กิจการของอัครสาวก 15:1-41

15  มี​บาง​คน​มา​จาก​แคว้น​ยูเดีย​และ​สอน​พี่​น้อง​ที่​เมือง​อันทิโอก​ว่า “ถ้า​พวก​คุณ​ไม่​เข้า​สุหนัต​ตาม​ธรรมเนียม​ของ​โมเสส+ พวก​คุณ​จะ​ไม่​รอด​นะ”  แต่​เปาโล​และ​บาร์นาบัส​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​พวก​เขา จึง​เกิด​การ​โต้​เถียง​กัน​มาก แล้ว​เปาโล บาร์นาบัส กับ​พี่​น้อง​บาง​คน​ก็​ได้​รับ​มอบหมาย​ให้​ไป​ถาม​พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ที่​กรุง​เยรูซาเล็ม+เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้  หลัง​จาก​พี่​น้อง​ใน​ประชาคม​เดิน​ทาง​ไป​ส่ง​พวก​เขา​ช่วง​หนึ่ง​แล้ว พวก​เขา​ก็​เดิน​ทาง​ต่อ​ไป​ผ่าน​ฟีนิเซีย+กับ​แคว้น​สะมาเรีย ระหว่าง​ทาง​พวก​เขา​เล่า​เรื่อง​ที่​คน​ต่าง​ชาติ​เปลี่ยน​มา​เชื่อ​พระเจ้า​ให้​พี่​น้อง​ฟัง​อย่าง​ละเอียด ทำ​ให้​ทุก​คน​ดีใจ​มาก  พอ​มา​ถึง​กรุง​เยรูซาเล็ม ประชาคม​ที่​นั่น​และ​พวก​อัครสาวก​รวม​ทั้ง​ผู้​ดู​แล​ก็​ต้อนรับ​พวก​เขา​อย่าง​อบอุ่น แล้ว​เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​ก็​เล่า​เรื่อง​ทั้ง​หมด​ที่​พระเจ้า​ใช้​ให้​ทั้ง​สอง​คน​ทำ+  แต่​สาวก​บาง​คน​ที่​เคย​นับถือ​นิกาย​ฟาริสี​มา​ก่อน​ได้​ลุก​ขึ้น​พูด​ว่า “ต้อง​ให้​คน​ต่าง​ชาติ​พวก​นั้น​เข้า​สุหนัต และ​สั่ง​ให้​ทำ​ตาม​กฎหมาย​ของ​โมเสส​ด้วย”+  พวก​อัครสาวก​กับ​ผู้​ดู​แล​จึง​ประชุม​กัน​เพื่อ​พิจารณา​เรื่อง​นี้  หลัง​จาก​ที่​คุย​กัน​อย่าง​เคร่ง​เครียด​แล้ว เปโตร​จึง​ลุก​ขึ้น​พูด​กับ​พวก​เขา​ว่า “พี่​น้อง​ครับ พวก​คุณ​ก็​รู้​ว่า​ใน​พวก​เรา พระเจ้า​เลือก​ผม​เป็น​คน​แรก​ให้​ประกาศ​ข่าว​ดี​กับ​คน​ต่าง​ชาติ​และ​ช่วย​เขา​ให้​เข้า​มา​เชื่อ+  และ​พระเจ้า​ซึ่ง​รู้​จัก​หัวใจ​ทุก​คน+ได้​ให้​หลักฐาน​ว่า​พระองค์​ยอม​รับ​คน​ต่าง​ชาติ โดย​ให้​พลัง​บริสุทธิ์+กับ​พวก​เขา​เหมือน​ที่​ให้​กับ​พวก​เรา  พระองค์​ไม่​ได้​ถือ​ว่า​พวก​เขา​ต่าง​จาก​พวก​เรา​เลย+ พระองค์​ได้​ชำระ​ล้าง​ใจ​พวก​เขา​ให้​สะอาด​เพราะ​พวก​เขา​มี​ความ​เชื่อ+ 10  ถ้า​อย่าง​นั้น ทำไม​พวก​คุณ​ถึง​ลอง​ดี​พระเจ้า​ด้วย​การ​วาง​ภาระ​หนัก​ให้​พวก​สาวก+ ซึ่ง​เป็น​ภาระ​ที่​พวก​เรา​เอง​หรือ​บรรพบุรุษ​ของ​พวก​เรา​ก็​แบก​ไม่​ไหว?+ 11  แต่​พวก​เรา​เชื่อ​ว่า​เรา​รอด​ได้​เพราะ​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​ของ​พระ​เยซู​ผู้​เป็น​นาย+ และ​พวก​เขา​ก็​เชื่อ​อย่าง​นี้​เหมือน​กัน”+ 12  เมื่อ​ได้​ยิน​อย่าง​นั้น​ทุก​คน​ก็​เงียบ และ​ตั้งใจ​ฟัง​บาร์นาบัส​กับ​เปาโล​เล่า​เรื่อง​ที่​พระเจ้า​ใช้​เขา​สอง​คน​ให้​ทำ​การ​อัศจรรย์​และ​แสดง​ปาฏิหาริย์​หลาย​อย่าง​ใน​หมู่​คน​ต่าง​ชาติ 13  พอ​ทั้ง​สอง​คน​พูด​จบ​แล้ว ยากอบ+ก็​พูด​ขึ้น​ว่า “พี่​น้อง ฟัง​ผม​นะ​ครับ+ 14  ซีเมโอน+ได้​เล่า​อย่าง​ละเอียด​แล้ว​ว่า​ตอน​นี้​พระเจ้า​หัน​มา​สนใจ​คน​ต่าง​ชาติ และ​แยก​คน​ออก​มา​ให้​เป็น​ประชาชน​กลุ่ม​หนึ่ง​ที่​ใช้​ชื่อ​ของ​พระองค์+ 15  เรื่อง​นี้​ตรง​กับ​ที่​เขียน​ไว้​ใน​หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์​ว่า 16  ‘หลัง​จาก​เหตุ​การณ์​เหล่า​นี้ เรา​จะ​กลับ​มา​สร้าง​เต็นท์​ของ​ดาวิด​ที่​พัง​ลง​แล้ว​ขึ้น​ใหม่ และ​สิ่ง​ที่​หัก​พัง​ไป​แล้ว​นั้น​เรา​จะ​สร้าง​ขึ้น​อีก​และ​ฟื้นฟู​ขึ้น​ใหม่ 17  เพื่อ​คน​ที่​เหลือ​อยู่​จะ​เสาะ​หา​เรา​ยะโฮวา​อย่าง​จริงจัง​ร่วม​กับ​ประชาชน​จาก​ทุก​ชาติ คือ​ประชาชน​ที่​ถูก​เรียก​ตาม​ชื่อ​ของ​เรา เรา​ยะโฮวา​ได้​พูด​ไว้​และ​เรา​เป็น​ผู้​ทำ​สิ่ง​นี้+ 18  ตาม​ที่​เรา​ตั้งใจ​จะ​ทำ​นาน​มา​แล้ว’+ 19  ดัง​นั้น ผม​เห็น​ว่า ไม่​ควร​ให้​คน​ต่าง​ชาติ​ที่​หัน​มา​หา​พระเจ้า​ต้อง​ยุ่งยาก​ลำบาก​ใจ+ 20  แต่​ให้​เขียน​บอก​พวก​เขา​ว่า​ให้​งด​เว้น​จาก​ของ​ที่​เซ่น​ไหว้​รูป​เคารพ+ จาก​การ​ผิด​ศีลธรรม​ทาง​เพศ+ จาก​สัตว์​ที่​ถูก​รัด​คอ​ตาย และ​จาก​เลือด+ 21  คำ​สั่ง​เหล่า​นี้​มี​อยู่​ใน​หนังสือ​ของ​โมเสส​มา​ตั้ง​แต่​สมัย​โบราณ​แล้ว มี​การ​สอน​เรื่อง​นี้​ตาม​เมือง​ต่าง ๆ และ​มี​การ​อ่าน​ให้​ฟัง​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​ทุก​วัน​สะบาโต”+ 22  แล้ว​พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​พร้อม​กับ​ทุก​คน​ใน​ประชาคม​ก็​ตัดสิน​ใจ​ว่า​จะ​ส่ง​บาง​คน​ใน​พวก​เขา​ไป​เมือง​อันทิโอก​พร้อม​กับ​เปาโล​และ​บาร์นาบัส คน​ที่​ถูก​เลือก​คือ​ยูดาส​ที่​มี​อีก​ชื่อ​หนึ่ง​ว่า​บาร์ซับบาส​กับ​สิลาส+ สอง​คน​นี้​เป็น​คน​ที่​นำ​หน้า​ใน​พวก​พี่​น้อง 23  พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​จึง​เขียน​จดหมาย​ฝาก​ไป​กับ​พวก​เขา จดหมาย​นั้น​มี​ข้อ​ความ​ว่า “จาก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ซึ่ง​เป็น​พี่​น้อง​ของ​พวก​คุณ ถึง​พี่​น้อง​ต่าง​ชาติ​ใน​เมือง​อันทิโอก+ ใน​แคว้น​ซีเรีย และ​ใน​แคว้น​ซิลีเซีย สวัสดี​พี่​น้อง​ทุก​คน 24  พวก​เรา​ได้​ยิน​ว่า​มี​บาง​คน​จาก​ที่​นี่​ไป​หา​พวก​คุณ พวก​เขา​พูด​บาง​อย่าง​ที่​ทำ​ให้​พวก​คุณ​ไม่​สบาย​ใจ+ และ​พยายาม​จะ​ทำลาย​ความ​เชื่อ​พวก​คุณ แต่​ที่​จริง​เรา​ไม่​ได้​ส่ง​พวก​เขา​ไป 25  พวก​เรา​จึง​มี​ความ​เห็น​เป็น​เอกฉันท์​ที่​จะ​เลือก​บาง​คน​ให้​ไป​หา​พวก​คุณ​พร้อม​กับ​พี่​น้อง​ที่​ทุก​คน​รัก คือ​บาร์นาบัส​กับ​เปาโล 26  ซึ่ง​ยอม​เสี่ยง​ชีวิต​เพื่อ​ชื่อ​ของ​พระ​เยซู​คริสต์​ผู้​เป็น​นาย​ของ​เรา+ 27  พวก​เรา​จึง​ส่ง​ยูดาส​กับ​สิลาส​ไป​ด้วย เพื่อ​พวก​เขา​จะ​ยืน​ยัน​เรื่อง​ใน​จดหมาย​ฉบับ​นี้​กับ​พวก​คุณ​ด้วย​ปาก​ของ​พวก​เขา​เอง+ 28  พลัง​บริสุทธิ์+และ​พวก​เรา​เห็น​ตรง​กัน​ว่า​จะ​ไม่​เพิ่ม​ภาระ​ให้​กับ​พวก​คุณ​นอก​จาก​สิ่ง​จำเป็น​ต่อ​ไป​นี้ คือ 29  ให้​งด​เว้น​จาก​ของ​ที่​เซ่น​ไหว้​รูป​เคารพ+ จาก​เลือด+ จาก​สัตว์​ที่​ถูก​รัด​คอ​ตาย+ และ​จาก​การ​ผิด​ศีลธรรม​ทาง​เพศ+ ถ้า​พวก​คุณ​หลีก​เลี่ยง​สิ่ง​เหล่า​นี้ พวก​คุณ​จะ​มี​ความ​สุข​ความ​เจริญ ด้วย​ความ​ปรารถนา​ดี” 30  สี่​คน​นั้น​ก็​เดิน​ทาง​ไป​เมือง​อันทิโอก พวก​เขา​เรียก​พี่​น้อง​มา​ประชุม​กัน​แล้ว​เอา​จดหมาย​ให้ 31  เมื่อ​พี่​น้อง​อ่าน​จดหมาย​แล้ว​ก็​มี​กำลังใจ​และ​ดีใจ​มาก 32  ยูดาส​กับ​สิลาส​ซึ่ง​เป็น​ผู้​พยากรณ์​ด้วย ก็​บรรยาย​ให้​พี่​น้อง​ฟัง​หลาย​เรื่อง ช่วย​ให้​พี่​น้อง​ได้​กำลังใจ​และ​มี​ความ​เชื่อ​เข้มแข็ง​ขึ้น+ 33  เมื่อ​อยู่​ที่​นั่น​ช่วง​หนึ่ง​แล้ว ก็​ถึง​เวลา​ที่​ยูดาส​กับ​สิลาส​จะ​กลับ​ไป​หา​พี่​น้อง​ที่​ส่ง​พวก​เขา​มา พวก​พี่​น้อง​ที่​เมือง​อันทิโอก​ก็​อวยพร​ให้​ทั้ง​สอง​คน​เดิน​ทาง​กลับ​อย่าง​ปลอด​ภัย 34  —— 35  ส่วน​เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​ยัง​สอน​ที่​เมือง​อันทิโอก​ต่อ และ​ประกาศ​ข่าว​ดี​เกี่ยว​กับ​คำ​สอน​ของ​พระ​ยะโฮวา​ด้วย​กัน​กับ​คน​อื่น​อีก​หลาย​คน​ที่​นั่น 36  หลัง​จาก​นั้น​ระยะ​หนึ่ง เปาโล​พูด​กับ​บาร์นาบัส​ว่า “ไป​กัน​เถอะ ไป​เยี่ยม​พี่​น้อง​ใน​ทุก​เมือง​ที่​พวก​เรา​เคย​ประกาศ​คำ​สอน​ของ​พระ​ยะโฮวา​ไว้ ไป​ดู​สิ​ว่า​พวก​เขา​เป็น​ยัง​ไง​กัน​บ้าง”+ 37  บาร์นาบัส​ตั้งใจ​จะ​พา​ยอห์น​ซึ่ง​มี​อีก​ชื่อ​หนึ่ง​ว่า​มาระโก+ไป​ด้วย 38  แต่​เปาโล​ไม่​อยาก​พา​ไป เพราะ​มาระโก​เคย​ทิ้ง​เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​ที่​แคว้น​ปัมฟีเลีย+ 39  เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​ทะเลาะ​กัน​จน​ต้อง​แยก​กัน​ไป​คน​ละ​ทาง บาร์นาบัส+พา​มาระโก​ลง​เรือ​ไป​เกาะ​ไซปรัส 40  ส่วน​เปาโล​เลือก​สิลาส​ให้​ไป​ด้วย​กัน เมื่อ​พวก​พี่​น้อง​อธิษฐาน​ฝาก​พระ​ยะโฮวา​ให้​ช่วย​ดู​แล​เปาโล​แล้ว เปาโล​ก็​ออก​เดิน​ทาง+ 41  เขา​ไป​ทั่ว​แคว้น​ซีเรีย​กับ​แคว้น​ซิลีเซีย และ​ช่วย​ประชาคม​ต่าง ๆ ให้​เข้มแข็ง​ขึ้น

