ทำไมจึงอธิษฐานในพระนามพระเยซู?
พระเยซูทรงสอนเรื่องการอธิษฐานอยู่บ่อย ๆ. ในสมัยของพระองค์ ผู้นำศาสนาชาวยิวชอบอธิษฐาน “ตามมุมถนนใหญ่.” เพราะเหตุใด? ก็ “เพื่อให้คนเห็น.” เห็นได้ชัดว่า พวกเขาต้องการให้คนชื่นชมว่าเป็นคนเคร่งศาสนา. หลายคนอธิษฐานยืดยาวซ้ำไปซ้ำมา ราวกับว่าต้อง “พูดมาก ๆ” พระเจ้าจึงจะสดับคำอธิษฐาน. (มัดธาย 6:5-8) พระเยซูทรงเปิดเผยว่าการกระทำเช่นนั้นไร้ประโยชน์ และคำตรัสของพระองค์ช่วยให้ผู้ที่จริงใจรู้ว่าสิ่งใดที่พึงหลีกเลี่ยงเมื่ออธิษฐาน. อย่างไรก็ตาม พระองค์ไม่เพียงสอนว่าไม่ควรทำสิ่งใดเมื่ออธิษฐานเท่านั้น.
พระเยซูทรงสอนว่าคำอธิษฐานของเราควรแสดงว่าเราปรารถนาให้พระนามของพระเจ้าเป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์, ให้ราชอาณาจักรของพระองค์มา, และให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จ. พระเยซูทรงสอนด้วยว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะขอให้พระเจ้าช่วยเราในเรื่องส่วนตัว. (มัดธาย 6:9-13; ลูกา 11:2-4) พระเยซูทรงใช้ตัวอย่างเปรียบเทียบหลายเรื่องเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราจำเป็นต้องมีความพากเพียร, ความเชื่อ, และความถ่อม พระยะโฮวาจึงจะสดับคำอธิษฐานของเรา. (ลูกา 11:5-13; 18:1-14) และพระเยซูทรงทำให้คำสอนของพระองค์มีพลังขึ้นด้วยตัวอย่างของพระองค์เอง.—มัดธาย 14:23; มาระโก 1:35.
ไม่ต้องสงสัยว่าการสอนเช่นนี้คงได้ช่วยสาวกของพระเยซูให้ปรับปรุงคำอธิษฐานของพวกเขา. กระนั้น พระเยซูทรงรอจนถึงคืนสุดท้ายที่ทรงอยู่บนโลกจึงได้สอนบทเรียนที่สำคัญที่สุดในเรื่องการอธิษฐานแก่เหล่าสาวก.
“จุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ของการอธิษฐาน”
พระเยซูทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในคืนสุดท้ายหนุนใจอัครสาวกที่ซื่อสัตย์ของพระองค์. นับเป็นเวลาเหมาะที่จะเปิดเผยสิ่งที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อน. พระเยซูตรัสว่า “เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต. ไม่มีใครจะมาถึงพระบิดาได้นอกจากมาทางเรา.” จากนั้น พระองค์ทรงให้คำสัญญาซึ่งเสริมความมั่นใจแก่พวกเขาดังนี้: “อะไรก็ตามที่เจ้าทั้งหลายขอในนามของเรา เราจะให้สิ่งนั้น เพื่อพระบิดาจะได้รับเกียรติเนื่องจากพระบุตร. ถ้าเจ้าทั้งหลายขอสิ่งใดในนามของเรา เราจะให้สิ่งนั้น.” เมื่อพระเยซูใกล้จะจบการสนทนากับพวกเขา พระองค์ตรัสว่า “จนถึงเดี๋ยวนี้ เจ้าทั้งหลายยังไม่เคยขออะไรสักอย่างเดียวในนามของเรา. ขอเถิดแล้วพวกเจ้าจะได้รับ พวกเจ้าจะได้เปี่ยมด้วยความยินดี.”—โยฮัน 14:6, 13, 14; 16:24.
คำตรัสเหล่านี้มีความสำคัญมากทีเดียว. หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่าเป็น “จุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ของการอธิษฐาน.” พระเยซูไม่ได้หมายความว่าสาวกควรเปลี่ยนจากการอธิษฐานถึงพระเจ้ามาอธิษฐานถึงพระองค์. แต่พระองค์กำลังเปิดช่องทางใหม่เพื่อเข้าเฝ้าพระยะโฮวาพระเจ้า.
