เขียนโดยมาระโก 15:1-47
เชิงอรรถ
ข้อมูลสำหรับศึกษา
ศาลแซนเฮดริน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:59
ปีลาต: ผู้ว่าราชการโรมันที่ปกครองแคว้นยูเดียซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยจักรพรรดิทิเบริอัสในปี ค.ศ. 26 ปีลาตปกครองประมาณ 10 ปี นักเขียนหนังสือทั่วไปพูดถึงปีลาตด้วย ซึ่งรวมถึงทาซิทุสนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันที่บันทึกว่าปีลาตเป็นคนสั่งประหารพระเยซูในช่วงที่ทิเบริอัสเป็นจักรพรรดิ มีการพบคำจารึกภาษาละตินในโรงละครโรมันสมัยโบราณในเมืองซีซาเรียประเทศอิสราเอลที่บอกว่า “ปอนทิอัสปีลาต ผู้ว่าราชการแคว้นยูเดีย”—ดูภาคผนวก ข10 เพื่อจะเห็นเขตปกครองของปอนทิอัสปีลาต
คุณเป็นกษัตริย์ของชาวยิวหรือ?: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:11
ผมเป็นอย่างที่คุณพูด: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:11
ปล่อยตัวนักโทษคนหนึ่ง: ผู้เขียนหนังสือข่าวดีทั้ง 4 คนบันทึกเรื่องนี้ (มธ 27:15-23; ลก 23:16-25; ยน 18:39, 40) ไม่เคยมีการพูดถึงและไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับธรรมเนียมนี้ในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู แต่ดูเหมือนว่าพอถึงสมัยพระเยซู ชาวยิวก็เริ่มมีธรรมเนียมนี้แล้ว ธรรมเนียมนี้คงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับชาวโรมันเพราะมีหลักฐานว่าพวกเขาเคยปล่อยตัวนักโทษเพื่อเอาใจประชาชน
ตะโกน: ตามที่บอกใน ลก 23:18-23 ฝูงชนตะโกนอย่างน้อย 3 ครั้งเพื่อเรียกร้องให้ปีลาตประหารพระเยซู และบันทึกของมาระโกก็แสดงว่าปีลาตถามชาวยิว 3 ครั้งเรื่องพระเยซู—มก 15:9, 12, 14
เฆี่ยน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:26
บ้านของผู้ว่าราชการ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:27
พวกเขาก็เอาผ้าสีม่วงมาคลุมให้ท่าน: พวกเขาทำอย่างนี้เพื่อเยาะเย้ยและล้อเลียนพระเยซูว่าเป็นกษัตริย์ บันทึกของมัทธิว (27:28) บอกว่าพวกทหารเอา “เสื้อคลุมสีแดงเข้ม” มาใส่ให้พระเยซูซึ่งเป็นเสื้อแบบที่กษัตริย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือนายทหารใส่กัน ส่วนบันทึกของมาระโกและยอห์น (19:2) บอกว่าเสื้อคลุมนี้เป็นสีม่วง แต่ในสมัยโบราณ “สีม่วง” อาจหมายถึงทุกเฉดสีที่เกิดจากการผสมระหว่างสีแดงและสีน้ำเงิน นอกจากนั้น มุม แสงสะท้อน และพื้นหลังอาจทำให้คนดูมองเห็นเป็นสีที่แตกต่างกัน การที่พวกผู้เขียนหนังสือข่าวดีพูดถึงสีที่แตกต่างกันแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้คัดลอกเรื่องราวของกันและกัน
มงกุฎ: นอกจากจะเอาผ้าสีม่วงมาคลุมให้พระเยซู (ตามที่พูดถึงก่อนหน้านี้) พวกเขายังเยาะเย้ยพระเยซูว่าเป็นกษัตริย์โดยเอาหนามสานเป็นมงกุฎมาสวมให้ท่าน และตามที่บอกใน มธ 27:29 พวกเขาเอา “ไม้อ้อ” มาให้ท่านถือเป็นคทาด้วย
คำนับ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:29
ถุยน้ำลายใส่: การทำแบบนี้เป็นการดูถูกพระเยซู ซึ่งทำให้คำพูดของท่านที่ มก 10:34 เป็นจริง และทำให้คำพยากรณ์เกี่ยวกับเมสสิยาห์ที่ อสย 50:6 เป็นจริงด้วย—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 10:34