เชิงอรรถ

ข้อมูลสำหรับศึกษา

ผู้​นำ: แปล​ตรง​ตัว​ว่า “คน​สูง​อายุ” คำ​กรีก เพร็สบูเทะรอส ที่​ใช้​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​มัก​จะ​หมาย​ถึง​คน​ที่​มี​ตำแหน่ง​และ​หน้า​ที่​รับผิดชอบ​ใน​ชุมชน​หรือ​ใน​ชาติ ถึง​แม้​คำ​นี้​บาง​ครั้ง​หมาย​ถึง​คน​ที่​อายุ​มาก​กว่า​หรือ​คน​สูง​อายุ (เช่น​ที่ ลก 15:25; กจ 2:17) แต่​ก็​มี​ความ​หมาย​ใน​แง่​อื่น​ด้วย ใน​ข้อ​นี้​คำ​ว่า “ผู้​นำ” หมาย​ถึง​พวก​ผู้​นำ​ชาว​ยิว​ซึ่ง​คัมภีร์​ไบเบิล​มัก​พูด​ถึง​พวก​เขา​พร้อม​กับ​พวก​ปุโรหิต​ใหญ่​และ​ครู​สอน​ศาสนา สมาชิก​ศาล​แซนเฮดริน​ก็​ประกอบ​ด้วย​คน​จาก 3 กลุ่ม​นี้—มธ 21:23; 26:3, 47, 57; 27:1, 41; 28:12; ดู​ส่วน​อธิบาย​ศัพท์​คำ​ว่า “ผู้​นำ

ผู้​ดู​แล: แปล​ตรง​ตัว​ว่า “พวก​ผู้​ชาย​สูง​อายุ” คำ​กรีก เพร็สบูเทะรอส ที่​ใช้​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​มัก​จะ​หมาย​ถึง​คน​ที่​มี​ตำแหน่ง​และ​หน้า​ที่​รับผิดชอบ​ใน​ชุมชน​หรือ​ใน​ชาติ ถึง​แม้​คำ​นี้​บาง​ครั้ง​หมาย​ถึง​คน​ที่​อายุ​มาก​กว่า​หรือ​คน​สูง​อายุ (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 16:21) ใน​ชาติ​อิสราเอล​สมัย​โบราณ พวก​ผู้​ดู​แล​จะ​ทำ​หน้า​ที่​เป็น​ผู้​นำ​และ​ผู้​บริหาร​งาน​ทั้ง​ใน​ระดับ​ชุมชน (ฉธบ 25:7-9; ยชว 20:4; นรธ 4:1-12) และ​ใน​ระดับ​ชาติ (วนฉ 21:16; 1ซม 4:3; 8:4; 1พก 20:7) นี่​เป็น​ครั้ง​แรก​ที่​ใช้​คำ​นี้​กับ​ประชาคม​คริสเตียน พวก​ผู้​ดู​แล​ใน​ชาติ​อิรา​เอล​ของ​พระเจ้า​จะ​ทำ​หน้า​ที่​เหมือน​ผู้​ดู​แล​ใน​ชาติ​อิสราเอล​สมัย​โบราณ พวก​เขา​จะ​คอย​ชี้​นำ​ประชาคม ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้​พวก​ผู้​ดู​แล​เป็น​คน​ได้​รับ​ของ​บริจาค และ​พวก​เขา​ดู​แล​การ​แจก​จ่าย​ของ​บริจาค​เหล่า​นั้น​ให้​กับ​ประชาคม​ต่าง ๆ ใน​แคว้น​ยูเดีย

คุย​กัน​อย่าง​เคร่ง​เครียด: หรือ “โต้​เถียง” คำ​กรีก​ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​เกี่ยว​ข้อง​กับ​คำ​กริยา​ที่​มี​ความ​หมาย​ว่า “ค้น​หา” (เศเทะโอ) และ​ยัง​แปล​ได้​ด้วย​ว่า “การ​ค้น​หา, การ​ถาม” (ฉบับ​คิงดอม อินเตอร์ลิเนียร์) นี่​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ได้​ค้นคว้า​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้​อย่าง​จริงจัง พวก​เขา​ตั้ง​คำ​ถาม วิเคราะห์​เรื่อง​นี้​อย่าง​ละเอียด และ​แน่นอน​ว่า​พวก​เขา​แสดง​ความ​คิด​เห็น​อย่าง​ตรง​ไป​ตรง​มา​และ​เปิด​เผย

ผู้​ดู​แล: แปล​ตรง​ตัว​ว่า “ผู้​ชาย​สูง​อายุ” คำ​กรีก เพร็สบูเทะรอส ใน​ข้อ​นี้​หมาย​ถึง​คน​ที่​มี​ตำแหน่ง​และ​หน้า​ที่​รับผิดชอบ​ใน​ประชาคม​คริสเตียน​ใน​ยุค​แรก พระ​คัมภีร์​บอก​ว่า​เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​และ​พี่​น้อง​ชาย​คน​อื่น ๆ จาก​เมือง​อันทิโอก​ใน​แคว้น​ซีเรีย​ไป​หา​พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม​เพื่อ​ปรึกษา​เกี่ยว​กับ​ประเด็น​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต เหมือน​กับ​ชาติ​อิสราเอล​สมัย​โบราณ​มี​ผู้​ดู​แล​บาง​คน​ที่​ทำ​หน้า​ที่​เป็น​ผู้​นำ​และ​ผู้​บริหาร​งาน​ระดับ​ชาติ ใน​ศตวรรษ​แรก​ก็​มี​พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม​ทำ​หน้า​ที่​เป็น​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ดู​แล​ประชาคม​คริสเตียน​ทุก​แห่ง นี่​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​พี่​น้อง​ที่​ทำ​หน้า​ที่​เป็น​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​มี​เพิ่ม​มาก​ขึ้น​จาก​ที่​ก่อน​หน้า​นี้​มี​เพียง​อัครสาวก 12 คน—กจ 1:21, 22, 26; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 16:21; กจ 11:30

เรื่อง: หรือ “การ​โต้​เถียง” คำ​กรีก เศเทมา มัก​หมาย​ถึง​ข้อ​สงสัย​หรือ​ประเด็น​ที่​กำลัง​โต้​เถียง​กัน คำ​นี้​เกี่ยว​ข้อง​กับ​คำ​กรีก​ที่​มี​ความ​หมาย​ว่า “ค้น​หา” (เศเทะโอ)—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 15:7

กลับ​ใจ: คำ​กรีก​ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​อาจ​แปล​ตรง​ตัว​ว่า “เปลี่ยน​จิตใจ” ซึ่ง​หมาย​ถึง​การ​เปลี่ยน​ความ​คิด ทัศนคติ หรือ​ความ​ตั้งใจ คำ​ว่า “กลับ​ใจ” ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้​หมาย​ถึง​การ​ที่​คน​เรา​ต้อง​เปลี่ยน​แปลง​ตัว​เอง​เพื่อ​ทำ​ให้​พระเจ้า​พอ​ใจ​และ​มี​ความ​สัมพันธ์​ที่​ดี​กับ​พระองค์—ดู​ข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 3:8, 11 และ​ส่วน​อธิบาย​ศัพท์​คำ​ว่า “กลับ​ใจ

ทำ​ให้​เห็น​สิ​ว่า​คุณ​กลับ​ใจ: หรือ “แสดง​ผล​ที่​สม​กับ​การ​กลับ​ใจ” หมาย​ถึง​คน​ที่​ฟัง​ยอห์น​ต้อง​แสดง​หลักฐาน​หรือ​ทำ​ให้​เห็น​ว่า​เขา​เปลี่ยน​ความ​คิด​หรือ​เปลี่ยน​ทัศนคติ​แล้ว​จริง​ ๆ—ลก 3:8; กจ 26:20; ดู​ข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 3:2, 11 และ​ส่วน​อธิบาย​ศัพท์​คำ​ว่า “กลับ​ใจ

