เหตุผลที่คุณสามารถไว้ใจหนังสือกิตติคุณของคัมภีร์ไบเบิล
“ข้อเขียนเหล่านั้นประสบความสำเร็จอย่างงดงาม. ข้อเขียนนั้นสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาพยนตร์ที่ทุ่มทุนสร้างนับล้าน ๆ เหรียญ . . . และหนังสือที่ขายดีทั้งหลาย . . . คริสเตียนนิกายต่าง ๆ ยอมรับข้อเขียนนั้น. ข้อเขียนเหล่านั้นทำให้เกิดกลุ่มศาสนาต่าง ๆ และทฤษฎีสมคบคิด.”—ซูเปอร์ อินเตเรซานเต วารสารข่าวของบราซิล
ข้อความที่น่าตื่นเต้นนี้กล่าวถึงอะไร? วารสารข่าวฉบับนี้กำลังกล่าวถึงกระแสความนิยมเมื่อไม่นานมานี้และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิตติคุณ, จดหมายของอัครสาวก, และวิวรณ์ฉบับปลอมที่ถูกค้นพบเมื่อกลางศตวรรษที่ 20 ที่แนก ฮัมมาดีและที่อื่น ๆ ในอียิปต์. ข้อเขียนเหล่านี้และเอกสารอื่น ๆ ประเภทเดียวกันโดยทั่วไปเรียกว่าข้อเขียนของพวกนอสติกหรือหนังสืออธิกธรรม. *
มีการคบคิดกันหรือ?
ในยุคที่ผู้คนทั่วไปสงสัยเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลและศาสนาที่สืบทอดกันมา ข้อเขียนของพวกนอสติกหรือหนังสืออธิกธรรมดูเหมือนได้รับความสนใจอย่างมาก. ข้อเขียนเหล่านี้มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อทัศนะที่ผู้คนมีต่อคำสอนของพระเยซูคริสต์และศาสนาคริสเตียน. ดังที่กล่าวไว้ในวารสารฉบับหนึ่งว่า “กิตติคุณของโทมัสและ [ข้อเขียน] อธิกธรรมอื่น ๆ เป็นที่นิยมของคนกลุ่มหนึ่งในปัจจุบันที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอยากรู้จักพระเจ้าแต่ไม่ไว้ใจศาสนา.” มีการกะประมาณว่าในบราซิลเพียงประเทศเดียว “มีกลุ่มศาสนาไม่ต่ำกว่า 30 กลุ่มที่ความเชื่อของเขาอาศัยหนังสืออธิกธรรม.”
การค้นพบเอกสารเหล่านี้ทำให้ทฤษฎีหนึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก คือทฤษฎีที่ว่า ในศตวรรษที่สี่สากลศักราช คริสตจักรคาทอลิกได้วางแผนที่จะปกปิดความจริงเกี่ยวกับพระเยซู, บันทึกบางส่วนเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซูในหนังสืออธิกธรรมได้ถูกปิดไว้เป็นความลับ, และกิตติคุณทั้งสี่ที่
พบในคัมภีร์ไบเบิลปัจจุบันถูกดัดแปลง. อิเลน ปาเจลส์ ศาสตราจารย์ด้านศาสนากล่าวไว้ดังนี้: “ปัจจุบันเราเริ่มมองเห็นแล้วว่าสิ่งที่เราเรียกกันว่าศาสนาคริสเตียนและสิ่งที่เราบอกว่าเป็นคำสอนของคริสเตียน แท้จริงแล้วมาจากหนังสือเพียงไม่กี่เล่มที่ถูกคัดออกมาจากที่มีอยู่มากมาย.”ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ก็ให้ความคิดเห็นในทำนองเดียวกับปาเจลส์ด้วยว่า คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้เป็นแหล่งเดียวสำหรับความเชื่อของคริสเตียน แต่มีแหล่งอื่น ๆ ด้วย เช่น หนังสืออธิกธรรม. ตัวอย่างเช่น รายการหนึ่งของสถานีโทรทัศน์บีบีซีที่ชื่อไบเบิล มิสทรี “ตัวจริงของมาเรียมักดาลา” ให้ข้อสังเกตว่าหนังสืออธิกธรรมต่าง ๆ กล่าวถึงมาเรียมักดาลาว่าเป็น “ครูและผู้ชี้นำทางฝ่ายวิญญาณแก่สาวกคนอื่น ๆ. นางไม่ได้เป็นเพียงสาวกคนหนึ่ง แต่เป็นอัครสาวกของ อัครสาวก.” ควน อารยาส ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทดังกล่าวของมาเรียมักดาลาโดยเขียนไว้ในหนังสือพิมพ์โอ เอสตาโด เดอ เซา เปาลู ของบราซิลว่า “ปัจจุบันนี้ทุกสิ่งทุกอย่างทำให้เราเชื่อว่าศาสนาคริสเตียนในยุคต้น ๆ ซึ่งก่อตั้งโดยพระเยซูนั้นให้ความสำคัญกับผู้หญิงอย่างมาก เนื่องจากคริสตจักรแห่งแรก ๆ ตั้งขึ้นในบ้านของพวกผู้หญิง ซึ่งพวกผู้หญิงทำหน้าที่เป็นบาทหลวงและบิชอป.”
สำหรับหลายคน หนังสืออธิกธรรมทั้งหลายดูเหมือนจะมีน้ำหนักกว่าคัมภีร์ไบเบิลมากนัก. อย่างไรก็ตาม ความคิดเช่นนี้ได้ทำให้เกิดคำถามที่สำคัญขึ้นมาว่า หนังสืออธิกธรรมนั้นเป็นแหล่งความเชื่อที่ถูกต้องของคริสเตียนไหม? เมื่อข้อเขียนเหล่านี้ขัดแย้งกับคำสอนที่ชัดเจนของคัมภีร์ไบเบิล เราควรเชื่อแหล่งไหน คัมภีร์ไบเบิลหรือหนังสืออธิกธรรม? เคยมีการคบคิดในศตวรรษที่สี่จริง ๆ ไหมเพื่อปกปิดหนังสือเหล่านี้และดัดแปลงกิตติคุณทั้งสี่เล่มเพื่อตัดข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับพระเยซู, มาเรียมักดาลา, และคนอื่น ๆ ออกไป? เพื่อจะได้คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ ให้เราพิจารณาหนึ่งในสี่ของกิตติคุณในคัมภีร์ไบเบิลนั่นคือ กิตติคุณของโยฮัน.
หลักฐานจากกิตติคุณของโยฮัน
ตอนต้นศตวรรษที่ 20 มีการค้นพบชิ้นส่วนจากกิตติคุณของโยฮันที่มีค่าอย่างยิ่งในอียิปต์ และปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันว่าพาไพรัส ไรแลนด์ส 457 (P52). ข้อความที่พบนั้นคือส่วนที่เป็นโยฮัน 18:31-33, 37, 38 ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับปัจจุบันและได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดจอห์น ไรแลนด์ส ในเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ. นี่เป็นชิ้นส่วนสำเนาพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังหลงเหลืออยู่. ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าสำเนาดังกล่าวเขียนขึ้นราว ๆ ปีสากลศักราช 125 หลังจากโยฮันเสียชีวิตไปเพียงยี่สิบห้าปีหรือราว ๆ นั้น. สิ่งที่น่าทึ่งก็คือข้อความในสำเนานั้นเกือบจะตรงกับข้อความในสำเนาอื่น ๆ ที่พบในเวลาต่อมา. ข้อเท็จจริงที่ว่าได้มีการนำสำเนากิตติคุณของโยฮันฉบับหนึ่งที่เก่าแก่ขนาดนั้นไปยังอียิปต์ซึ่งเป็นที่ที่ค้นพบชิ้นส่วนดังกล่าวสนับสนุนข้อสรุปที่ว่า ข่าวดีของโยฮันได้รับการบันทึกในศตวรรษแรกจริง ๆ และโดยโยฮันเองตามที่คัมภีร์ไบเบิลบอกไว้. ดังนั้น หนังสือของโยฮันจึงเป็นข้อเขียนของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์.
