครองของโรม พวกเขาน่าจะถูกเลือกให้นำหน้าเพราะพวกเขาเป็นคนที่มีอิทธิพลและร่ำรวย พวกเขาจะเป็นประธานและให้เงินสนับสนุนการแข่งขันกีฬาที่จัดขึ้นในแคว้นนั้น
ผู้สำเร็จราชการ: คือผู้ปกครองแคว้นที่สภาสูงของโรมันดูแล เขามีอำนาจในการตัดสินคดีและอำนาจทางการทหาร ถึงแม้สิ่งที่เขาทำต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงแต่เขาก็มีอำนาจสูงสุดในแคว้น แคว้นหนึ่งจะมีผู้สำเร็จราชการแค่คนเดียว เมืองเอเฟซัสเป็นเมืองหลวงของแคว้นเอเชียที่อยู่ภายใต้การปกครองของโรม และผู้สำเร็จราชการก็อาศัยอยู่ที่นั่น—ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “เอเชีย”
วีดีโอและรูปภาพ

มีการพบข้อความจารึกจำนวนมากในเมืองเอเฟซัสที่พูดถึงช่างเงินของเมืองนี้ ในภาพนี้เป็นข้อความจารึกที่ทำขึ้นในศตวรรษที่ 3 ที่ยกย่องผู้สำเร็จราชการวาเลริอัส เฟสทัสว่าเป็นผู้ทำประโยชน์เพื่อสังคม และยกย่องเขาที่สร้างอ่าวของเมืองนี้ ข้อความจารึกยืนยันว่าช่างเงินเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญมากและมีสมาคมเป็นของตัวเอง หนังสือกิจการบอกว่าช่างเหล่านี้ก่อจลาจลเพราะพวกเขาสูญเสียรายได้จากการขาย “วิหารจำลองของเทพธิดาอาร์เทมิส”—กจ 19:24

โรงละครที่เห็นในวีดีโอนี้สามารถจุคนได้ถึง 25,000 คน จึงเป็นโรงละครที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียไมเนอร์สมัยเปาโล โรงละครนี้ตั้งอยู่บนทางแยกที่เป็นจุดตัดของถนนสายหลัก 2 สายในเอเฟซัส และเป็นส่วนสำคัญของชีวิตผู้คนในเมืองนั้น โรงละครโรมันไม่ได้ใช้เพื่อจัดแสดงละครเท่านั้น แต่เพื่อจัดการโต้วาทีด้วย หลังจากเดเมตริอัสที่เป็นช่างเงินกับพวกช่างฝีมือในเมืองนั้นก่อความวุ่นวายเพื่อต่อต้านเปาโล ฝูงชนก็ลากเพื่อนร่วมเดินทางของเปาโลเข้าไปในโรงละครนี้—กจ 19:23-28
1. โรงละคร
2. อากอรา
3. ถนนอาร์เคเดียน
4. โรงฝึกกีฬา (สร้างปลายศตวรรษที่ 1)