กลับ​ใจ​และ​เปลี่ยน​แปลง​ชีวิต​ใหม่: คำ​กรีก เมะทานอเอะโอ ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​อาจ​แปล​ตรง​ตัว​ว่า “เปลี่ยน​จิตใจ” ซึ่ง​หมาย​ถึง​การ​เปลี่ยน​ความ​คิด ทัศนคติ หรือ​ความ​ตั้งใจ ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้ การ​กลับ​ใจ​เกี่ยว​ข้อง​กับ​การ​ที่​คน​หนึ่ง​อยาก​จะ​ฟื้นฟู​ความ​สัมพันธ์​ที่​เขา​มี​กับ​พระเจ้า คน​ทำ​ผิด​ที่​กลับ​ใจ​จริง ๆ จะ​รู้สึก​เสียใจ​มาก​กับ​สิ่ง​ที่​เขา​ทำ​และ​ตั้งใจ​ที่​จะ​ไม่​กลับ​ไป​ทำ​สิ่ง​นั้น​อีก (2คร 7:10, 11; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 3:2, 8) ยิ่ง​กว่า​นั้น การ​กลับ​ใจ​แท้​จะ​กระตุ้น​คน​ที่​ทำ​ผิด​ให้ “เปลี่ยน​แปลง​ชีวิต​ใหม่” ซึ่ง​ก็​คือ​ทิ้ง​แนว​ทาง​ชีวิต​เดิม​และ​ใช้​ชีวิต​ใน​แบบ​ที่​พระเจ้า​พอ​ใจ ทั้ง​คำ​กริยา​ฮีบรู​และ​กรีก​ที่​แปล​ว่า “เปลี่ยน​แปลง​ชีวิต​ใหม่” (คำ​ฮีบรู ชัฟ; คำ​กรีก สะทะเระโฟ; เอะพิสะทะเระโฟ) มี​ความ​หมาย​ตรง​ตัว​ว่า “กลับ​มา, หัน​กลับ” (ปฐก 18:10; 50:14) แต่​เมื่อ​ใช้​คำ​นี้​ใน​ความ​หมาย​เป็น​นัย​ก็​อาจ​หมาย​ถึง​การ​เลิก​ใช้​ชีวิต​ผิด ๆ และ​หัน​กลับ​ไป​หา​พระเจ้า—1พก 8:33; อสค 33:11; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 15:3; 26:20

กลับ​ใจ: คำ​กรีก​ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​อาจ​แปล​ตรง​ตัว​ว่า “เปลี่ยน​จิตใจ” ซึ่ง​หมาย​ถึง​การ​เปลี่ยน​ความ​คิด ทัศนคติ หรือ​ความ​ตั้งใจ ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้ คำ​ว่า “กลับ​ใจ” เกี่ยว​ข้อง​กับ​คำ​ว่า​และ​หัน​มา​หา​พระเจ้า ดัง​นั้น การ​กลับ​ใจ​จึง​เกี่ยว​ข้อง​กับ​ความ​สัมพันธ์​ที่​คน​เรา​มี​กับ​พระเจ้า เพื่อ​ที่​คน​เรา​จะ​กลับ​ใจ​อย่าง​แท้​จริง พวก​เขา​ต้อง​ทำ​สิ่ง​ที่​แสดง​ว่า​พวก​เขา​กลับ​ใจ​จริง ๆ ซึ่ง​หมาย​ความ​ว่า​สิ่ง​ที่​เขา​ทำ​ต้อง​ให้​หลักฐาน​ว่า​เขา​เปลี่ยน​ความ​คิด​จิตใจ​และ​ทัศนคติ​จริง ๆ—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 3:2, 8; ลก 3:8 และ​ส่วน​อธิบาย​ศัพท์​คำ​ว่า “กลับ​ใจ

เปลี่ยน​มา​เชื่อ​พระเจ้า: คำ​กรีก เอะพิสะทะรอเฟ ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​มา​จาก​คำ​กริยา​ที่​มี​ความ​หมาย​ว่า “กลับ​มา, หัน​กลับ” (ยน 12:40; 21:20; กจ 15:36) เมื่อ​ใช้​ใน​แง่​ของ​ความ​เชื่อ คำ​นี้​อาจ​เกี่ยว​ข้อง​กับ​การ​กลับ​มา​หา​พระเจ้า​เที่ยง​แท้ และ​ทิ้ง​รูป​เคารพ​กับ​พระ​เท็จ (มี​การ​ใช้​คำ​กริยา​นี้​ด้วย​ที่ กจ 3:19; 14:15; 15:19; 26:18, 20; 2คร 3:16) และ​ที่ 1ธส 1:9 ก็​ใช้​คำ​กริยา​นี้​ใน​สำนวน​ที่​บอก​ว่า “พวก​คุณ​ทิ้ง ​รูป​เคารพ​แล้ว​มา​หา ​พระเจ้า” ต้อง​มี​การ​กลับ​ใจ​ก่อน​ถึง​จะ​เปลี่ยน​มา​เชื่อ​พระเจ้า​ได้—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 3:2, 8; กจ 3:19; 26:20

คุย​กัน​อย่าง​เคร่ง​เครียด: หรือ “โต้​เถียง” คำ​กรีก​ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​เกี่ยว​ข้อง​กับ​คำ​กริยา​ที่​มี​ความ​หมาย​ว่า “ค้น​หา” (เศเทะโอ) และ​ยัง​แปล​ได้​ด้วย​ว่า “การ​ค้น​หา, การ​ถาม” (ฉบับ​คิงดอม อินเตอร์ลิเนียร์) นี่​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ได้​ค้นคว้า​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้​อย่าง​จริงจัง พวก​เขา​ตั้ง​คำ​ถาม วิเคราะห์​เรื่อง​นี้​อย่าง​ละเอียด และ​แน่นอน​ว่า​พวก​เขา​แสดง​ความ​คิด​เห็น​อย่าง​ตรง​ไป​ตรง​มา​และ​เปิด​เผย

สิ่ง​มหัศจรรย์: หรือ “หมาย​สำคัญ” มา​จาก​คำ​กรีก เทะราส ใน​พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก​มัก​ใช้​คำ​นี้​คู่​กับ​คำ เซเม่ออน ที่​หมาย​ถึง “ปาฏิหาริย์” ใน​หลาย​ท้อง​เรื่อง (มธ 24:24; ยน 4:48; กจ 7:36; 14:3; 15:12; 2คร 12:12) หลัก ๆ แล้ว​คำ​ว่า เทะราส หมาย​ถึง​สิ่ง​ที่​ทำ​ให้​คน​เรา​รู้สึก​ทึ่ง​หรือ​อัศจรรย์​ใจ เมื่อ​มี​การ​ใช้​คำ​นี้​ใน​ท้อง​เรื่อง​ที่​เกี่ยว​ข้อง​กับ​การ​บอก​อนาคต​ก็​จะ​มี​การ​ใส่​คำ​ว่า “หมาย​สำคัญ” ไว้​ใน​ข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ด้วย

การ​อัศจรรย์: หรือ “หมาย​สำคัญ”—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 2:19

ยากอบ: น่า​จะ​หมาย​ถึง​ยากอบ​ที่​เป็น​น้อง​ชาย​ต่าง​พ่อ​ของ​พระ​เยซู และ​เป็น​ยากอบ​ที่​พูด​ถึง​ใน กจ 12:17 (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 13:55; กจ 12:17) ดู​เหมือน​ตอน​ที่ “พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ที่​กรุง​เยรูซาเล็ม” คุย​กัน​เกี่ยว​กับ​ประเด็น​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต ยากอบ​เป็น​ประธาน​การ​ประชุม (กจ 15:1, 2) และ​ตอน​ที่​เปาโล​บอก​ว่า​ยากอบ เคฟาส (เปโตร) และ​ยอห์น “เป็น​เสา​หลัก​ของ​ประชาคม” ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม เขา​ก็​คง​จะ​นึก​ถึง​การ​ประชุม​ครั้ง​นั้น—กท 2:1-9

ยากอบ: น้อง​ชาย​ต่าง​พ่อ​ของ​พระ​เยซู​ซึ่ง​ดู​เหมือน​เป็น​คน​เดียว​กับ​ยากอบ​ที่​พูด​ถึง​ใน กจ 12:17 (ดู​ข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา) และ กท 1:19 เขา​เป็น​ผู้​เขียน​หนังสือ​ยากอบ​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ด้วย—ยก 1:1

ยากอบ: น่า​จะ​หมาย​ถึง​ยากอบ​ที่​เป็น​น้อง​ชาย​ต่าง​พ่อ​ของ​พระ​เยซู เขา​อาจ​เป็น​น้อง​ชาย​คน​ถัด​จาก​พระ​เยซู เพราะ​มี​การ​พูด​ถึง​เขา​เป็น​ชื่อ​แรก​ใน​จำนวน​ลูก​ชาย 4 คน​ของ​โยเซฟ​และ​มารีย์​คือ ยากอบ โยเซฟ ซีโมน และ​ยูดาส (มธ 13:55; มก 6:3; ยน 7:5) ยากอบ​อยู่​ใน​เหตุ​การณ์​ใน​วัน​เพ็นเทคอสต์​ปี ค.ศ. 33 ซึ่ง​ตอน​นั้น​มี​ชาว​ยิว​หลาย​พัน​คน​มา​จาก​หลาย​ประเทศ พวก​เขา​ตอบรับ​ข่าว​ดี​และ​รับ​บัพติศมา (กจ 1:14; 2:1, 41) ใน​ข้อ​คัมภีร์​นี้ เปโตร​บอก​ให้​สาวก ‘ไป​บอก​เรื่อง​นี้​กับ​ยากอบ’ ซึ่ง​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​ตอน​นั้น​ยากอบ​นำ​หน้า​ใน​ประชาคม​เยรูซาเล็ม ดู​เหมือน​ว่า​เขา​เป็น​คน​เดียว​กับ​ยากอบ​ที่​พูด​ถึง​ใน กจ 15:13; 21:18; 1คร 15:7; กท 1:19 (ที่​นั่น​เรียก​เขา​ว่า “น้อง​ชาย​ของ​ผู้​เป็น​นาย”) 2:9, 12 และ​เป็น​คน​เดียว​กับ​ที่​เขียน​หนังสือ​ยากอบ​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล—ยก 1:1; ยด 1

ซีโมน​หรือ​ที่​เรียก​กัน​ว่า​เปโตร: พระ​คัมภีร์​เรียก​เปโตร​ด้วย​ชื่อ​ที่​ต่าง​กัน 5 ชื่อ คือ (1) “ซีเมโอน” ซึ่ง​เป็น​ชื่อ​กรีก​ที่​ทับ​ศัพท์​มา​จาก​ชื่อ​ฮีบรู (สิเมโอน) (2) “ซีโมน” ซึ่ง​เป็น​ภาษา​กรีก (ทั้ง​ซีเมโอน​และ​ซีโมน​มา​จาก​คำ​กริยา​ฮีบรู​ที่​แปล​ว่า “ได้​ยิน, ฟัง”) (3) “เปโตร” (ชื่อ​กรีก​ที่​แปล​ว่า “หิน​ก้อน​หนึ่ง” และ​เขา​เป็น​คน​เดียว​ใน​พระ​คัมภีร์​ที่​ใช้​ชื่อ​นี้) (4) “เคฟาส” ชื่อ​ภาษา​เซมิติก​ที่​มี​ความ​หมาย​ตรง​กับ​ชื่อ​เปโตร (อาจ​เกี่ยว​ข้อง​กับ​คำ​ฮีบรู เคฟิม [หิน] ที่​ใช้​ใน โยบ 30:6; ยรม 4:29) และ (5) “ซีโมน​เปโตร” ซึ่ง​เป็น​การ​รวม 2 ชื่อ​เข้า​ด้วย​กัน—กจ 15:14; ยน 1:42; มธ 16:16