ในอีกด้านหนึ่ง หนังสืออธิกธรรมทั้งหมดเขียนขึ้นในช่วงศตวรรษที่สองเป็นต้นมา ซึ่งก็คือหลังจากที่เหตุการณ์ในบันทึกนั้นเกิดขึ้นแล้วหนึ่งร้อยปีหรือมากกว่านั้น. ผู้เชี่ยวชาญบางคนพยายามแย้งว่าหนังสืออธิกธรรมเหล่านั้นอาศัยข้อเขียนหรือคำสอนสืบปากที่เก่าแก่กว่า แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันในเรื่องนี้. ฉะนั้น จึงสมควรที่จะถามว่า คุณควรเชื่อ *
ข้อเขียนใดมากกว่าระหว่างคำยืนยันของผู้เห็นเหตุการณ์กับคำยืนยันของผู้ที่มีชีวิตอยู่หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นหนึ่งร้อยปี? คำตอบก็ชัดเจนอยู่แล้ว.พาไพรัส ไรแลนด์ส 457 (P52) ชิ้นส่วนสำเนากิตติคุณของโยฮันซึ่งมีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่สองสากลศักราชเขียนขึ้นเพียงไม่กี่สิบปีหลังจากที่โยฮันเขียนกิตติคุณนี้
จะว่าอย่างไรกับคำกล่าวอ้างที่ว่ากิตติคุณสี่เล่มในคัมภีร์ไบเบิลได้ถูกดัดแปลงเพื่อปกปิดเรื่องราวบางอย่างเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซู? ยกตัวอย่าง มีหลักฐานอะไรไหมที่แสดงว่ากิตติคุณของโยฮันถูกดัดแปลงในศตวรรษที่สี่เพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง? เพื่อตอบคำถามนี้ เราต้องจำไว้ว่าสำเนาสำคัญฉบับหนึ่งที่ใช้เป็นต้นฉบับของคัมภีร์ไบเบิลสมัยปัจจุบันคือสำเนาจากศตวรรษที่สี่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า วาติกัน 1209. ถ้าคัมภีร์ไบเบิลของเราถูกดัดแปลงตั้งแต่ศตวรรษที่สี่จริง ๆ ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ในสำเนาฉบับนี้. น่าดีใจที่มีสำเนาอีกฉบับหนึ่งเรียกว่า บอดเมอร์ 14, 15 (P75) ที่ทำขึ้นระหว่างปีสากลศักราช 175 ถึง 225 ซึ่งมีกิตติคุณของลูกาและโยฮันเกือบทั้งหมด. พวกผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ข้อความในสำเนาฉบับนี้ใกล้เคียงมากกับฉบับวาติกัน 1209. กล่าวอีกอย่างคือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่สำคัญเกิดขึ้นในกิตติคุณทั้งสี่ของคัมภีร์ไบเบิล และเรามีฉบับวาติกัน 1209 ยืนยันเรื่องนี้.
ไม่มีหลักฐานใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหรือสิ่งอื่นที่พิสูจน์ว่าข้อความในกิตติคุณของโยฮันหรือกิตติคุณอื่นได้ถูกดัดแปลงระหว่างศตวรรษที่สี่. หลังจากได้ตรวจสอบชิ้นส่วนของสำเนาพระคัมภีร์ซึ่งพบที่ออกซิริงคัส ประเทศอียิปต์ ดร. ปีเตอร์ เอ็ม. เฮด แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้เขียนว่า “กล่าวโดยทั่วไปแล้วสำเนาเหล่านี้ได้ยืนยันความถูกต้องของข้อความในสำเนาแบบอันเชียลที่สำคัญ ๆ [สำเนาคัมภีร์ไบเบิลที่เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ซึ่งมีอายุในช่วงศตวรรษที่สี่เป็นต้นมา] ที่เป็นพื้นฐานของฉบับภาษากรีกที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน. ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขความเข้าใจใด ๆ ในเรื่องการถ่ายทอดข้อความในพันธสัญญาใหม่ยุคแรก ๆ.”