จริงอยู่ พระเจ้าทรงสดับคำอธิษฐานของผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์เสมอ. (1 ซามูเอล 1:9-19; บทเพลงสรรเสริญ 65:2) แต่หลังจากพระเจ้าทรงทำสัญญากับชาติอิสราเอลแล้ว ผู้ที่ต้องการให้พระเจ้าสดับคำอธิษฐานของเขาจะต้องยอมรับว่าอิสราเอลคือชาติที่พระเจ้าทรงเลือก. และต่อมา ตั้งแต่สมัยของโซโลมอน พวกเขาก็ต้องยอมรับว่าพระวิหารเป็นสถานที่ที่พระเจ้าทรงเลือกไว้สำหรับการถวายเครื่องบูชา. (พระบัญญัติ 9:29; 2 โครนิกา 6:32, 33) อย่างไรก็ตาม ระบบการนมัสการดังกล่าวเป็นการจัดเตรียมชั่วคราวเท่านั้น. ดังที่อัครสาวกเปาโลเขียนไว้ พระบัญญัติที่พระเจ้าประทานแก่ชาติอิสราเอลและเครื่องบูชาที่ถวาย ณ พระวิหารเป็น “เงาของสิ่งดีที่จะมีมา แต่ไม่ได้แสดงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งนั้น.” (ฮีบรู 10:1, 2) เงานั้นต้องถูกแทนที่ด้วยตัวจริง. (โกโลซาย 2:17) ตั้งแต่ปีสากลศักราช 33 เป็นต้นมา สัมพันธภาพของมนุษย์แต่ละคนกับพระยะโฮวาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำตามพระบัญญัติของโมเซอีกต่อไป แต่ขึ้นอยู่กับการเชื่อฟังผู้ที่พระบัญญัตินั้นชี้ถึง คือ พระคริสต์เยซู.—โยฮัน 15:14-16; กาลาเทีย 3:24, 25.
พระนาม “อันสูงส่งเหนือนามอื่นทั้งหมด”
พระเยซูทรงวางพื้นฐานที่เหนือกว่าสำหรับการเข้าเฝ้าพระยะโฮวา โดยระบุตัวพระองค์เองเป็นสหายที่มีอำนาจซึ่งสามารถเปิดทางให้คำอธิษฐานของเราได้รับการสดับฟังและได้รับการตอบจากพระเจ้า. พระเยซูทรงทำเช่นนั้นได้อย่างไร?
โรม 3:20, 24; ฮีบรู 1:3, 4) อย่างไรก็ตาม พระเยซูทรงถวายชีวิตมนุษย์สมบูรณ์ของพระองค์เองและทรงชำระค่าไถ่สำหรับบาปของมนุษยชาติที่สามารถไถ่ถอนได้. (โรม 5:12, 18, 19) บัดนี้ ทุกคนที่ต้องการได้รับการไถ่ถอนเช่นนั้นมีโอกาสจะได้มาซึ่งฐานะที่สะอาดในสายพระเนตรพระยะโฮวาและสามารถ “กล้าพูด” กับพระเจ้าในคำอธิษฐาน—แต่จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเขาแสดงความเชื่อในเครื่องบูชาของพระเยซูและอธิษฐานในพระนามของพระองค์.—เอเฟโซส์ 3:11, 12.
เนื่องจากเราทุกคนล้วนเกิดมาเป็นคนบาป ไม่ว่าเราจะทำการงานอันใดหรือถวายเครื่องบูชาอะไร เราก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากมลทินของบาปหรือมีสิทธิที่จะมีสัมพันธภาพกับพระยะโฮวา พระเจ้าองค์บริสุทธิ์ได้. (เมื่อเราอธิษฐานในพระนามพระเยซู เรากำลังแสดงความเชื่อในบทบาทของพระองค์อย่างน้อยสามด้านในการทำให้พระประสงค์ของพระเจ้าบรรลุผลสำเร็จ คือ (1) พระองค์เป็น “พระเมษโปดกของพระเจ้า” ผู้ประทานค่าไถ่เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการอภัยบาป. (2) พระองค์ได้รับการปลุกให้คืนพระชนม์โดยพระยะโฮวาและขณะนี้ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็น “มหาปุโรหิต” เพื่อจัดการกับผลประโยชน์จากค่าไถ่. (3) พระองค์แต่ผู้เดียวทรงเป็น “ทางนั้น” เพื่อจะเข้าเฝ้าพระยะโฮวาในคำอธิษฐาน.—โยฮัน 1:29; 14:6; ฮีบรู 4:14, 15.