ซีเมโอน: คือ​ซีโมน​เปโตร ซีเมโอน ​เป็น​ชื่อ​กรีก​ที่​ทับ​ศัพท์​มา​จาก​ชื่อ​ฮีบรู (สิเมโอน) การ​ใช้​ชื่อ​ที่​ทับ​ศัพท์​มา​จาก​ภาษา​ฮีบรู​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​ภาษา​ที่​ใช้​กัน​ใน​การ​ประชุม​นั้น​อาจ​เป็น​ภาษา​ฮีบรู ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​มี​การ​ใช้​ชื่อ​นี้​เพื่อ​เรียก​อัครสาวก​เปโตร​แค่​คน​เดียว​เท่า​นั้น—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 10:2

ประชาชน​กลุ่ม​หนึ่ง​ที่​ใช้​ชื่อ​ของ​พระองค์: สำนวน​นี้​อาจ​ทำ​ให้​นึก​ถึง​ข้อ​ความ​ใน​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​หลาย​ข้อ​ที่​บอก​ว่า​พระ​ยะโฮวา​ได้​เลือก​ประชาชน​กลุ่ม​หนึ่ง​ให้​เป็น​ชน​ชาติ​พิเศษ​ของ​พระองค์ (อพย 19:5; ฉธบ 7:6; 14:2; 26:18, 19) ประชาชน​กลุ่ม​นี้​ใช้​ชื่อ​ของ​พระ​ยะโฮวา และ​ถูก​เรียก​ว่า “อิสราเอล​ของ​พระเจ้า” ซึ่ง​ตอน​นี้​รวม​ผู้​เชื่อถือ​ที่​ไม่​ใช่​ชาว​ยิว​ด้วย (กท 6:16; รม 11:25, 26​ก; วว 14:1) เนื่อง​จาก​พวก​เขา​เป็น​ตัว​แทน​ของ​พระเจ้า พวก​เขา​จึง​ต้อง​สรรเสริญ​พระองค์​และ​ประกาศ​ชื่อ​ของ​พระองค์ (1ปต 2:9, 10) เหมือน​กับ​ชาติ​อิสราเอล​ใน​อดีต พระ​ยะโฮวา​พูด​ถึง​ประชาชน​ของ​พระองค์​ใน​ตอน​นี้​ว่า “ประชาชน​เหล่า​นั้น​จะ​สรรเสริญ​เรา เพราะ​เรา​เป็น​ผู้​สร้าง​พวก​เขา​ขึ้น​มา” (อสย 43:21) คริสเตียน​ใน​ยุค​แรก​เหล่า​นี้​ได้​ประกาศ​อย่าง​กล้า​หาญ​ว่า​พระ​ยะโฮวา​เป็น​พระเจ้า​เที่ยง​แท้​องค์​เดียว พวก​เขา​เปิดโปง​ว่า​พระ​ทั้ง​หมด​ที่​ผู้​คน​นมัสการ​ใน​ตอน​นั้น​เป็น​พระ​เท็จ—1ธส 1:9

ใน​กฎหมาย​ของ​โมเสส ใน​หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์ และ​ใน​หนังสือ​สดุดี: ดู​เหมือน​ใน​ข้อ​นี้​พระ​เยซู​จัด​กลุ่ม​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ที่​ได้​รับ​การ​ดล​ใจ​ใน​แบบ​ที่​ชาว​ยิว​ใช้​และ​คุ้น​เคย คำ​ว่า “กฎหมาย​ของ​โมเสส” (ภาษา​ฮีบรู โทห์ราห์) หมาย​ถึง​หนังสือ​ปฐมกาล​ถึง​เฉลย​ธรรมบัญญัติ ส่วน​คำ​ว่า “หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์” (ภาษา​ฮีบรู เนวิม) หมาย​ถึง​หนังสือ​ต่าง ๆ ใน​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ที่​บันทึก​คำ​พยากรณ์​ซึ่ง​รวม​ถึง​หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์​ยุค​แรก (ตั้ง​แต่​โยชูวา​ถึง​พงศ์กษัตริย์) และ​คำ​ว่า “หนังสือ​สดุดี” หมาย​ถึง​ส่วน​ที่ 3 ซึ่ง​รวม​เอา​หนังสือ​ที่​เหลือ​ใน​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ทั้ง​หมด ส่วน​นี้​บาง​ครั้ง​เรียก​ว่า “งาน​เขียน” หรือ​ใน​ภาษา​ฮีบรู​คือ เคทูวิม เหตุ​ผล​ที่​เรียก​ส่วน​นี้​ว่า “หนังสือ​สดุดี” เพราะ​หนังสือ​นี้​เป็น​เล่ม​แรก​ของ​ส่วน​ที่ 3 ชาว​ยิว​เรียก​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ว่า “ทานักห์” ซึ่ง​มา​จาก​การ​เอา​ตัว​อักษร​แรก​ของ 3 ส่วน​นี้​มา​รวม​กัน การ​ที่​พระ​เยซู​จัด​กลุ่ม​แบบ​นี้​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​ตอน​ที่​ท่าน​อยู่​บน​โลก​มี​การ​กำหนดสารบบของ​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​แล้ว และ​ท่าน​ก็​เห็น​ด้วย​กับ​การ​จัด​สารบบ​แบบ​นี้

หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์: คำ​พูด​ของ​ซีเมโอน​หรือ​ซีโมน​เปโตร (กจ 15:7-11) และ​หลักฐาน​ที่​เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​ให้ (กจ 15:12) อาจ​ทำ​ให้​ยากอบ​คิด​ถึง​ข้อ​คัมภีร์​ที่​เกี่ยว​ข้อง​ซึ่ง​ช่วย​ให้​เข้าใจ​เรื่อง​ที่​กำลัง​คุย​กัน​มาก​ขึ้น (ยน 14:26) หลัง​จาก​ที่​ยากอบ​บอก​ว่า “เรื่อง​นี้​ตรง​กับ​ที่​เขียน​ไว้​ใน​หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์” เขา​ก็​ยก​ข้อ​ความ​จาก อมส 9:11, 12 ซึ่ง​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ที่​ปกติ​แล้ว​เรียก​กัน​ว่า “หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์”—กจ 15:16-18; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ลก 24:44

เต็นท์​ของ​ดาวิด: หรือ “เพิง (ที่​อยู่) ของ​ดาวิด” พระ​ยะโฮวา​สัญญา​ว่า​รัฐบาล​ของ​ดาวิด “จะ​มั่นคง​ตลอด​ไป” (2ซม 7:12-16) “เต็นท์​ของ​ดาวิด” หรือ​ราชวงศ์​ของ​เขา​ล่ม​สลาย​ตอน​ที่​กษัตริย์​เศเดคียาห์​ถูก​ถอด​ออก​จาก​ตำแหน่ง (อสค 21:27) ตั้ง​แต่​ตอน​นั้น ไม่​มี​กษัตริย์​องค์​ไหน​ใน​เชื้อวงศ์​ของ​ดาวิด​ได้​นั่ง​อยู่​บน “บัลลังก์​ของ​พระ​ยะโฮวา” ที่​กรุง​เยรูซาเล็ม (1พศ 29:23) แต่​พระ​ยะโฮวา​จะ​สร้าง​เต็นท์​ของ​ดาวิด​ขึ้น​ใหม่​โดย​ให้​พระ​เยซู​ซึ่ง​เป็น​ลูก​หลาน​ของ​เขา​เป็น​กษัตริย์​ตลอด​ไป (กจ 2:29-36) คำ​พูด​ของ​ยากอบ​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​คำ​พยากรณ์​ที่​อาโมส​บอก​ไว้​เกี่ยว​กับ​การ​สร้าง​เต็นท์​ขึ้น​ใหม่ (การ​ตั้ง​คน​จาก​เชื้อ​สาย​ของ​ดาวิด​ให้​เป็น​กษัตริย์​อีก​ครั้ง) จะ​เกี่ยว​ข้อง​กับ​การ​รวบ​รวม​คน​ที่​เป็น​สาวก​ของ​พระ​เยซู (ทายาท​ของ​รัฐบาล​พระเจ้า) ทั้ง​คน​ที่​เป็น​ชาว​ยิว​และ​คน​ต่าง​ชาติ—อมส 9:11, 12

เพื่อ​คน​ที่​เหลือ​อยู่​จะ​เสาะ​หา​เรา​ยะโฮวา​อย่าง​จริงจัง: เหมือน​ที่​บอก​ไว้​ในข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 15:15 ยากอบ​ยก​ข้อ​ความ​นี้​มา​จาก อมส 9:11, 12 แต่​ดู​เหมือน​ข้อ​ความ​ใน​ข้อ​นี้​ต่าง​จาก​ข้อ​ความ​ใน​สำเนา​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ที่​หลง​เหลือ​อยู่​ใน​ปัจจุบัน เชื่อ​กัน​ว่า​ความ​แตกต่าง​นี้​เป็น​เพราะ​ยากอบ​ได้​ยก​ข้อ​ความ​จาก​ฉบับ​เซปตัวจินต์ ​ซึ่ง​เป็น​ฉบับ​แปล​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​เป็น​ภาษา​กรีก แต่​ตอน​ที่​ยากอบ​พูด​ถึง​เปโตร เขา​ใช้​ชื่อ​ซีเมโอน​ซึ่ง​เป็น​ชื่อ​กรีก​ที่​ทับ​ศัพท์​มา​จาก​ชื่อ​ฮีบรู (สิเมโอน) การ​ใช้​ชื่อ​ที่​ทับ​ศัพท์​มา​จาก​ภาษา​ฮีบรู​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​ภาษา​ที่​ใช้​กัน​ใน​การ​ประชุม​นั้น​อาจ​เป็น​ภาษา​ฮีบรู (กจ 15:14) ถ้า​เป็น​อย่าง​นั้น ก็​เป็น​ไป​ได้​ว่า​ยากอบ​ได้​ยก​ข้อ​ความ​มา​จาก​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​โดย​ตรง แต่​ลูกา​บันทึก​โดย​ยก​ข้อ​ความ​มา​จาก​ฉบับ​เซปตัวจินต์ ทั้ง​ลูกา ยากอบ และ​ผู้​เขียน​พระ​คัมภีร์​คน​อื่น ๆ ก็​ใช้​ข้อ​ความ​นี้​ตอน​ที่​พวก​เขา​ยก​ข้อ​ความ​มา​จาก​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู ถึง​แม้​การ​ยก​ข้อ​ความ​จาก​ฉบับ​เซปตัวจินต์​อาจ​แตกต่าง​จาก​ข้อ​ความ​ใน​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ที่​มี​อยู่​ใน​ทุก​วัน​นี้ แต่​พระ​ยะโฮวา​ก็​ยอม​ให้​ผู้​เขียน​พระ​คัมภีร์​ทำ​อย่าง​นั้น และ​ให้​ข้อ​ความ​ที่​ยก​มา​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​พระ​คัมภีร์​ที่​ได้​รับ​การ​ดล​ใจ (2ทธ 3:16) น่า​สนใจ​ที่​ใน​ฉบับ​เซปตัวจินต์ ​ข้อ​ความ​จาก อมส 9:12 อ่าน​ว่า “คน​ที่​เหลือ​อยู่” แต่​สำเนา​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ที่​มี​อยู่​ตอน​นี้​มี​ข้อ​ความ​ที่​อ่าน​ว่า “ข้าว​ของ​ของ​เอโดม​ที่​เหลือ​อยู่” บาง​คน​คิด​ว่า​ที่​ต่าง​กัน​แบบ​นี้​อาจ​เป็น​เพราะ​ใน​ภาษา​ฮีบรู​โบราณ​คำ​ว่า “คน” ดู​คล้าย​กัน​มาก​กับ​คำ​ว่า “เอโดม” และ​คำ​ว่า “เสาะ​หา” ก็​ดู​คล้าย​กัน​มาก​กับ​คำ​ว่า “เป็น​ของ” บาง​คน​เชื่อ​ว่า​ข้อ​ความ​ที่ อมส 9:12 ใน​ฉบับ​เซปตัวจินต์ ​แปล​จาก​สำเนา​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​โบราณ​ซึ่ง​ต่าง​จาก​สำเนา​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ที่​มี​อยู่​ใน​ปัจจุบัน แต่​ก็​ไม่​มี​ใคร​รู้​แน่ชัด​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้ ไม่​ว่า​จะ​อย่าง​ไร ทั้ง​ข้อ​ความ​ใน​ฉบับ​เซปตัวจินต์ ​และ​ข้อ​ความ​ภาษา​ฮีบรู​ของ​พวก​มาโซเรต​ก็​ถ่ายทอด​แนว​คิด​เดียว​กัน​คือ​อาโมส​ได้​พยากรณ์​ว่า​คน​ต่าง​ชาติ​จะ​ถูก​เรียก​ตาม​ชื่อ​ของ​พระ​ยะโฮวา