คุกเข่าลงคำนับท่าน: หรือ “หมอบลงแสดงความเคารพ, ทำความเคารพ” ในข้อนี้มีการใช้คำกริยากรีก พะรอสคูเนะโอ กับพวกทหารที่เยาะเย้ยพระเยซูโดยการคุกเข่าลงคำนับท่านและเรียกท่านว่า “กษัตริย์ของชาวยิว”—มก 15:18; ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:2
ตรึงบนเสา: หรือ “ทำให้ติดอยู่กับเสา”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 20:19 และส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “เสา”; “เสาทรมาน”
ชาวไซรีน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:32
พ่อของอเล็กซานเดอร์กับรูฟัส: เฉพาะมาระโกเท่านั้นที่พูดถึงรายละเอียดนี้เกี่ยวกับซีโมนชาวไซรีน
สั่ง: หมายถึงการเกณฑ์ผู้คนให้ทำงานตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่โรมัน ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจบังคับคนหรือสัตว์ให้ทำงาน หรือเกณฑ์ไปทำอะไรบางอย่างเพื่อโครงการของรัฐจะสำเร็จ—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 5:41
เสาทรมาน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:32
กลโกธา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:33
กะโหลก: คำกรีก ครานิอู ทอพอส แปลจากคำฮีบรู กลโกธา—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 19:17
เหล้าองุ่นผสมมดยอบ: บันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 27:34 บอกว่าเหล้าองุ่นนี้ “ผสมกับน้ำดี” จึงดูเหมือนว่าเหล้าองุ่นนี้มีทั้งมดยอบและน้ำดีผสมอยู่ การผสมแบบนี้คงช่วยลดความเจ็บปวดได้—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาคำว่าท่านไม่ยอมดื่มในข้อนี้ และข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:34
ท่านไม่ยอมดื่ม: ดูเหมือนว่าพระเยซูอยากมีสติสัมปชัญญะอย่างครบถ้วนในช่วงที่ถูกทดสอบความเชื่อนี้
เอาเสื้อชั้นนอกของท่านมา . . . แบ่งกัน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:35
จับฉลาก: ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “ฉลาก”
9 โมงเช้า: แปลตรงตัวว่า “ชั่วโมงที่ 3” บางคนบอกว่าบันทึกของมาระโกดูเหมือนขัดแย้งกับ ยน 19:14-16 ที่บอกว่า “ตอนนั้นเป็นเวลาประมาณเที่ยงวัน” ที่ปีลาตสั่งให้ทหารเอาพระเยซูไปประหาร แม้พระคัมภีร์ไม่ได้อธิบายว่าทำไมการบันทึกเรื่องเวลาจึงแตกต่างกัน แต่เราอาจเข้าใจเรื่องนี้ได้โดยคิดถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ดังนี้ ส่วนใหญ่แล้วหนังสือข่าวดีทั้ง 4 เล่มจะพูดตรงกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันสุดท้ายที่พระเยซูมีชีวิตบนโลกและเวลาที่เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น เช่น ทั้ง 4 เล่มบอกว่าพวกปุโรหิตและพวกผู้นำประชุมกันตอนรุ่งเช้า แล้วจากนั้นพวกเขาก็สั่งให้พาพระเยซูไปหาปอนทิอัสปีลาตผู้ว่าราชการโรมัน (มธ 27:1, 2; มก 15:1; ลก 22:66-23:1; ยน 18:28) นอกจากนั้น ทั้งมัทธิว มาระโก และลูกาบอกว่าตอนที่พระเยซูอยู่บนเสาทรมาน ท้องฟ้าก็มืดไปทั่วแผ่นดินตั้งแต่ “เที่ยงวัน . . . จนถึงเวลาบ่าย 3 โมง” (มธ 27:45, 46; มก 15:33, 34; ลก 23:44) เหตุผลหนึ่งที่ทำให้การบอกเวลาประหารพระเยซูต่างกันก็คือ การเฆี่ยนอาจถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประหาร เพราะบางครั้งมีการเฆี่ยนอย่างรุนแรงจนถึงตาย ในกรณีของพระเยซู ท่านก็น่าจะถูกเฆี่ยนหนักมากเพราะต้องให้ผู้ชายอีกคนหนึ่งช่วยแบกเสาทรมานหลังจากที่ท่านแบกคนเดียวไปได้สักพัก (ลก 23:26; ยน 19:17) ถ้ามองว่าการเฆี่ยนเป็นตอนเริ่มต้นของการประหาร กว่าพระเยซูจะถูกตรึงบนเสาทรมานจริง ๆ ก็ผ่านไปช่วงหนึ่งหลังจากถูกเฆี่ยนแล้ว บันทึกใน มธ 27:26 และ มก 15:15 สนับสนุนจุดนี้เพราะทั้งสองคนพูดถึงทั้งการเฆี่ยนและการประหารบนเสา ดังนั้น แต่ละคนอาจบอกเวลาการประหารต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขามองว่าการประหารเริ่มตอนไหน ตอนถูกเฆี่ยนหรือตอนถูกตรึง และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ปีลาตแปลกใจเมื่อรู้ว่าพระเยซูตายแล้วหลังจากถูกตรึงบนเสาได้ไม่นาน เพราะเขาอาจมองว่าการประหารเพิ่งเริ่มต้น (มก 15:44) นอกจากนั้น บ่อยครั้งผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลสะท้อนให้เห็นว่าในสมัยนั้นมีการแบ่งเวลากลางวันออกเป็น 4 ช่วง ช่วงละ 3 ชั่วโมงเหมือนกับตอนกลางคืน การแบ่งวันแบบนี้ทำให้รู้ว่าทำไมมีการพูดถึงเวลา 9 โมงเช้า เที่ยงวัน และบ่าย 3 โมง โดยนับจากตอนที่ดวงอาทิตย์ขึ้นประมาณ 6 โมงเช้า (มธ 20:1-5; ยน 4:6; กจ 2:15; 3:1; 10:3, 9, 30) เหตุผลอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้คนส่วนใหญ่ในสมัยนั้นไม่มีเครื่องบอกเวลาที่แน่นอน การบอกเวลาจึงมักใช้คำว่า “ประมาณ” เหมือนที่เห็นใน ยน 19:14 (มธ 27:46; ลก 23:44; ยน 4:6; กจ 10:3, 9) สรุปแล้ว มาระโกอาจรวมเวลาตั้งแต่ตอนที่พระเยซูถูกเฆี่ยนไปจนถึงถูกตรึงบนเสา ในขณะที่ยอห์นพูดถึงเวลาตอนที่ตรึงบนเสาเท่านั้น นอกจากนั้น ผู้เขียนทั้งสองคนอาจบอกเวลาแบบคร่าว ๆ โดยเลือกช่วงที่ใกล้ที่สุดของเวลาแต่ละช่วงซึ่งนาน 3 ชั่วโมง และยอห์นใช้คำว่า “ประมาณ” เมื่อพูดถึงเวลาที่พระเยซูถูกประหาร ทั้งหมดนี้อาจเป็นเหตุผลที่หนังสือข่าวดีบอกเวลาแตกต่างกัน และสุดท้าย การที่ยอห์นบอกเวลาต่างจากมาระโกเมื่อเขียนหนังสือของเขาหลายสิบปีหลังจากนั้นแสดงว่ายอห์นไม่ได้ลอกข้อความจากบันทึกของมาระโก
สำเนาพระคัมภีร์บางฉบับในยุคหลังมีข้อความในข้อนี้ว่า “คำซึ่งเขียนไว้แล้วนั้นต้องสำเร็จ คือที่ว่าท่านต้องนับเข้าในหมู่คนอธรรม” ซึ่งยกมาจาก อสย 53:12 แต่ข้อความนี้ไม่มีในสำเนาพระคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดและน่าเชื่อถือที่สุด และดูเหมือนไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือมาระโกที่มีขึ้นโดยการดลใจ ข้อความคล้ายกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อความที่ได้รับการดลใจอยู่ที่ ลก 22:37 บางคนจึงคิดว่าผู้คัดลอกคนหนึ่งเอาข้อความในหนังสือลูกามาใส่ในหนังสือมาระโก—ดูภาคผนวก ก3
ส่ายหัว: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:39
เสาทรมาน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:32
เสาทรมาน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:32
เที่ยงวัน: แปลตรงตัวว่า “ชั่วโมงที่ 6”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 20:3