สำเนาวาติกัน 1209 จากศตวรรษที่สี่แสดงว่าข้อความในกิตติคุณทั้งสี่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
เราจะสรุปอย่างไร?
กิตติคุณสี่เล่มในสารบบคัมภีร์ไบเบิลคือ มัดธาย, มาระโก, ลูกา, และโยฮัน ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่คริสเตียนอย่างน้อยก็ตั้งแต่กลางศตวรรษที่สองมาแล้ว. หนังสือของทาเชียนซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวางชื่อดิอาเทสซาโรน (คำภาษากรีกซึ่งแปลว่า “จากประจักษ์พยานทั้งสี่”) แต่งขึ้นระหว่างปีสากลศักราช 160 และ 175 โดยอาศัยเพียงกิตติคุณสี่เล่มที่อยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิลเป็นพื้นฐานและไม่ได้อาศัย “กิตติคุณ” ของพวกนอสติกเลย. (ดูกรอบ “การปกป้องกิตติคุณทั้งสี่ในยุคแรก”) อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตก็คือคำกล่าวของอีรีเนอุสซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายศตวรรษที่สองสากลศักราช. เขาอ้างว่าจะต้องมีกิตติคุณเพียงสี่เล่มเท่านั้น เพราะโลกนี้มีสี่ส่วนและลมที่สำคัญก็มีสี่ชนิด. ถึงแม้การเปรียบเทียบของเขาอาจฟังดูแปลก แต่คำกล่าวของเขาก็สนับสนุนแนวคิดที่ว่ามีกิตติคุณเพียงสี่เล่มในสารบบคัมภีร์ไบเบิลในขณะนั้น.
ข้อเท็จจริงทั้งหมดนี้แสดงถึงอะไร? แสดงว่าพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก รวมทั้งกิตติคุณทั้งสี่ ที่เรามีอยู่ในเวลานี้แทบไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเลยนับจากศตวรรษที่สองเป็นต้นมา. ไม่มีเหตุผลหนักแน่นที่จะเชื่อว่ามีการคบคิดกันในศตวรรษที่สี่เพื่อเปลี่ยนหรือปกปิดส่วนใด ๆ ของพระคัมภีร์ที่มีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า. ตรงกันข้าม ผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์ไบเบิลชื่อบรูซ เมตซ์เกอร์เขียนว่า “เมื่อถึงปลายศตวรรษที่สองสากลศักราช . . . มีความ
เห็นพ้องกันอย่างมากทีเดียวในเรื่องข้อความส่วนใหญ่ของพันธสัญญาใหม่ในหมู่ประชาคมของผู้เชื่อถือซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากและกระจัดกระจายกันอยู่ไม่เพียงในแถบเมดิเตอร์เรเนียนเท่านั้นแต่ทั่วอาณาเขตตั้งแต่บริเตนไปจนถึงเมโสโปเตเมีย.”อัครสาวกเปาโลและเปโตรเป็นผู้สนับสนุนความจริงในพระคำของพระเจ้า. ทั้งสองท่านได้เตือนเพื่อนคริสเตียนอย่างหนักแน่นไม่ให้ยอมรับหรือเชื่อสิ่งใดนอกเหนือจากสิ่งที่ได้รับการสอนมา. ตัวอย่างเช่น เปาโลได้เขียนถึงติโมเธียวว่า “ติโมเธียวเอ๋ย จงรักษาสิ่งที่ฝากไว้กับท่าน จงหันหนีเสียจากการพูดไร้สาระซึ่งดูหมิ่นสิ่งบริสุทธิ์และจากข้อขัดแย้งที่เรียกกันผิด ๆ ว่า ‘ความรู้.’ เพราะการอวดอ้างความรู้เช่นนั้น บางคนจึงได้หลงไปจากความเชื่อ.” เปโตรก็ยืนยันว่า “เราไม่ได้ทำให้ท่านทั้งหลายรู้จักอำนาจและการประทับของพระเยซูคริสต์เจ้าของเราโดยใช้เรื่องเท็จที่แต่งขึ้นอย่างชาญฉลาด แต่โดยใช้เรื่องความสง่างามของพระองค์ที่เราได้เป็นพยานรู้เห็น.”—1 ติโมเธียว 6:20, 21; 2 เปโตร 1:16
หลายศตวรรษก่อนหน้านั้น ผู้พยากรณ์ยะซายาห์ได้รับการดลใจให้กล่าวว่า “หญ้านั้นก็เหี่ยวแห้ง, และดอกไม้ก็ร่วงโรยไป, แต่พระดำรัสของพระเจ้าของเราจะยั่งยืนอยู่เป็นนิจ.” (ยะซายา 40:8) เราสามารถมีความมั่นใจอย่างเดียวกันว่า พระผู้ทรงดลใจให้มีการเขียนพระคัมภีร์บริสุทธิ์จะทรงรักษาพระคัมภีร์เหล่านั้นไว้ตลอดทุกยุคทุกสมัยเพื่อ “ให้คนทุกชนิดรอดและได้รับความรู้ถ่องแท้เรื่องความจริง.”—1 ติโมเธียว 2:4
^ วรรค 3 คำว่า “นอสติก” มาจากคำภาษากรีกที่อาจหมายถึง “ความรู้ที่ถูกซ่อนไว้” และ “อธิกธรรม” มาจากคำที่อาจแปลได้ว่า “ปิดไว้อย่างมิดชิด.” มีการใช้สองคำนี้เพื่อหมายถึงข้อเขียนแปลกปลอมหรือข้อเขียนที่ไม่อยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิลซึ่งพยายามจะเลียนแบบกิตติคุณทั้งสี่, กิจการ, จดหมาย, และวิวรณ์ที่อยู่ในสารบบของพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก.
^ วรรค 11 จุดอ่อนอีกประการหนึ่งของหนังสืออธิกธรรมคือมีสำเนาหลงเหลืออยู่น้อยมาก. หนังสือกิตติคุณของมาเรียมักดาลา ที่อ้างถึงในตอนต้นมีหลงเหลือเพียงสองส่วนเล็ก ๆ กับอีกส่วนหนึ่งที่ยาวกว่าแต่ข้อความเดิมหายไปประมาณครึ่งหนึ่ง. นอกจากนั้น ยังพบว่าสำเนาที่เหลืออยู่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด.
เหตุผลที่คุณสามารถไว้ใจหนังสือกิตติคุณของคัมภีร์ไบเบิลไว้ใจหนังสือกิตติคุณเหตุผลที่คุณสามารถไว้ใจหนังสือกิตติคุณในสารบบของคัมภีร์ไบเบิลมากกว่าหนังสืออธิกธรรมเล่มใด ๆพิจารณาหลักฐานจากกิตติคุณของมัดธาย มาระโก ลูกา และโยฮัน และจากผู้ปกป้องกิตติคุณในยุคแรกคัมภีร์ไบเบิล, พระคัมภีร์, กิตติคุณ, มัดธาย, มาระโก, ลูกา, โยฮัน, พาไพรัส ไรแลนด์ส, คบคิดเหตุผลที่คุณสามารถไว้ใจหนังสือกิตติคุณของคัมภีร์ไบเบิลเหตุผลที่คุณสามารถไว้ใจหนังสือกิตติคุณของคัมภีร์ไบเบิลพิจารณาหลักฐานจากสำเนาโบราณเหตุผลที่คุณสามารถไว้ใจหนังสือกิตติคุณของคัมภีร์ไบเบิลเหตุผลที่คุณสามารถไว้ใจหนังสือกิตติคุณของคัมภีร์ไบเบิล