ยะโฮวา: ยากอบ​บอก​ไว้​ที่ กจ 15:14 ว่า​สิเมโอน​เล่า​ว่า “ตอน​นี้​พระเจ้า​หัน​มา​สนใจ​คน​ต่าง​ชาติ” และ​ในข้อ 19 ยากอบ​ก็​พูด​ถึง “คน​ต่าง​ชาติ​ที่​หัน​มา​หา​พระเจ้า” แต่​ใน​ข้อ​นี้​ยากอบ​ยก​ข้อ​ความ​มา​จาก อมส 9:11, 12 ซึ่ง​ใน​ข้อ​ความ​ภาษา​ฮีบรู​มี​ชื่อ​ของ​พระเจ้า​อยู่​แค่ 1 ครั้ง​ใน​ข้อ​ความ​ที่​บอก​ว่า “เรา​ยะโฮวา​ผู้​ทำ​สิ่ง​นี้​พูด​ไว้​อย่าง​นั้น” แต่​ใน​ข้อ 17 นี้​มี​คำ​กรีก คูริออส (องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า) 2 ครั้ง และ​ทั้ง 2 ครั้ง​หมาย​ถึง​พระ​ยะโฮวา ถ้า​ดู​จาก​ท้อง​เรื่อง​ใน​ข้อ​นี้ จาก​ท้อง​เรื่อง​ใน​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู รวม​ทั้ง​การ​ใช้​คำ คูริออส ใน​ฉบับ​เซปตัวจินต์ และ​ที่​อื่น ๆ ใน​พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก ก็​มี​เหตุ​ผล​ที่​ดี​หลาย​อย่าง​ที่​จะ​ใช้​ชื่อ​ของ​พระเจ้า​ทั้ง 2 ครั้ง​เพื่อ​แปล​คำ​ว่า คูริออส ใน​ข้อ​นี้

ร่วม​กับ​ประชาชน​จาก​ทุก​ชาติ: คือ​ร่วม​กับ​คน​ที่​ไม่​ใช่​ชาว​ยิว​หรือ​คน​ต่าง​ชาติ คน​ต่าง​ชาติ​ที่​ได้​เข้า​สุหนัต​จะ​ไม่​ถูก​มอง​ว่า​เป็น​คน​จาก​ชาติ​อื่น​อีก​แล้ว แต่​พวก​เขา “เป็น​เหมือน​ชาว​อิสราเอล” หรือ​ชาว​ยิว (อพย 12:48, 49) ใน​สมัย​ของ​เอสเธอร์ มี​คน​ต่าง​ชาติ​หลาย​คน “ประกาศ​ตัว​ว่า​เป็น​คน​ยิว” (อสธ 8:17) น่า​สนใจ​ที่​ฉบับ​เซปตัวจินต์ แปล อสธ 8:17 ว่า​คน​ต่าง​ชาติ​เหล่า​นี้ “เข้า​สุหนัต​และ​กลาย​มา​เป็น​คน​ยิว” คำ​พยากรณ์​ที่ อมส 9:11, 12 ซึ่ง​ยก​มา​ใน​ข้อ​นี้​บอก​ว่า “ประชาชน​จาก​ทุก​ชาติ” (คน​ต่าง​ชาติ​ที่​ไม่​เข้า​สุหนัต) จะ​เข้า​มา​สมทบ​กับ “คน​ที่​เหลือ​อยู่” ของ​ชาติ​อิสราเอล (ชาว​ยิว​และ​คน​ต่าง​ชาติ​ที่​เข้า​สุหนัต) และ​พวก​เขา​จะ​กลาย​เป็น “ประชาชน​ที่​ถูก​เรียก​ตาม​ชื่อ​ของ​เรา [ยะโฮวา]” จาก​คำ​พยากรณ์​นี้​ทำ​ให้​พวก​สาวก​รู้​ว่า​พวก​คน​ต่าง​ชาติ​ที่​ยัง​ไม่​เข้า​สุหนัต​ไม่​จำเป็น​ต้อง​เข้า​สุหนัต​เพื่อ​จะ​เป็น​ที่​ยอม​รับ​ของ​พระเจ้า

ประชาชน​ที่​ถูก​เรียก​ตาม​ชื่อ​ของ​เรา: ใน​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู การ​ที่​ชาว​อิสราเอล​ถูก​เรียก​ตาม​ชื่อ​ของ​พระ​ยะโฮวา​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​พวก​เขา​เป็น​ประชาชน​ของ​พระองค์ (ฉธบ 28:10; 2พศ 7:14; อสย 43:7; 63:19; ดนล 9:19) พระ​ยะโฮวา​ยัง​ให้​ชื่อ​ของ​พระองค์​อยู่​ที่​กรุง​เยรูซาเล็ม​ซึ่ง​เป็น​ที่​ตั้ง​ของ​วิหาร​ด้วย นี่​หมาย​ความ​ว่า​พระองค์​ยอม​รับ​ที่​นั่น​ว่า​เป็น​ศูนย์กลาง​การ​นมัสการ​พระองค์—2พก 21:4, 7

เรา​ยะโฮวา​ได้​พูด​ไว้: ข้อ​ความ​นี้​ยก​มา​จาก อมส 9:12 ซึ่ง​ใน​ต้น​ฉบับ​ภาษา​ฮีบรู​มี​ชื่อ​ของ​พระเจ้า​เขียน​ด้วย​อักษร​ฮีบรู 4 ตัว (ตรง​กับ​เสียง​อักษร​ไทย ยฮวฮ)

เป็น​ผู้​ทำ​สิ่ง​นี้, [ข้อ 18] ตาม​ที่​เรา​ตั้งใจ​จะ​ทำ​นาน​มา​แล้ว: ข้อ​ความ​นี้​ใน​ภาษา​กรีก​อาจ​เข้าใจ​ได้​อีก​อย่าง​หนึ่ง​ว่า “เป็น​ผู้​แจ้ง​สิ่ง​นี้ [ข้อ 18] ให้​รู้​มา​นาน​แล้ว”

หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์: คำ​พูด​ของ​ซีเมโอน​หรือ​ซีโมน​เปโตร (กจ 15:7-11) และ​หลักฐาน​ที่​เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​ให้ (กจ 15:12) อาจ​ทำ​ให้​ยากอบ​คิด​ถึง​ข้อ​คัมภีร์​ที่​เกี่ยว​ข้อง​ซึ่ง​ช่วย​ให้​เข้าใจ​เรื่อง​ที่​กำลัง​คุย​กัน​มาก​ขึ้น (ยน 14:26) หลัง​จาก​ที่​ยากอบ​บอก​ว่า “เรื่อง​นี้​ตรง​กับ​ที่​เขียน​ไว้​ใน​หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์” เขา​ก็​ยก​ข้อ​ความ​จาก อมส 9:11, 12 ซึ่ง​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ที่​ปกติ​แล้ว​เรียก​กัน​ว่า “หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์”—กจ 15:16-18; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ลก 24:44

ผม​เห็น​ว่า: หรือ “ผม​สรุป​ว่า” แปล​ตรง​ตัว​ว่า “ผม​ตัดสิน​ว่า” คำ​กรีก​ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​ไม่​ได้​แสดง​ว่า​ยากอบ​ที่​ดู​เหมือน​เป็น​ประธาน​การ​ประชุม​ใน​ตอน​นั้น​พยายาม​บังคับ​ทุก​คน​ให้​คิด​เหมือน​กับ​เขา แทน​ที่​จะ​เป็น​อย่าง​นั้น ยากอบ​เสนอ​ว่า​ควร​ทำ​อย่าง​ไร​โดย​อาศัย​หลักฐาน​ที่​ได้​ยิน​และ​สิ่ง​ที่​พระ​คัมภีร์​บอก​ไว้ พจนานุกรม​ฉบับ​หนึ่ง​อธิบาย​ความ​หมาย​ของ​คำ​กรีก​ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้​ว่า​หมาย​ถึง “การ​ตัดสิน​โดย​คำนึง​ถึง​ปัจจัย​หลาย​อย่าง” ดัง​นั้น คำ​กริยา​ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​จึง​ไม่​ได้​หมาย​ถึง​การ​ตัดสิน​อย่าง​เป็น​ทาง​การ แต่​หมาย​ถึง​ความ​คิด​เห็น​ของ​ยากอบ​ที่​อาศัย​ข้อ​สรุป​จาก​พระ​คัมภีร์

การ​ผิด​ศีลธรรม​ทาง​เพศ: คำ​กรีก พอร์เน่อา เป็น​คำ​กว้าง ๆ ที่​หมาย​ถึง​การ​มี​เพศ​สัมพันธ์​ทุก​รูป​แบบ​ที่​คัมภีร์​ไบเบิล​บอก​ว่า​ผิด ซึ่ง​รวม​ถึง​การ​เล่นชู้ การ​เป็น​โสเภณี การ​มี​เพศ​สัมพันธ์​ระหว่าง​คน​ที่​ยัง​ไม่​แต่งงาน การ​รัก​ร่วม​เพศ และ​การ​ร่วม​เพศ​กับ​สัตว์—ดูส่วน​อธิบาย​ศัพท์

สัตว์​ที่​ถูก​รัด​คอ​ตาย: หรือ “สัตว์​ที่​ถูก​ฆ่า​โดย​ไม่​เอา​เลือด​ออก” ดู​เหมือน​ข้อ​ห้าม​นี้​ยัง​เกี่ยว​ข้อง​กับ​สัตว์​ที่​ตาย​เอง หรือ​ตาย​เพราะ​ถูก​สัตว์​ตัว​อื่น​ฆ่า เพราะ​การ​ตาย​ทั้ง 2 แบบ​นี้​ไม่​ได้​มี​การ​เอา​เลือด​ออก​อย่าง​ถูก​ต้อง—อพย 22:31; ลนต 17:15; ฉธบ 14:21