มืด: บันทึกเหตุการณ์เดียวกันในลูกาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าตอนนั้น “ไม่มีแสงอาทิตย์” (ลก 23:44, 45) ความมืดนี้เป็นการอัศจรรย์จากพระเจ้า ไม่ใช่เกิดจากสุริยุปราคา เพราะสุริยุปราคาจะเกิดในช่วงวันขึ้นเดือนใหม่ แต่ตอนนั้นเป็นช่วงปัสกาซึ่งดวงจันทร์เต็มดวง นอกจากนั้น ความมืดนี้เกิดขึ้นนานถึง 3 ชั่วโมง แต่สุริยุปราคาเต็มดวงที่นานที่สุดไม่อาจเกิดขึ้นนานขนาดนั้นได้ อย่างมากสุดก็ไม่ถึง 8 นาที
บ่าย 3 โมง: แปลตรงตัวว่า “ชั่วโมงที่ 9”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 20:3
เอลี เอลี ลามาสะบักธานี?: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:46
พระเจ้า พระเจ้าของผม: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:46
เอลียาห์: ชื่อภาษาฮีบรู แปลว่า “พระเจ้าของผมคือพระยะโฮวา”
เหล้าองุ่นเปรี้ยว: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:48
ไม้อ้อ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:48
สิ้นใจตาย: หรือ “หมดลม”—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:50
ม่าน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:51
ห้องบริสุทธิ์ของวิหาร: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:51
นายร้อย: คำว่า “นายร้อย” หมายถึงนายทหารในกองทัพโรมันที่มีทหารอยู่ใต้บังคับบัญชาประมาณ 100 นาย นายทหารคนนี้อาจอยู่ตอนที่พระเยซูถูกพิจารณาคดีต่อหน้าปีลาต และอาจได้ยินชาวยิวพูดกันว่าพระเยซูอ้างว่าเป็นลูกของพระเจ้า (มก 15:16; ยน 19:7) ในข้อนี้มาระโกใช้คำกรีก เค็นทูริโอน ซึ่งเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาละติน มีคำนี้อยู่ที่ มก 15:44, 45 ด้วย—ดู “บทนำของหนังสือมาระโก” และข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 6:27; ยน 19:20
มารีย์มักดาลา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:56
ยากอบน้อย: อัครสาวกคนหนึ่งของพระเยซูและเป็นลูกของอัลเฟอัส (มธ 10:2, 3; มก 3:18; ลก 6:15; กจ 1:13) คำว่า “น้อย” อาจบ่งชี้ว่ายากอบคนนี้อายุน้อยกว่าหรือตัวเล็กกว่าอัครสาวกยากอบอีกคนหนึ่งที่เป็นลูกของเศเบดี
โยเสส: ย่อมาจากชื่อภาษาฮีบรูโยสิฟียาห์ ซึ่งแปลว่า “ขอยาห์เพิ่มเติมให้ (ทำให้มีมากขึ้น), ยาห์เพิ่มเติมให้แล้ว (ทำให้มีมากขึ้นแล้ว)” แม้สำเนาพระคัมภีร์บางฉบับใช้คำว่า “โยเซฟ” แต่สำเนาที่เก่าแก่ส่วนใหญ่ใช้คำว่า “โยเสส”—เทียบกับบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 27:56
สะโลเม: น่าจะมาจากคำฮีบรูที่หมายความว่า “สันติสุข” สะโลเมเป็นสาวกคนหนึ่งของพระเยซู เมื่อเทียบบันทึกใน มธ 27:56 กับ มก 3:17 และ 15:40 ก็ทำให้รู้ว่าสะโลเมน่าจะเป็นแม่ของอัครสาวกยากอบกับยอห์น เพราะมัทธิวเรียกเธอว่า “แม่ของยากอบกับยอห์นที่เป็นภรรยาของเศเบดี” ส่วนมาระโกเรียกเธอว่า “สะโลเม” นอกจากนั้น เมื่อเทียบกับบันทึกที่ ยน 19:25 ก็ทำให้รู้ว่าสะโลเมอาจเป็นน้องสาวของมารีย์แม่พระเยซู และถ้าเป็นอย่างนั้น ยากอบกับยอห์นก็เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเยซู นอกจากนั้น บันทึกที่ มธ 27:55, 56, มก 15:41 และ ลก 8:3 ทำให้รู้ว่าสะโลเมน่าจะเป็นคนหนึ่งในกลุ่มผู้หญิงที่คอยติดตามรับใช้พระเยซูโดยใช้ทรัพย์สินของตัวเอง