การอธิษฐานในพระนามพระเยซูเป็นการให้เกียรติพระเยซู. พระเยซูทรงสมควรได้รับเกียรติเช่นนั้น เพราะพระประสงค์ของพระยะโฮวาคือ “ใครก็ตาม . . . จะคุกเข่าลงในพระนามพระเยซู และลิ้นทุกลิ้นจะยอมรับอย่างเปิดเผยว่าพระเยซูคริสต์เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าเพื่อยกย่องพระเจ้าผู้เป็นพระบิดา.” (ฟิลิปปอย 2:10, 11) แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การอธิษฐานในพระนามพระเยซูเป็นการถวายเกียรติแด่พระยะโฮวา ผู้ที่ได้ประทานพระบุตรของพระองค์เพื่อผลประโยชน์ของเรา.—โยฮัน 3:16.
เราควรอธิษฐานด้วย “สุดใจ” ของเรา ไม่ใช่ทำพอเป็นพิธี
เพื่อช่วยเราให้เข้าใจว่าพระเยซูทรงอยู่ในฐานะที่สำคัญเพียงไร คัมภีร์ไบเบิลจึงใช้ตำแหน่งและชื่อต่าง ๆ เมื่อกล่าวถึงพระองค์. ตำแหน่งและชื่อเหล่านี้ช่วยเราให้เข้าใจผลประโยชน์มากมายที่เราจะได้รับโดยอาศัยสิ่งที่พระเยซูได้ทำ, กำลังทำ, และจะทำเพื่อประโยชน์ของเรา. (ดูกรอบ “ บทบาทสำคัญของพระเยซู” .) ที่จริง พระเยซูทรงได้รับ “พระนามอันสูงส่งเหนือนามอื่นทั้งหมด.” * พระเจ้าทรงมอบอำนาจทั้งสิ้นในสวรรค์และบนแผ่นดินโลกให้แก่พระองค์.—ฟิลิปปอย 2:9; มัดธาย 28:18.
ไม่เพียงแค่คำพูดที่เคยชิน
จริงทีเดียว เราต้องอธิษฐานในพระนามพระเยซูหากเราอยากให้พระยะโฮวาสดับคำอธิษฐานของเรา. (โยฮัน 14:13, 14) แต่เราไม่ต้องการจะกล่าววลี “ในพระนามพระเยซู” ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพียงเพราะเราเคยชิน. เพราะเหตุใด?
ให้เราพิจารณาตัวอย่างหนึ่ง. เมื่อคุณได้รับจดหมายจากนักธุรกิจคนหนึ่ง จดหมายนั้นอาจลงท้ายตามธรรมเนียมว่า “ขอแสดงความนับถือ.” คุณรู้สึกไหมว่าคำลงท้ายนี้เป็นการแสดงความรู้สึกที่แท้จริงของนักธุรกิจผู้นั้น หรือว่าเขาเพียงแต่ใช้คำซึ่งเป็นที่ยอมรับกันตามมารยาทการเขียนจดหมายเท่านั้น? จริงทีเดียว การใช้พระนามพระเยซูในคำอธิษฐานของเราจำต้องมีความหมายมากกว่าคำลงท้ายอย่างเป็นทางการในจดหมายธุรกิจ. แม้ว่าเราต้อง “อธิษฐานไม่หยุดหย่อน” แต่เราก็ต้องทำด้วย “สุดใจ” ของเรา ไม่ใช่ทำพอเป็นพิธีเท่านั้น.—1 เทสซาโลนิเก 5:17; บทเพลงสรรเสริญ 119:145.
คุณจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้วลี “ในพระนามพระเยซู” เป็นเพียงคำพูดที่เคยชิน? คุณน่าจะลองใคร่ครวญคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระเยซูซึ่งทำให้อบอุ่นใจ. ขอให้คิดถึงสิ่งที่พระองค์ได้ทำไปแล้วและสิ่งที่ทรงเต็มพระทัยจะทำเพื่อคุณ. ในคำอธิษฐาน จงขอบพระคุณพระยะโฮวาและสรรเสริญพระองค์ที่ได้ทรงใช้พระบุตรของพระองค์ในวิธีที่อัศจรรย์. ถ้าคุณทำเช่นนั้น คุณจะมีความมั่นใจมากขึ้นในคำสัญญาของพระเยซูที่ว่า “ถ้าพวกเจ้าทูลขอสิ่งใดจากพระบิดาในนามของเรา พระองค์จะทรงประทานสิ่งนั้นแก่พวกเจ้า.”—โยฮัน 16:23.
^ วรรค 14 ตามพจนานุกรมอธิบายศัพท์คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ของไวน์ (ภาษาอังกฤษ) คำภาษากรีกที่แปลว่า “นาม” อาจหมายถึง “ทุกสิ่งที่นามนั้นบ่งนัยถึง ทั้งอำนาจ, บุคลิกลักษณะ, ฐานะตำแหน่ง, ความสูงส่ง, ฤทธิ์เดช, [และ] ความเลอเลิศ.”