ยืน​ขึ้น​เพื่อ​จะ​อ่าน: ผู้​เชี่ยวชาญ​บาง​คน​ให้​ข้อ​สังเกต​ว่า​ข้อ​ความ​นี้​เป็น​ครั้ง​แรก​ที่​คัมภีร์​ไบเบิล​ให้​ราย​ละเอียด​เกี่ยว​กับ​การ​นมัสการ​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว ตาม​คำ​สอน​สืบ​ปาก​ของ​ชาว​ยิว​ปกติ​แล้ว​การ​นมัสการ​เริ่ม​โดย​แต่​ละ​คน​จะ​อธิษฐาน​ส่วน​ตัว​ตอน​ที่​เดิน​เข้า​ไป​ใน​ที่​ประชุม จาก​นั้น​ก็​จะ​มี​การ​ท่อง​ข้อ​ความ​จาก ฉธบ 6:4-9 และ 11:13-21 แล้ว​ก็​มี​การ​อธิษฐาน​ด้วย​กัน ต่อ​ด้วย​การ​อ่าน​ออก​เสียง​ส่วน​หนึ่ง​ของ​เพนทาทุก​ตาม​ที่​กำหนด​ไว้ บันทึก​ใน กจ 15:21 บอก​ไว้​ว่า​ใน​ศตวรรษ​แรก​มี​การ​อ่าน​แบบ​นี้ “ทุก​วัน​สะบาโต” หลัง​จาก​นั้น พวก​เขา​จะ​ทำ​เหมือน​ที่​ข้อ​นี้​บอก​คือ​อ่าน​หนังสือ​ของ​ผู้​พยากรณ์​และ​พูด​ถึง​บทเรียน​ต่าง ๆ ที่​ได้​จาก​การ​อ่าน ตาม​ธรรมเนียม​แล้ว​ผู้​อ่าน​จะ​ยืน​ขึ้น​และ​เขา​อาจ​เลือก​ได้​เอง​ว่า​จะ​อ่าน​ส่วน​ไหน​ของ​คำ​พยากรณ์—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 13:15

การ​อ่าน​กฎหมาย​ของ​โมเสส​และ​หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์​ให้​ประชาชน​ฟัง: ใน​ศตวรรษ​แรก​จะ​มี​การ​อ่าน​ให้​ประชาชน​ฟัง “ทุก​วัน​สะบาโต” (กจ 15:21) ส่วน​หนึ่ง​ของ​การ​นมัสการ​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​ก็​คือ การ​ท่อง​บท​สวด​ยืน​ยัน​ความ​เชื่อ​ของ​ชาว​ยิว​ที่​เรียก​ว่า​เชมา (ฉธบ 6:4-9; 11:13-21) เชมา​เป็น​คำ​แรก​ของ​ข้อ​คัมภีร์​ที่​ใช้​เป็น​บท​สวด​ที่​บอก​ว่า “ชาว​อิสราเอล ฟัง​ให้​ดี [เชมา] พระ​ยะโฮวา​เป็น​พระเจ้า​ของ​เรา” (ฉธบ 6:4) ส่วน​สำคัญ​ที่​สุด​ของ​การ​นมัสการ​ก็​คือ​การ​อ่าน​หนังสือ​โทราห์​หรือ​เพนทาทุก ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​หลาย​แห่ง​มี​การ​จัด​ตาราง​อ่าน​กฎหมาย​ทั้ง​หมด​ของ​โมเสส​ให้​จบ​ภาย​ใน 1 ปี ส่วน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​อื่น ๆ อาจ​ใช้​เวลา 3 ปี และ​ยัง​มี​การ​อ่าน​และ​อธิบาย​หนังสือ​ของ​ผู้​พยากรณ์​ด้วย หลัง​จาก​มี​การ​อ่าน​ให้​ประชาชน​ฟัง​ก็​จะ​มี​การ​บรรยาย ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้ เปาโล​อยู่​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​ใน​เมือง​อันทิโอก​ใน​แคว้น​ปิสิเดีย หลัง​จาก​มี​การ​อ่าน​พระ​คัมภีร์​ให้​ประชาชน​ฟัง​เขา​ก็​ได้​รับ​เชิญ​ให้​พูด​ให้​กำลังใจ​ประชาชน—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ลก 4:16

ยืน​ขึ้น​เพื่อ​จะ​อ่าน: ผู้​เชี่ยวชาญ​บาง​คน​ให้​ข้อ​สังเกต​ว่า​ข้อ​ความ​นี้​เป็น​ครั้ง​แรก​ที่​คัมภีร์​ไบเบิล​ให้​ราย​ละเอียด​เกี่ยว​กับ​การ​นมัสการ​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว ตาม​คำ​สอน​สืบ​ปาก​ของ​ชาว​ยิว​ปกติ​แล้ว​การ​นมัสการ​เริ่ม​โดย​แต่​ละ​คน​จะ​อธิษฐาน​ส่วน​ตัว​ตอน​ที่​เดิน​เข้า​ไป​ใน​ที่​ประชุม จาก​นั้น​ก็​จะ​มี​การ​ท่อง​ข้อ​ความ​จาก ฉธบ 6:4-9 และ 11:13-21 แล้ว​ก็​มี​การ​อธิษฐาน​ด้วย​กัน ต่อ​ด้วย​การ​อ่าน​ออก​เสียง​ส่วน​หนึ่ง​ของ​เพนทาทุก​ตาม​ที่​กำหนด​ไว้ บันทึก​ใน กจ 15:21 บอก​ไว้​ว่า​ใน​ศตวรรษ​แรก​มี​การ​อ่าน​แบบ​นี้ “ทุก​วัน​สะบาโต” หลัง​จาก​นั้น พวก​เขา​จะ​ทำ​เหมือน​ที่​ข้อ​นี้​บอก​คือ​อ่าน​หนังสือ​ของ​ผู้​พยากรณ์​และ​พูด​ถึง​บทเรียน​ต่าง ๆ ที่​ได้​จาก​การ​อ่าน ตาม​ธรรมเนียม​แล้ว​ผู้​อ่าน​จะ​ยืน​ขึ้น​และ​เขา​อาจ​เลือก​ได้​เอง​ว่า​จะ​อ่าน​ส่วน​ไหน​ของ​คำ​พยากรณ์—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 13:15

การ​อ่าน​กฎหมาย​ของ​โมเสส​และ​หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์​ให้​ประชาชน​ฟัง: ใน​ศตวรรษ​แรก​จะ​มี​การ​อ่าน​ให้​ประชาชน​ฟัง “ทุก​วัน​สะบาโต” (กจ 15:21) ส่วน​หนึ่ง​ของ​การ​นมัสการ​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​ก็​คือ การ​ท่อง​บท​สวด​ยืน​ยัน​ความ​เชื่อ​ของ​ชาว​ยิว​ที่​เรียก​ว่า​เชมา (ฉธบ 6:4-9; 11:13-21) เชมา​เป็น​คำ​แรก​ของ​ข้อ​คัมภีร์​ที่​ใช้​เป็น​บท​สวด​ที่​บอก​ว่า “ชาว​อิสราเอล ฟัง​ให้​ดี [เชมา] พระ​ยะโฮวา​เป็น​พระเจ้า​ของ​เรา” (ฉธบ 6:4) ส่วน​สำคัญ​ที่​สุด​ของ​การ​นมัสการ​ก็​คือ​การ​อ่าน​หนังสือ​โทราห์​หรือ​เพนทาทุก ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​หลาย​แห่ง​มี​การ​จัด​ตาราง​อ่าน​กฎหมาย​ทั้ง​หมด​ของ​โมเสส​ให้​จบ​ภาย​ใน 1 ปี ส่วน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​อื่น ๆ อาจ​ใช้​เวลา 3 ปี และ​ยัง​มี​การ​อ่าน​และ​อธิบาย​หนังสือ​ของ​ผู้​พยากรณ์​ด้วย หลัง​จาก​มี​การ​อ่าน​ให้​ประชาชน​ฟัง​ก็​จะ​มี​การ​บรรยาย ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้ เปาโล​อยู่​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​ใน​เมือง​อันทิโอก​ใน​แคว้น​ปิสิเดีย หลัง​จาก​มี​การ​อ่าน​พระ​คัมภีร์​ให้​ประชาชน​ฟัง​เขา​ก็​ได้​รับ​เชิญ​ให้​พูด​ให้​กำลังใจ​ประชาชน—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ลก 4:16

หนังสือ​ของ​โมเสส: ยากอบ​พูด​ถึง​ข้อ​เขียน​ของ​โมเสส​ที่​ไม่​ใช่​แค่​กฎหมาย​เท่า​นั้น แต่​ยัง​รวม​ถึง​บันทึก​เกี่ยว​กับ​วิธี​ที่​พระเจ้า​ปฏิบัติ​กับ​ประชาชน​ของ​พระองค์ และ​บันทึก​ที่​ช่วย​ให้​เห็น​ความ​คิด​ของ​พระองค์​ก่อน​ที่​จะ​มี​กฎหมาย​ของ​โมเสส ตัว​อย่าง​เช่น หนังสือ​ปฐมกาล​ช่วย​ให้​รู้​ว่า​พระเจ้า​คิด​อย่าง​ไร​กับ​การ​กิน​เลือด การ​เล่นชู้ และ​การ​ไหว้​รูป​เคารพ (ปฐก 9:3, 4; 20:2-9; 35:2, 4) ดัง​นั้น พระ​ยะโฮวา​เปิด​เผย​หลักการ​ต่าง ๆ ที่​มนุษย์​ทุก​คน​ต้อง​ทำ​ตาม​ไม่​ว่า​พวก​เขา​จะ​เป็น​ชาว​ยิว​หรือ​คน​ต่าง​ชาติ คำ​ตัดสิน​ที่​บันทึก​ใน กจ 15:19, 20 จะ​ไม่​ทำ​ให้​คริสเตียน​ชาว​ต่าง​ชาติ​รู้สึก “ยุ่งยาก​ลำบาก​ใจ” เพราะ​ไม่​ได้​มี​ข้อ​เรียก​ร้อง​หลาย​อย่าง​เหมือน​กับ​กฎหมาย​ของ​โมเสส และ​คำ​ตัดสิน​นี้​ยัง​ให้​เกียรติ​กับ​คริสเตียน​ชาว​ยิว​ที่​ยัง​ยึด​ติด​กับ​คำ​สั่ง​ต่าง ๆ ที่​มี​อยู่​ใน​หนังสือ​ของ​โมเสส . . . และ​มี​การ​อ่าน​ให้​ฟัง​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​ทุก​วัน​สะบาโต​มา​นาน​หลาย​ร้อย​ปี (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ลก 4:16; กจ 13:15) คำ​แนะ​นำ​นี้​น่า​จะ​ช่วย​ให้​คริสเตียน​ชาว​ยิว​และ​คน​ต่าง​ชาติ​เป็น​หนึ่ง​เดียว​กัน​มาก​ขึ้น

อ่าน​ให้​ฟัง​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​ทุก​วัน​สะบาโต: ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ลก 4:16; กจ 13:15

พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล: ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 15:2