วันเตรียม: เนื่องจากดูเหมือนว่ามาระโกเขียนหนังสือข่าวดีเพื่อผู้อ่านที่ไม่ใช่ชาวยิวเป็นหลัก เขาจึงอธิบายคำนี้ว่าเป็นวันก่อนสะบาโต ไม่มีคำอธิบายแบบนี้ในหนังสือข่าวดีเล่มอื่น ๆ (มธ 27:62; ลก 23:54; ยน 19:31) ในวันนี้ชาวยิวจะเตรียมตัวสำหรับวันสะบาโตโดยทำอาหารเพิ่มและทำงานต่าง ๆ ที่ต้องทำให้เสร็จก่อนวันสะบาโต วันเตรียมที่พูดถึงในข้อนี้ตรงกับวันที่ 14 เดือนนิสาน—ดูส่วนอธิบายศัพท์
โยเซฟ: ผู้เขียนหนังสือข่าวดีแต่ละคนให้รายละเอียดเกี่ยวกับโยเซฟคนละอย่าง มัทธิวซึ่งเป็นคนเก็บภาษีบอกว่าโยเซฟเป็น “เศรษฐี” มาระโกซึ่งเขียนสำหรับชาวโรมันบอกว่าโยเซฟเป็น “สมาชิกสภาผู้มีชื่อเสียง” ที่รอคอยรัฐบาลของพระเจ้า ส่วนลูกาซึ่งเป็นหมอที่มีความเห็นอกเห็นใจบอกว่าโยเซฟ “เป็นคนดีและเชื่อฟังพระเจ้า” และไม่ได้ออกเสียงสนับสนุนให้สภาตัดสินลงโทษพระเยซู และมียอห์นคนเดียวที่บอกว่าโยเซฟเป็น “สาวกคนหนึ่งของพระเยซูที่ไม่เปิดเผยตัวเพราะกลัวพวกยิว”—มธ 27:57-60; มก 15:43-46; ลก 23:50-53; ยน 19:38-42
อาริมาเธีย: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:57
สมาชิกสภา: คือสมาชิกของศาลแซนเฮดรินซึ่งเป็นศาลสูงของชาวยิวในกรุงเยรูซาเล็ม—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 26:59 และส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “แซนเฮดริน”
อุโมงค์ฝังศพ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:60
หินก้อนหนึ่ง: ดูเหมือนเป็นแผ่นหินกลม เพราะในข้อนี้บอกว่าหินก้อนนี้ถูกกลิ้งมาปิดปากอุโมงค์ และตอนที่พระเยซูฟื้นขึ้นจากตาย มก 16:4 ก็บอกว่าหินนี้ “ถูกกลิ้งออกไป” หินนี้น่าจะหนักประมาณ 1 ตันหรือมากกว่านั้น บันทึกในมัทธิวใช้คำว่า “หินก้อนใหญ่”—มธ 27:60
วีดีโอและรูปภาพ
ศาลสูงของชาวยิวในกรุงเยรูซาเล็มที่เรียกว่าศาลแซนเฮดรินใหญ่ประกอบด้วยสมาชิก 71 คน (ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “แซนเฮดริน”) หนังสือมิชนาห์บอกว่ามีการจัดที่นั่งในศาลเป็นรูปครึ่งวงกลมซ้อนกัน 3 แถว และมีผู้คัดลอก 2 คนคอยบันทึกคำพิพากษาของศาล รายละเอียดทางสถาปัตยกรรมบางอย่างในภาพนี้วาดขึ้นโดยมีต้นแบบจากซากอาคารหลังหนึ่งที่พบในกรุงเยรูซาเล็มซึ่งบางคนเชื่อว่าเคยเป็นห้องพิจารณาคดีของศาลแซนเฮดรินในศตวรรษแรก—ดูภาคผนวก ข12, แผนที่ “กรุงเยรูซาเล็มและบริเวณโดยรอบ”
1. มหาปุโรหิต
2. สมาชิกศาลแซนเฮดริน
3. จำเลย
4. เสมียนศาล
นี่เป็นภาพจำลองกระดูกส้นเท้าของมนุษย์ที่ถูกตอกด้วยตะปูเหล็กยาว 11.5 ซม. มีการขุดพบชิ้นส่วนจริงจากยุคโรมันในปี ค.ศ. 1968 ทางตอนเหนือของกรุงเยรูซาเล็ม หลักฐานทางโบราณคดีชิ้นนี้ทำให้รู้ว่าอาจมีการใช้ตะปูในการประหารชีวิตคนที่ถูกตรึงบนเสาไม้ ตะปูนี้อาจคล้ายกับตะปูที่ทหารโรมันใช้ตรึงพระเยซูคริสต์บนเสา ชิ้นส่วนนี้ถูกพบในหีบหินซึ่งเป็นกล่องเก็บกระดูกที่แห้งแล้วของคนตายหลังจากเนื้อหนังย่อยสลายไปหมดแล้ว นี่แสดงให้เห็นว่าคนที่ถูกประหารชีวิตบนเสาอาจได้รับการฝังศพด้วย
ชาวยิวมักจะฝังศพคนตายไว้ในถ้ำหรือห้องที่เจาะเข้าไปในหิน ปกติแล้วอุโมงค์ฝังศพของพวกเขาจะอยู่นอกเมือง ยกเว้นอุโมงค์ของกษัตริย์ อุโมงค์ฝังศพของชาวยิวมักเป็นแบบเรียบง่าย เพราะชาวยิวไม่นมัสการคนตายและไม่เชื่อว่าคนตายแล้วมีวิญญาณที่เป็นอมตะ