ผู้​ดู​แล: แปล​ตรง​ตัว​ว่า “ผู้​ชาย​สูง​อายุ” คำ​กรีก เพร็สบูเทะรอส ใน​ข้อ​นี้​หมาย​ถึง​คน​ที่​มี​ตำแหน่ง​และ​หน้า​ที่​รับผิดชอบ​ใน​ประชาคม​คริสเตียน​ใน​ยุค​แรก พระ​คัมภีร์​บอก​ว่า​เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​และ​พี่​น้อง​ชาย​คน​อื่น ๆ จาก​เมือง​อันทิโอก​ใน​แคว้น​ซีเรีย​ไป​หา​พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม​เพื่อ​ปรึกษา​เกี่ยว​กับ​ประเด็น​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต เหมือน​กับ​ชาติ​อิสราเอล​สมัย​โบราณ​มี​ผู้​ดู​แล​บาง​คน​ที่​ทำ​หน้า​ที่​เป็น​ผู้​นำ​และ​ผู้​บริหาร​งาน​ระดับ​ชาติ ใน​ศตวรรษ​แรก​ก็​มี​พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม​ทำ​หน้า​ที่​เป็น​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ดู​แล​ประชาคม​คริสเตียน​ทุก​แห่ง นี่​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​พี่​น้อง​ที่​ทำ​หน้า​ที่​เป็น​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​มี​เพิ่ม​มาก​ขึ้น​จาก​ที่​ก่อน​หน้า​นี้​มี​เพียง​อัครสาวก 12 คน—กจ 1:21, 22, 26; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 16:21; กจ 11:30

ผม​คลาวดิอัส​ลีเซียส เรียน​ท่าน​ผู้​ว่า​ราชการ​เฟลิกส์​ที่​นับถือ: หรือ “ผม​คลาวดิอัส​ลีเซียส เขียน​ถึง​ผู้​ว่า​ราชการ​เฟลิกส์​ที่​นับถือ สวัสดี​ครับ” นี่​เป็น​คำ​ขึ้น​ต้น​จดหมาย​ตาม​รูป​แบบ​การ​เขียน​สมัย​ก่อน จดหมาย​นี้​เริ่ม​ต้น​ด้วย​การ​บอก​ว่า​ผู้​เขียน​เป็น​ใคร จาก​นั้น​ก็​พูด​ถึง​ผู้​รับ และ​ก็​ตาม​ด้วย​คำ​ทักทาย​โดย​ใช้​คำ​กรีก ไฆโร ที่​แปล​ตรง​ตัว​ว่า “มี​ความ​สุข” คำ​นี้​ถ่ายทอด​แนว​คิด​ที่​ว่า “ขอ​ให้​พวก​คุณ​มี​ความ​สงบ​สุข” มัก​มี​คำ​ทักทาย​แบบ​นี้​อยู่​ใน​จดหมาย​พาไพรัส​ที่​ไม่​ใช่​คัมภีร์​ไบเบิล คำ​ขึ้น​ต้น​จดหมาย​อีก​อย่าง​หนึ่ง​ที่​คล้าย​กัน​มี​อยู่​ที่ กจ 15:23 และ ยก 1:1—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 15:23

สวัสดี​พี่​น้อง​ทุก​คน: มี​การ​ใช้​คำ​กรีก ไฆโร ที่​แปล​ตรง​ตัว​ว่า “มี​ความ​สุข” ใน​ข้อ​นี้​เพื่อ​เป็น​คำ​ทักทาย และ​ถ่ายทอด​แนว​คิด​ที่​ว่า “ขอ​ให้​พวก​คุณ​มี​ความ​สงบ​สุข” คำนำ​ของ​จดหมาย​เกี่ยว​กับ​การ​เข้า​สุหนัต​ที่​ส่ง​ไป​ถึง​ประชาคม​ต่าง ๆ นี้​เป็น​รูป​แบบ​การ​เขียน​จดหมาย​สมัย​ก่อน จดหมาย​นี้​เริ่ม​ต้น​ด้วย​การ​บอก​ว่า​ผู้​เขียน​เป็น​ใคร จาก​นั้น​ก็​พูด​ถึง​ผู้​รับ และ​ก็​ตาม​ด้วย​คำ​ทักทาย (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 23:26) ใน​บรรดา​จดหมาย​ทั้ง​หมด​ของ​พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก มี​แต่​จดหมาย​ของ​ยากอบ​เท่า​นั้น​ที่​ทักทาย​โดย​ใช้​คำ​กรีก ไฆโร ซึ่ง​เป็น​คำ​เดียว​กับ​ที่​ใช้​ใน​จดหมาย​นี้​จาก​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ใน​ศตวรรษ​แรก (ยก 1:1) เนื่อง​จาก​ยากอบ​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การ​เขียน​จดหมาย​ฉบับ​นี้ จึง​สรุป​ได้​ว่า​ยากอบ​ที่​เขียน​หนังสือ​ยากอบ​ใน​พระ​คัมภีร์​เป็น​คน​เดียว​กับ​ยากอบ​ที่​เป็น​ประธาน​การ​ประชุม​ซึ่ง​มี​บันทึก​ไว้​ใน​กิจการ บท 15

เป็น​เอกฉันท์: แปล​ตรง​ตัว​ว่า “มี​ความ​คิด​จิตใจ​เดียว​กัน” มี​การ​ใช้​คำ​กรีก ฮอมอธูมาดอน หลาย​ครั้ง​ใน​หนังสือ​กิจการ ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​แล้ว​ใช้​เพื่อ​พูด​ถึง​ความ​เป็น​หนึ่ง​เดียว​กัน​ของ​คริสเตียน​ใน​ยุค​แรก ตัว​อย่าง​เช่น ที่ กจ 1:14 แปล​คำ​นี้​ว่า “ร่วม​กัน” และ​ที่ กจ 4:24 แปล​ว่า “พร้อม​ใจ​กัน”

งด​เว้น​จาก: หรือ “อยู่​ห่าง​จาก” คำ​กริยา​ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​ทำ​ให้​รู้​ว่า​คริสเตียน​ต้อง​งด​เว้น​จาก​การ​กระทำ​ทุก​อย่าง​ต่อ​ไป​นี้ คือ การ​ไหว้​รูป​เคารพ การ​ผิด​ศีลธรรม​ทาง​เพศ และ​การ​กิน​เนื้อ​สัตว์​ที่​ถูก​รัด​คอ​ตาย​และ​ไม่​ได้​เอา​เลือด​ออก​อย่าง​ถูก​ต้อง จาก​คำ​กริยา​นี้​ทำ​ให้​รู้​ว่า​คำ​สั่ง​ที่​ให้​งด​เว้น​จาก​เลือด​มี​ความ​หมาย​กว้าง​กว่า​การ​แค่​ไม่​กิน​เลือด คำ​สั่ง​นี้​ยัง​เกี่ยว​ข้อง​กับ​การ​ไม่​ใช้​เลือด​อย่าง​ผิด ๆ ใน​ทุก​กรณี เพราะ​นี่​เป็น​การ​แสดง​ความ​นับถือ​ต่อ​ความ​ศักดิ์สิทธิ์​ของ​เลือด—ลนต 17:11, 14; ฉธบ 12:23

งด​เว้น . . . จาก​เลือด: พระเจ้า​มี​คำ​สั่ง​ห้าม​ไม่​ให้​กิน​เลือด​ครั้ง​แรก​ใน​สมัย​โนอาห์​กับ​ลูก ๆ ซึ่ง​เป็น​คำ​สั่ง​ที่​ให้​กับ​มนุษย์​ทุก​คน (ปฐก 9:4-6) 800 ปี​ต่อ​มา พระองค์​ก็​ให้​มี​คำ​สั่ง​นี้​ใน​กฎหมาย​ที่​ให้​กับ​ชาติ​อิสราเอล (ลนต 17:13-16) และ​อีก 1,500 ปี​ต่อ​มา พระองค์​ก็​ยืน​ยัน​คำ​สั่ง​นี้​อีก​ครั้ง​กับ​ประชาคม​คริสเตียน​อย่าง​ที่​บอก​ไว้​ใน​ข้อ​นี้ ใน​สายตา​พระเจ้า​การ​งด​เว้น​จาก​เลือด​สำคัญ​เหมือน​กับ​การ​งด​เว้น​จาก​การ​ไหว้​รูป​เคารพ​และ​การ​ทำ​ผิด​ศีลธรรม​ทาง​เพศ

สัตว์​ที่​ถูก​รัด​คอ​ตาย: ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 15:20

การ​ผิด​ศีลธรรม​ทาง​เพศ: ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 15:20

ด้วย​ความ​ปรารถนา​ดี: หรือ “ขอ​ให้​มี​สุขภาพ​ดี” คำ​กรีก​ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​เป็น​คำ​ลง​ท้าย​ปกติ​ของ​จดหมาย​ใน​สมัย​นั้น แต่​นี้​ไม่​ได้​หมาย​ความ​ว่า​คำ​สั่ง​ที่​ให้​ก่อน​หน้า​นี้​เป็น​คำ​สั่ง​ที่​ช่วย​ให้​มี​สุขภาพ​ดี เหมือน​กับ​บอก​ว่า ‘ถ้า​คุณ​งด​เว้น​จาก​สิ่ง​เหล่า​นี้ คุณ​ก็​จะ​มี​สุขภาพ​ดี​ขึ้น’ แต่​เป็น​คำ​ลง​ท้าย​ที่​อวยพร​ให้​ผู้​รับ​มี​สุขภาพ​สมบูรณ์​แข็งแรง​และ​มี​ความ​สุข

การ​ผิด​ศีลธรรม​ทาง​เพศ: คำ​กรีก พอร์เน่อา เป็น​คำ​กว้าง ๆ ที่​หมาย​ถึง​การ​มี​เพศ​สัมพันธ์​ทุก​รูป​แบบ​ที่​คัมภีร์​ไบเบิล​บอก​ว่า​ผิด ซึ่ง​รวม​ถึง​การ​เล่นชู้ การ​เป็น​โสเภณี การ​มี​เพศ​สัมพันธ์​ระหว่าง​คน​ที่​ยัง​ไม่​แต่งงาน การ​รัก​ร่วม​เพศ และ​การ​ร่วม​เพศ​กับ​สัตว์—ดูส่วน​อธิบาย​ศัพท์

สัตว์​ที่​ถูก​รัด​คอ​ตาย: หรือ “สัตว์​ที่​ถูก​ฆ่า​โดย​ไม่​เอา​เลือด​ออก” ดู​เหมือน​ข้อ​ห้าม​นี้​ยัง​เกี่ยว​ข้อง​กับ​สัตว์​ที่​ตาย​เอง หรือ​ตาย​เพราะ​ถูก​สัตว์​ตัว​อื่น​ฆ่า เพราะ​การ​ตาย​ทั้ง 2 แบบ​นี้​ไม่​ได้​มี​การ​เอา​เลือด​ออก​อย่าง​ถูก​ต้อง—อพย 22:31; ลนต 17:15; ฉธบ 14:21

สำเนา​พระ​คัมภีร์​ภาษา​กรีก​ยุค​หลัง​บาง​ฉบับ​และ​ฉบับ​แปล​เก่าแก่​บาง​ฉบับ​เพิ่ม​ข้อ​ความ​ว่า “ฝ่าย​สิลาส​เห็น​ชอบ​ที่​จะ​อยู่​ต่อ​ไป​ที่​นั่น ส่วน​ยูดาส​ไป​กรุง​เยรูซาเล็ม​คน​เดียว” แต่​ข้อ​ความ​นี้​ไม่​มี​ใน​สำเนา​พระ​คัมภีร์​ที่​เก่าแก่​ที่​สุด​และ​น่า​เชื่อถือ​ที่​สุด จึง​ไม่​เคย​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ข้อ​ความ​ต้น​ฉบับ​ของ​หนังสือ​กิจการ ข้อ​ความ​นี้​อาจ​เป็น​คำ​อธิบาย​ริม​หน้า​กระดาษ​ของ กจ 15:40 และ​ต่อ​มา​ถูก​เพิ่ม​เข้า​ไป​ใน​สำเนา​บาง​ฉบับ—ดูภาค​ผนวก ก​3

คำ​สอน​ของ​พระ​ยะโฮวา: ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 8:25

คำ​สอน​ของ​พระ​ยะโฮวา: สำนวน​นี้​มา​จาก​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู ซึ่ง​มี​คำ​ฮีบรู​รวม​กัน 2 คำ คือ “คำ​สอน” และ​เททรากรัมมาทอน จึง​รวม​กัน​เป็น “คำ​สอน​ของ​พระ​ยะโฮวา” มี​สำนวน​นี้​และ​สำนวน​คล้าย ๆ กัน​อยู่​ใน​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ประมาณ 200 ครั้ง (ตัว​อย่าง​ของ​สำนวน​นี้​อยู่​ที่ 2ซม 12:9; 24:11; 2พก 7:1; 20:16; 24:2; อสย 1:10; 2:3; 28:14; 38:4; ยรม 1:4; 2:4; อสค 1:3; 6:1; ฮชย 1:1; มคา 1:1; ศคย 9:1) ใน​สำเนา​หนึ่ง​ของ​ฉบับ​เซปตัวจินต์ ยุค​แรก ที่ ศคย 9:1 มี​การ​ใช้​คำ​กรีก ลอกอส ตาม​ด้วย​ชื่อ​พระเจ้า​ที่​เขียน​ด้วย​อักษร​ฮีบรู​โบราณ () ชิ้น​ส่วน​ของ​สำเนา​นี้​ถูก​พบ​ใน​ถ้ำ​แห่ง​หนึ่ง​ที่​ทะเล​ทราย​ยูเดีย​ใกล้​ทะเล​เดดซี ใน​นาฮาล เฮ​เวอ​ร์ ประเทศ​อิสราเอล สำเนา​นี้​ทำ​ขึ้น​ระหว่าง​ปี 50 ก่อน ค.ศ. ถึง​ปี ค.ศ. 50 ถึง​แม้​สำเนา​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​กรีก​ส่วน​ใหญ่​จะ​ไม่​มี​ชื่อ​ของ​พระเจ้า​ใน​ข้อ​นี้ แต่​ก็​มี​เหตุ​ผล​ที่​ดี​ที่​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่ ใช้​ชื่อ​ของ​พระ​ยะโฮวา​ใน​ข้อ​นี้—ดูภาค​ผนวก ก​5

คำ​สอน​ของ​พระ​ยะโฮวา: ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ กจ 8:25

คำ​สอน​ของ​พระ​ยะโฮวา: สำนวน​นี้​มา​จาก​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู ซึ่ง​มี​คำ​ฮีบรู​รวม​กัน 2 คำ คือ “คำ​สอน” และ​เททรากรัมมาทอน จึง​รวม​กัน​เป็น “คำ​สอน​ของ​พระ​ยะโฮวา” มี​สำนวน​นี้​และ​สำนวน​คล้าย ๆ กัน​อยู่​ใน​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ประมาณ 200 ครั้ง (ตัว​อย่าง​ของ​สำนวน​นี้​อยู่​ที่ 2ซม 12:9; 24:11; 2พก 7:1; 20:16; 24:2; อสย 1:10; 2:3; 28:14; 38:4; ยรม 1:4; 2:4; อสค 1:3; 6:1; ฮชย 1:1; มคา 1:1; ศคย 9:1) ใน​สำเนา​หนึ่ง​ของ​ฉบับ​เซปตัวจินต์ ยุค​แรก ที่ ศคย 9:1 มี​การ​ใช้​คำ​กรีก ลอกอส ตาม​ด้วย​ชื่อ​พระเจ้า​ที่​เขียน​ด้วย​อักษร​ฮีบรู​โบราณ () ชิ้น​ส่วน​ของ​สำเนา​นี้​ถูก​พบ​ใน​ถ้ำ​แห่ง​หนึ่ง​ที่​ทะเล​ทราย​ยูเดีย​ใกล้​ทะเล​เดดซี ใน​นาฮาล เฮ​เวอ​ร์ ประเทศ​อิสราเอล สำเนา​นี้​ทำ​ขึ้น​ระหว่าง​ปี 50 ก่อน ค.ศ. ถึง​ปี ค.ศ. 50 ถึง​แม้​สำเนา​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​กรีก​ส่วน​ใหญ่​จะ​ไม่​มี​ชื่อ​ของ​พระเจ้า​ใน​ข้อ​นี้ แต่​ก็​มี​เหตุ​ผล​ที่​ดี​ที่​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่ ใช้​ชื่อ​ของ​พระ​ยะโฮวา​ใน​ข้อ​นี้—ดูภาค​ผนวก ก​5

วีดีโอและรูปภาพ

กิจการ​ของ​อัครสาวก—การ​เดิน​ทาง​เผยแพร่​ใน​ต่าง​ประเทศ​รอบ​ที่​สอง​ของ​เปาโล (กจ 15:36-18:22) ประมาณ ปี ค.ศ. 49-52
กิจการ​ของ​อัครสาวก—การ​เดิน​ทาง​เผยแพร่​ใน​ต่าง​ประเทศ​รอบ​ที่​สอง​ของ​เปาโล (กจ 15:36-18:22) ประมาณ ปี ค.ศ. 49-52

เหตุ​การณ์​เรียง​ตาม​ลำดับ​เวลา

1. เปาโล​แยก​กับ​บาร์นาบัส เปาโล​เดิน​ทาง​ไป​กับ​สิลาส ส่วน​บาร์นาบัส​ไป​กับ​ยอห์น (ซึ่ง​มี​อีก​ชื่อ​หนึ่ง​ว่า​มาระโก) (กจ 15:36-41)

2. เปาโล​เดิน​ทาง​ไป​เมือง​เดอร์บี หลัง​จาก​นั้น​ก็​ไป​เมือง​ลิสตรา​ซึ่ง​ที่​นั่น​เขา​ชวน​ทิโมธี​ให้​เดิน​ทาง​ไป​ด้วย (กจ 16:1-4)

3. พลัง​บริสุทธิ์​ห้าม​เปาโล​ไม่​ให้​เข้า​ไป​ประกาศ​ใน​แคว้น​เอเชีย เปาโล​จึง​เดิน​ทาง​ผ่าน​แคว้น​ฟรีเจีย​และ​แคว้น​กาลาเทีย และ​จาก​นั้น​เขา​ก็​มา​ถึง​แคว้น​มิเซีย (กจ 16:6, 7)

4. ตอน​ที่​เปาโล​กับ​เพื่อน​ร่วม​เดิน​ทาง​มา​ถึง​เมือง​โตรอัส เขา​เห็น​นิมิต​ที่​ผู้​ชาย​ชาว​มาซิโดเนีย​คน​หนึ่ง​อ้อน​วอน​ให้​พี่​น้อง​มา​ช่วย​ที่​แคว้น​มาซิโดเนีย (กจ 16:8-10)

5. เปาโล​กับ​เพื่อน​ร่วม​เดิน​ทาง​ลง​เรือ​จาก​เมือง​โตรอัส​ไป​ที่​เมือง​เนอาโปลิส หลัง​จาก​นั้น​ก็​เดิน​ทาง​ต่อ​ไป​ที่​เมือง​ฟีลิปปี (กจ 16:11, 12)

6. เปาโล​พูด​กับ​พวก​ผู้​หญิง​ที่​รวม​ตัว​กัน​อยู่​ที่​ริม​แม่น้ำ​นอก​ประตู​เมือง ลิเดีย​และ​คน​ใน​บ้าน​ของ​เธอ​รับ​บัพติศมา (กจ 16:13-15)

7. เปาโล​กับ​สิลาส​ถูก​ขัง​คุก​ใน​เมือง​ฟีลิปปี ผู้​คุม​กับ​คน​ใน​บ้าน​ของ​เขา​รับ​บัพติศมา (กจ 16:22-24, 31-33)

8. เปาโล​เรียก​ร้อง​ให้​มี​การ​ขอ​โทษ พวก​เจ้าหน้าที่​ฝ่าย​ปกครอง​มา​พา​ทั้ง​สอง​คน​ออก​ไป​จาก​คุก เปาโล​ไป​เยี่ยม​ลิเดีย​และ​ให้​กำลังใจ​พี่​น้อง​ที่​เพิ่ง​รับ​บัพติศมา (กจ 16:37-40)

9. เปาโล​กับ​เพื่อน​เดิน​ทาง​ผ่าน​เมือง​อัมฟีโปลิส​และ​อปอลโลเนีย​ไป​ที่​เมือง​เธสะโลนิกา (กจ 17:1)

10. เปาโล​ประกาศ​ที่​เมือง​เธสะโลนิกา มี​ชาว​ยิว​บาง​คน​และ​ชาว​กรีก​มาก​มาย​เข้า​มา​เป็น​ผู้​เชื่อถือ ชาว​ยิว​ที่​ไม่​เชื่อ​สร้าง​ความ​ชุลมุน​วุ่นวาย​ใน​เมือง (กจ 17:2-5)

11. เมื่อ​มา​ถึง​เมือง​เบโรอา เปาโล​กับ​สิลาส​ก็​ไป​ประกาศ​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว แต่​ชาว​ยิว​จาก​เมือง​เธสะโลนิกา​ตาม​มา​ปลุกระดม​ฝูง​ชน​ใน​เมือง​เบโรอา (กจ 17:10-13)

12. เปาโล​นั่ง​เรือ​ไป​กรุง​เอเธนส์ ส่วน​สิลาส​กับ​ทิโมธี​อยู่​ที่​เมือง​เบโรอา​ต่อ (กจ 17:14, 15)

13. ใน​กรุง​เอเธนส์ เปาโล​บรรยาย​ที่​เขา​อาเรโอปากัส บาง​คน​เข้า​มา​เป็น​ผู้​เชื่อถือ (กจ 17:22, 32-34)

14. เปาโล​อยู่​ที่​เมือง​โครินธ์​หนึ่ง​ปี​ครึ่ง เขา​สอน​คำ​สอน​ของ​พระเจ้า​ให้​คน​ใน​เมือง​นั้น บาง​คน​ต่อ​ต้าน แต่​ก็​มี​หลาย​คน​ที่​เชื่อ​และ​รับ​บัพติศมา (กจ 18:1, 8, 11)

15. จาก​เมือง​เคนเครีย​ซึ่ง​เป็น​เมือง​ท่า​ของ​โครินธ์ เปาโล​นั่ง​เรือ​ไป​ที่​เมือง​เอเฟซัส​กับ​ปริสสิลลา​กับ​อะควิลลา เมื่อ​ไป​ถึง​เปาโล​ก็​ประกาศ​ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว (กจ 18:18, 19)

16. เปาโล​นั่ง​เรือ​ไป​เมือง​ซีซารียา แต่​ปริสสิลลา​กับ​อะควิลลา​อยู่​ที่​เมือง​เอเฟซัส ดู​เหมือน​ว่า​เปาโล​เดิน​ทาง​ไป​ที่​กรุง​เยรูซาเล็ม แล้ว​เขา​ก็​กลับ​ไป​ที่​เมือง​อันทิโอก​ใน​แคว้น​ซีเรีย (กจ 18:20-22)